แถลงข่าวแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ในการตรวจกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ

พฤหัส ๑๘ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๕๔
วันนี้ (วันที่ 17 พฤษภาคม 2560) เวลา 14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวกรมศุลกากร ชั้น 2 อาคาร 1 กรมศุลกากร นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากรและนายบุญเทียม โชควิวัฒน ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แถลงข่าวแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากรในการตรวจกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ

สืบเนื่องจากมีประชาชนที่เดินทางไปต่างประเทศ และขณะเดินทางกลับเข้ามาประเทศไทยทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขอตรวจกระเป๋าสัมภาระที่นำติดตัวเข้ามาและถูกดำเนินคดีทางศุลกากรโดยอาจมีความสงสัยว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรมีแนวทางหรือวิธีการในการตรวจกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารอย่างไร

กรมศุลกากร ขออธิบายขั้นตอนและวิธีการในการเลือกตรวจกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ดังนี้

หลักการตรวจผู้โดยสารขาเข้า ณ ท่าอากาศยานนานาชาติ เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลกขององค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization : WCO) กล่าวคือ

1. ใช้หลักเกณฑ์การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) โดยการตรวจสอบข้อมูลผู้โดยสาร

ก่อนเดินทางเข้ามาถึงประเทศไทย

2. การสังเกตพฤติกรรมของผู้โดยสาร และลักษณะกระเป๋าสัมภาระเดินทาง

3. งานสืบสวนและงานการข่าว

สำหรับกรณีที่มีการเผยแพร่รายงานการจับกุมนาฬิกา จำนวน 2 เรือน โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมาผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ จนเกิดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุใดเจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงจับกุมผู้โดยสารที่นำนาฬิกาติดตัวเข้ามาโดยใส่ไว้บนข้อมือของตนเอง และนำมาซึ่งความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศุลกากร นั้น กรมศุลกากรขอชี้แจงในเรื่องดังกล่าว ดังนี้

คดีดังกล่าวเป็นการจับกุมผู้โดยสารหญิง สัญชาติไทย จำนวน 2 ราย (ขอสงวนชื่อ)ซึ่งเดินทางมาจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2560โดยสายการบินฮ่องกงแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ HX769 มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เวลาประมาณ 02.35 น. ทั้งนี้ จากงานการข่าวแจ้งว่าจะมีผู้โดยสารลักลอบนำนาฬิกามูลค่าสูงเข้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศ โดยได้ส่งกล่องนาฬิกาเข้ามาก่อนหน้านี้แล้วทางไปรษณีย์ จากการสืบสวน ติดตามของเจ้าหน้าที่พบว่าเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ผู้โดยสารได้ลักลอบนำนาฬิกาเข้าประเทศด้วยวิธีใส่บนข้อมือเพื่ออำพรางเจ้าหน้าที่ และจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่าเป็นนาฬิกายี่ห้อ Audemars Piguet และ Patek Philippe ซึ่งเป็นของใหม่และยังไม่ได้มีการใช้งานแต่อย่างใด โดยผู้โดยสารทั้งสองรายยอมรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริง เจ้าหน้าที่จึงได้จับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายศุลกากรต่อไป

ทั้งนี้ นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร ได้สั่งกำชับทุกหน่วยงานให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายโดยสุจริต ตลอดจนเป็นการปกป้องค่าภาษีอากรอันเป็นรายได้ของประเทศ อนึ่ง สถิติการจับกุมลักลอบนำเข้าสินค้าประเภทนาฬิกา กระเป๋า และรองเท้า ของสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในปีงบประมาณ 2559 (ต.ค. 58 – ก.ย. 59) สามารถจับกุมได้ทั้งสิ้น 203 คดี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 136 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2560 (ต.ค. 59 – เม.ย. 60) สามารถจับกุมได้ทั้งสิ้น 136 คดี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 97.2 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ