กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าโครงการ OPOAI ลงพื้นที่เยี่ยม 2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ภาคกลาง เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ก้าวไปสู่ Industry 4.0

พุธ ๑๗ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๔๙
โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค ตามนโยบาย One Province One Agro-Industrial Product หรือ OPOAI (โอ-ปอย) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นโครงการที่เกิดจากความพยายามของภาครัฐที่ได้น้อมนำปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 มาปรับใช้และนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตรของประเทศ โดยดึงศักยภาพของวัตถุดิบในพื้นที่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นและสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในเรื่องการ ก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ที่จะสร้างความ มั่งคั่งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยในศตวรรษที่ 21

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนโครงการOPOAI ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทางสำนักปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยมสถานประกอบการภาคกลาง 2 แห่งประกอบด้วย

1. เข้าเยี่ยม บริษัท พงษ์-ศราแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 39-1 หมู่6 ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประกอบกิจการประเภทแปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์ เช่น ลูกชิ้นปิ้ง

2. เข้าเยี่ยม บริษัท ศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 336 หมู่ 6 ถนนสุรศักดิ์ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประกอบกิจการประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากจระเข้

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โครงการโอ-ปอย ได้จัดทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเข้าไปให้ความช่วยเหลือให้คำแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการผ่านแผนงานพัฒนา ที่ครอบคลุมตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain) ใน 8 ด้าน ประกอบด้วย 1. แผนงานการบริการจัดการโลจิสติกส์ 2. แผนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3. แผนการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4. แผนการลดต้นทุนพลังงาน 5. แผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด 7. แผนการบริหารจัดการด้านการเงิน และ 8. แผนการจัดการสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งการทำงานของทีมที่ปรึกษาจะเข้าไปศึกษาข้อมูลของสถานประกอบการจากคณะผู้บริหารของสถานประกอบการ เพื่อดูว่าสมควรที่เข้าพัฒนาในแผนงานไหนมากที่สุด เมื่อได้ข้อสรุปทางทีมที่ปรึกษาจะมีแผนการดำเนินงาน ให้ปฏิบัติจริง และติดตามผลพร้อมทั้งคำปรึกษาเป็นระยะๆ รวมระยะเวลาในการปฏิบัติงานโดยประมาณ 4-6 เดือนจึงจะเสร็จสิ้นโครงการ

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในปี 2559 ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการในระยะเวลา 1 ปี สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้สถานประกอบการโดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 326 ล้านบาท ซึ่งหากเปรียบเทียบกับวงเงินงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา 31.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 10.32 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีผู้เข้าร่วมโครงการ 135 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ย รายละ 2.41 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2559 สามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานประกอบการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยสามารถวัดมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวเงินได้กว่า 4,455 ล้านบาท จากวงเงินงบประมาณรวมทั้งหมดที่ได้รับ 354.6 ล้านบาท ให้ผลประโยชน์มากถึง 12.56 เท่าของวงเงินงบประมาณ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 1,334 ราย เฉลี่ยได้แล้วแต่ละรายสามารถลดต้นทุนเพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มได้เฉลี่ย 3.34 ล้านบาท

นายสมชาย กล่าวเพิ่มเติมว่า ประโยชน์ที่ทางสถานประกอบการได้รับโดยตรงที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือ ได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของสถานประกอบการเอง ว่ามีข้อบกพร่องอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การบริหารงาน และอื่นๆ ที่บางครั้งสถานประกอบการเอง อาจจะมองไม่เห็นข้อบกพร่องนั้นๆ นอกจากนี้ยังได้รับการพัฒนาและแก้ไขจุดบกพร่องนั้น เป็นการเฉพาะจุดจริงๆ

สำหรับในปีงบประมาณ 2560 มีสถานประกอบการSMEs อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 200 ล้านบาท ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการจำนวน 171 รายจำนวนแผนงาน 260 แผนงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างตรวจติดตามการดำเนินโครงการ โดยในวันนี้ได้มีการเยี่ยมชมและติดตามผลการดำเนินของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ บริษัท พงษ์-ศราแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จังหวัดนครปฐม และบริษัท ศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) จำกัด จังหวัดชลบุรี ทั้ง 2 รายเป็นสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2560 และเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการได้เป็นอย่างดี ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาตนเองได้อย่างเป็นรูปธรรม

นางศราลี พรอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท พงษ์-ศราแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กล่าวว่า บริษัทเริ่มต้นธุรกิจด้วย เงินลงทุน 150 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจผลิตลูกชิ้นหมูปิ้งแท้ 100% โดยจะสั่งหมูจากแหล่งที่ได้มาตรฐานจากคู่ค้าหลายเจ้าในจังหวัดนครปฐม มีลูกชิ้นหมูเป็นสินค้าหลักหรือประมาณ 85-90% ส่วนอีก 5-10% นั้นเป็นลูกชิ้นเอ็นหมู มีการจำหน่ายในระบบแฟรนไชส์ ทั่วประเทศและมีหน้าร้านตั้งอยู่ตามห้างสำคัญๆ มีกลุ่มลูกค้าในประเทศ 100% สำหรับบริษัทเข้าร่วมโครงการโอ-ปอยในปี 2560 ประเภทแผนงานที่ 3 ด้านการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน เนื่องจากพนักงานขาดความเข้าใจ และการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการฯ แบ่งการทำกิจกรรมเป็น 2 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 ลดความสูญเสียเนื้อหมูและลูกชิ้นในกระบวนการผลิต สามารถลดความเสียหายได้ 494,807 บาทต่อปี และกลุ่มที่ 2 ลดความสูญเสียบรรจุภัณฑ์ในกระบวนการบรรจุ 334,560 บาทต่อปี รวมสามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ให้สถานประกอบการรวมเป็นเงิน 829,367 บาทต่อปี

นายสุชาติ ปัญญาสาคร รองประธานกรรมการ บริษัท ศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) จำกัด กล่าวว่า บริษัทดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากจระเข้ครบวงจร บนพื้นที่ของฟาร์มและโรงงานรวมประมาณ 250 ไร่ ได้แก่ 1. เลี้ยงดูจระเข้ 2. ผลิตผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์สดและแช่เข็ง อบแห้ง และแปรรูป และ 3. โรงฟอกหนังและตัดเย็บผลิตภัณฑ์เครื่องหนังจากจระเข้ โดยมีการจำหน่ายปลีกหน้าฟาร์มภายใต้แบรนด์ SC และ Crocco รวมทั้งรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้าต้องการ โดยบริษัทเข้าร่วมโครงการโอ-ปอยใน 2 แผนงาน ประกอบด้วยแผนงานที่ 3 ด้านการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน แผนงานที่ 6 ด้านกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด

ในแผนงานที่ 3 ด้านการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนาผลงาน จากประเด็นปัญหาขาดการวิเคราะห์ข้อมูลของเสียระหว่างกระบวนการและสินค้าสำเร็จรูป รวมถึงต้องใช้แรงงานฝีมือ มีทักษะและความประณีตสูงในการตัดเย็บ เนื่องจากหนังจระเข้มีมูลค่าสูง ดังนั้น จึงได้ทำการอบรมและระดมสมองพนักงานเพื่อแจกแจงปัญหา โดยใช้เครื่องมือคุณภาพ วิเคราะห์สาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและ หาแนวทางพัฒนางานตัดเย็บเพื่อลดของเสีย ผลจากการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางานดังกล่าว ทำให้โรงงานมีมาตรฐานการทำงานของพนักงานตัดเย็บ ปริมาณของเสียมีแนวโน้มลดลง

ในแผนงานที่ 6 ด้านกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด จากการวิเคราะห์ทางการตลาดโดยใช้ SWOT พบว่า บริษัทฯ ควรดำเนินการผลักดันแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อเพิ่มยอดขายและศักยภาพของธุรกิจในอนาคต ด้วยจุดแข็งของโรงงานที่เป็นผู้ผลิตอย่างครบวงจร จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนตลาดโดยใช้กลยุทธ์ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ โปรโมชั่น และสถานที่จัดจำหน่าย มีการปรับปรุงรูปโฉมร้านจำหน่ายหน้าโรงงาน (Showroom) อบรมพนักงานขายให้มีความเป็นมืออาชีพในการนำเสนอสินค้าและสร้างภาพลักษณ์ที่ดี จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ซึ่งได้รับความสนใจจากลูกค้าเป็นอย่างมาก ช่วงเทศกาลตรุษจีนสามารถเพิ่มยอดขายได้มากถึง 2 ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันบริษัทฯ มีแผนขยายร้านค้าไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งจะใช้ต้นแบบจากร้านค้าที่ปรับปรุงใหม่ โดยเริ่มที่จังหวัดเชียงใหม่ ในห้างสรรพสินค้าเมญ่า ไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งเซ็นเตอร์ คาดว่าจะสามารถรองรับกำลังซื้อของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version