เตือนเกษตรกรระวังขี้ขาวในกุ้ง แนะเลี้ยงปลานิลในบ่อ ลงทุนน้อย ลดการเกิดโรค

อังคาร ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๓๕
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ติดตามการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม เผย เกษตรกรมีการบริหารจัดการการเลี้ยงที่ดีขึ้น ส่งผลให้โรคตายด่วนลดลง เตือนอาจพบอาการ ขี้ขาว แนะ เลี้ยงปลานิลในบ่อกุ้ง ช่วยลดการเกิดโรคได้ อีกทั้งเป็นการลงทุนที่ไม่สูงมาก

นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้ติดตามสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 24 - 28 เมษายน 2560 พบว่า การเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในพื้นที่ภาคใต้ เกษตรกรมีการบริหารจัดการการเลี้ยงได้ดีขึ้น ทำให้ความเสียหายจากโรคตายด่วนลดลง

จากการติดตาม กุ้งที่เลี้ยงในช่วงนี้ อาจมีอาการขี้ขาว ซึ่งเกิดจากเชื้อไมโครสปอร์ริเดีย (Enterocytozoon hepatopenaei) ที่พบอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เช่น น้ำ ตะกอนดินที่หมักหมมก้นบ่อ ซึ่งแม้ลูกพันธุ์กุ้งที่ปล่อยลงเลี้ยงจะมีคุณภาพดีแต่หากปล่อยในบ่อเลี้ยงที่ไม่สะอาดและมีการจัดการการเลี้ยงที่ไม่ดี กุ้งที่เลี้ยงอาจมีอาการขี้ขาวได้ ส่งผลให้กุ้งทยอยตายเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 50 วันขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่กุ้งที่จับในช่วงอายุนี้ จะมีขนาดประมาณ 100 ตัวต่อกิโลกรัม

หากเกษตรกรพบอาการดังกล่าว (มีขี้ขาวลอยขึ้นมา) สามารถจับกุ้งขายก่อนกำหนดได้ในราคากิโลกรัมละ 141.87 บาท แต่หากกุ้งไม่มีอาการ เกษตรกรสามารถเลี้ยงได้ครบ 90 วัน ซึ่งจะได้กุ้งที่โตขึ้นขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และขายได้ (เฉลี่ย ณ มกราคม - เมษายน 2560) ในราคากิโลกรัมละ 204.13 บาท

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคใต้บางราย ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง โดยการปล่อยลูกพันธ์ปลานิลลงในบ่อเลี้ยงกุ้ง และปล่อยกุ้งหนาแน่นน้อยลงเฉลี่ย 100,000 ตัวต่อไร่ หลังจากปล่อยลูกกุ้งไปได้ 15 - 20 วัน จึงปล่อยลูกพันธุ์ปลานิลในอัตรา 250 - 300 ตัวต่อไร่ ซึ่งปลานิลจะเป็นตัวช่วยในการทำความสะอาดบ่อเลี้ยง มีการกินเศษอาหารที่เหลือค้างก้นบ่อ ช่วยลดการหมักหมมของตะกอนก้นบ่อที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้ ส่งผลให้กุ้งมีอัตรารอดถึงร้อยละ 80 เกษตรกรได้ผลผลิตกุ้งไร่ละ 1.3 - 1.5 ตันต่อรุ่น

ดังนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบ่อเลี้ยงให้มีความสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยการเลี้ยงปลานิล ในบ่อกุ้ง นับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดการเกิดโรคที่ทำได้ง่ายภายใต้การลงทุนที่ไม่สูงมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคได้ รองเลขาธิการ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ