ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เม.ย. 2560 ปรับตัวลดลงเหตุวันหยุดต่อเนื่อง ขณะที่คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น

พุธ ๑๗ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๕๖
นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) เมษายน 2560 จำนวน 1,021 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยแยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ27.8, 38.0 และ 34.2 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 38.1,15.2,14.5,18.1 และ 14.1 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 79.8 และ 20.2 ตามลำดับ โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ระดับ 86.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 87.5 ในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง เนื่องจากในเดือนเมษายนมีวันหยุดต่อเนื่องทำให้มีวันทำงานน้อยกว่าเดือนก่อนหน้า นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ประกอบการมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงาน การแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงและความปลอดภัยของผู้ประกอบการในพื้นที่

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 99.0 ในเดือนมีนาคม ผู้ประกอบการเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังปี 2560 ขยายตัวดีขึ้นจากการลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ รวมทั้งการส่งออกของไทยที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง

ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนเดือนเมษายน จากการสำรวจพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นฯของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง ปรับตัวลดลง ขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมีนาคม

โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 73.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 74.6 ในเดือนมีนาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมสมุนไพร,อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล

การเกษตร,อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 92.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 92.3 ในเดือนมีนาคมโดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

อุตสาหกรรมขนาดกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 83.2 ปรับตัวลดลงจากระดับ 84.0 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ลดลงได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์,อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 99.6 ในเดือนมีนาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ด้าน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 100.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 100.5 ในเดือนมีนาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมอลูมิเนียม, อุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า,อุตสาหกรรมก๊าซ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 105.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ103.3 ในเดือนมีนาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนเมษายน จากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯของภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม

ภาคกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ระดับ 85.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 89.7 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯได้แก่ อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ (คอนกรีตสำเร็จรูป ปูนซีเมนต์ผสม มียอดขายและคำสั่งซื้อในประเทศลดลง และมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน) อุตสาหกรรมเคมี (ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ มียอดขายในประเทศและต่างประเทศลดลงจากเวียดนามและกัมพูชา ผลิตภัณฑ์สีทาบ้าน มียอดขายในประเทศลดลง) อุตสาหกรรมพลาสติก (สินค้าประเภทถุงพลาสติก บรรจุภัณฑ์พลาสติก (Packaging) มีการผลิตและยอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง เนื่องจากเร่งผลิตไปในเดือนก่อนหน้า ด้านการส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติก พลาสติกคอมพาวด์ มีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีนและญี่ปุ่น) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมอลูมิเนียม (ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียมชนิดม้วนและแผ่น มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐฯ ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้) ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 104.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ103.4 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคเหนือ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ระดับ 71.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 72.9 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก (กระเบื้องเซรามิก และสุขภัณฑ์ในห้องน้ำ มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกภาชนะบนโต๊ะอาหารมีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดเอเชียและยุโรป) อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (สินค้าประเภทอิฐมอญ หินแกรนิตและหินอ่อน มียอดขายในประเทศลดลง นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานเนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ขณะเดียวกันกระเบื้องปูพื้นแกรนิต มียอดสั่งซื้อลดลงจากประเทศเวียดนาม และมาเลเซีย) อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (สินค้าประเภทกระเบื้องหลังคาลอน แผ่นฝ้าเพดานมียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากลูกค้าหยุดงานก่อสร้างในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์กระเบื้องหลังคา มีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศพม่า ลาว เวียดนามและจีน) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (ผลิตภัณฑ์กระดาษคราฟห์ กระดาษที่ใช้ในสำนักงานมีคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์กระดาษสา กระดาษแข็งมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศ ญี่ปุ่นและฮ่องกง) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 93.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 86.8 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ระดับ 86.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 82.4 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มียอดคำสั่งซื้อจากญี่ปุ่นและเอเชียใต้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าส่งออกไปยังสหรัฐฯและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น) อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเสื้อกีฬา มีการส่งออกไปยังอาเซียนและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น เนื่องจากสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ขณะเดียวกันชุดนักเรียน มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากใกล้เปิดภาคเรียน) อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย และเส้นใยประดิษฐ์ ส่งออกไปญี่ปุ่นและจีนเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ส่งออกไปเวียดนามและบังคลาเทศเพิ่มขึ้น) ส่วนอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล (ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาว มียอดขายในประเทศลดลง และส่งออกไปตลาดอาเซียนลดลง เนื่องจากลูกค้าชะลอการสั่งซื้อ)ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 96.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 98.0 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

ภาคตะวันออก ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ระดับ 105.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 104.1 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ (รถยนต์นั่ง รถกระบะ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถจักรยายนต์มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น จากงานมอเตอร์โชว์ 2017 และมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง) อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ (อะไหล่รถยนต์และรถจักยานยนต์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ตามการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่น, เวียดนาม และอินโดนีเซีย) อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (สินค้าประเภทเครื่องปรับอากาศ และเครื่องทำน้ำเย็น มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศร้อนทำให้ความต้องการใช้เพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกคอมเพรสเซอร์มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากประเทศญี่ปุ่นและอาเซียน) อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบ ต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องประดับ (เครื่องประดับทองคำ เพชร และเครื่องเงิน มียอดขายในประเทศลดลง และมีคำสั่งซื้อจากประเทศญี่ปุ่นและอาเซียนลดลง) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.8 เพิ่มขึ้นจากระดับ 100.2 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ส่วน ภาคใต้ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ระดับ 81.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 85.1 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางแผ่นรวมควันมีการส่งออกไปประเทศจีนลดลง เนื่องจากมีการชะลอคำสั่งซื้อเพราะมีสต็อกในปริมาณสูง ผลิตภัณฑ์ยางส่งออกไปยังสหรัฐฯลดลง) อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น (สินค้าประเภทไม้อัดวีเนียร์ แผ่นปาร์ติเกิลบอร์ดและไม้อัดแท่ง มียอดขายในประเทศลดลง และส่งออกไปยังประเทศจีนและมาเลเชีย ลดลง) อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูปมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีน ขณะที่ยอดขายในประเทศชะลอตัว นอกจากนี้ยังมีปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น) อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ (เวชภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้ออุปกรณ์การแพทย์จากตลาดสหรัฐฯและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 95.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 101.4 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนี ความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดใน ประเทศกับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ ปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม

กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ดัชนีความ เชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน 2560 อยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 85.0 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก,อุตสาหกรรมยา,อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 99.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 99.4 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 96.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 95.2 ในเดือนมีนาคมองค์ประกอบดัชนีฯที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม,อุตสาหกรรมเครื่องปรับและทำความเย็น เป็นต้น

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 98.0 ในเดือนมีนาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

สำหรับด้านปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจการ ในเดือนเมษายน 2560 พบว่าปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนเมษายน คือ ต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมให้การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐใช้สินค้าจากผู้ประกอบการภายในประเทศ อีกทั้งเจรจากับประเทศที่มีนโยบายกีดกันทางการค้า เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคในการค้าการลงทุน รวมถึงสนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับผู้ประกอบการSMEs เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน และ ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ