ภาครัฐและเอกชนเดินหน้าจัดงาน คอนกรีต เอเชีย 2017 หนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างโต

ศุกร์ ๑๙ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๔๔
สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ อิมแพ็ค เดินหน้าจัดงาน คอนกรีต เอเชีย 2017 ตอบโจทย์อุตสาหกรรมก่อสร้างเติบโตในยุค IOT เผยแนวโน้มการความต้องการใช้งานและความท้าทายในอุตสาหกรรมคอนกรีตของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ตามปริมาณโครงการก่อสร้างของทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีเงินลงทุนหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 2.2 ล้านล้านบาท

ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ มกระธัช เลขาธิการ สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงความต้องการใช้ซีเมนต์และคอนกรีตในปี 2560 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ผลจากโครงการก่อสร้างต่างๆ ของทั้งภาครัฐและเอกชนที่กำลังก่อสร้างรวมถึงที่จะเกิดขึ้น โดยมีเงินลงทุนหมุนเวียนรวมไม่ต่ำกว่า 2.2 ล้านล้านบาท เช่น ตึกมหานคร ที่มีความสูง 314 เมตร ใช้คอนกรีตทั้งหมด 96,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งในปัจจุบันถือว่าสูงที่สุดในประเทศไทย แต่ในอนาคตอาจจะไม่ใช่ เพราะมีอีกหลายโครงการที่ท้าทายวงการก่อสร้าง แต่ทีมวิศวกรก็สามารถตอบโจทย์เกี่ยวกับโครงการที่เป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ได้ ส่งผลให้นักลงทุนมีความมั่นใจที่จะให้วิศวกรคนไทยพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ อาทิ โครงการซุปเปอร์ ทาวเวอร์ ตรงพระราม 9 คาดว่าจะสร้างเสร็จอีกภายใน 2-3 ปี มีความสูงอยู่ที่ 650 เมตร ใช้คอนกรีตประมาณ 260,000 ลูกบาศก์เมตร หากตึกนี้สร้างเสร็จจะเป็นตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ต่อด้วย ลุมพินี พาร์ค ในโครงการ One Bangkok ความสูง 450 เมตร ใช้คอนกรีตประมาณ 800,000 ลูกบาศก์เมตร หากตึกนี้เสร็จก่อน ซุปเปอร์ ทาวเวอร์ ก็จะเป็นตึกที่สูงที่สุดในไทยต่อจากตึกมหานคร

ในส่วนของโครงการรัฐบาล ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิส่วนต่อขยาย มีปริมาณการใช้คอนกรีต 130,000 ลูกบาศก์เมตร และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-คูคต โครงการนี้ใช้คอนกรีตประมาณ 950,000 ลูกบาศเมตร แต่ละโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันล้วนเป็นตัวกระตุ้นทำให้ภาคเอกชนลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์รองรับมากขึ้น เช่น คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรรแนวรถไฟฟ้า จากโครงการเหล่านี้เชื่อมั่นได้เลยว่าใน 3 ปีนี้ปริมาณการใช้ซีเมนต์และคอนกรีตในประเทศไทยต้องมีประมาณที่สูงขึ้นต่อเนื่อง

ด้าน ดร.พิชัย นิมิตยงสกุล ประธานกรรมการที่ปรึกษา สมาคมคอนกรีตประเทศไทย กล่าวว่า จากการขยายตัวของโครงการก่อสร้างทั้งการลงทุนโดยภาครัฐและเอกชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางสมาคมคอนกรีตประเทศไทย จึงได้วางแนวทางสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมคอนกรีตในอนาคตควบคู่กัน โดยกำหนด 4 ข้อหลัก คือ 1.ต้องลดมลพิษ 2.ลดค่าใช้จ่าย 3. แก้ปัญหาคอนกรีตหมดสภาพ และสุดท้ายความท้าทายในเรื่องของความสูง หรือการออกแบบของแต่ละอาคาร ต้องนำเอาเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้แต่ที่สำคัญต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปสู่ยุค IOT หรือ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) หมายถึง เครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของอื่นๆ ที่มีวงจร อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถผสานโลกกายภาพกับระบบคอมพิวเตอร์ได้แนบแน่นมากขึ้น ผลที่ตามมาคือประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม จากการเติบโตของอุตสาหกรรมคอนกรีต สมาคมคอนกรีตประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนบริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ในการจัดงาน CONCRETE ASIA 2017 หรืองานแสดงเทคโนโลยีเครื่องจักรและการสัมมนาวิชาการนานาชาติด้านคอนกรีตระดับเอเชีย รวบรวมนวัตกรรมคอนกรีตจากทั่วโลกมาไว้ในงานเดียวให้ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและผู้พัฒนาสินค้าได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และเจรจาธุรกิจ ในวันที่ 20-22 กันยายน 2560 ณ อาคาร 5 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ