ฟาร์มโคนม เชียงใหม่เฟรชมิลค์ ต้นแบบ Green Farm ด้วยนวัตกรรมทันสมัย รักษ์สิ่งแวดล้อม

อังคาร ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๓๖
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ฟาร์มโคนม บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด ศึกษาแนวทางบริหารจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Farm ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ สามารถรีดนมพร้อมกันถึง 64 ตัว ใช้เวลาทั้งกระบวนการไม่เกิน 15 นาที ส่วนมูลโค นำมาใช้ผลิตก๊าซชีวภาพ สู่การผลิตกระแสไฟฟ้าที่เทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ฟาร์มโคนม บริษัทเชียงใหม่เฟรชมิลค์ จำกัด ณ อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 19พฤษภาคม 2560 ซึ่งเป็นตัวอย่างฟาร์มโคนมขนาดใหญ่ที่พัฒนาเพื่อให้ได้คุณภาพและมาตรฐานระดับสากล มีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผสมผสานกับการเลี้ยงและดูแลวัวนมตามพฤติกรรมและความเป็นธรรมชาติ โดยมีนักวิชาการด้านสัตวบาล นักวิจัย และสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์ใหญ่คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง

ระบบโรงเรือน ได้ออกแบบให้มีการระบายอากาศที่ดีเพื่อช่วยลดความร้อนที่เกิดจากตัวของวัวนม โดยออกแบบตามหลักวิศวกรรม มีชายคาสูง 4 เมตร มีพัดลมระบายอากาศโล่งโปร่งให้ลมเข้าออกได้สะดวก มีการออกแบบซองนอนพร้อมเบาะรองนอน เพื่อให้วัวนอนพักผ่อนและหลับอย่างสบาย และมีระบบ Happy Cow ซึ่งเป็นเครื่องนวดที่ช่วยทำความสะอาดวัวนมอีกด้วย

นอกจากนี้ ภายในโรงเรือนยังใช้เครื่องกวาดมูลแบบอัตโนมัติ ช่วยให้ภายในโรงเรือนสะอาดตลอดเวลา และทำให้วัวนมมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น การให้อาหารของวัวนม เน้นตั้งแต่การปลูกหญ้าเอง ที่แปลงหญ้าอำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีกระบวนการผสมอาหาร TMR (Total mixed ration) ซึ่งเป็นการนำอาหารหยาบและอาหารข้นมาผสมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม จนถึงการให้อาหารตามคอกที่เป็นเวลาเพื่อให้วัวนมมีสุขลักษณะที่ดี มีระบบรีดนมอัตโนมัติที่ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย เป็นระบบปิดอัตโนมัติแบบพาราเรล ซึ่งสามารถรีดนมวัวได้พร้อมกันครั้งละ 64 ตัว ใช้เวลารีดตลอดทั้งกระบวนการเพียง 10-15 นาที

ด้านสิ่งแวดล้อม มีระบบเปลี่ยนน้ำเสียและมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทน ถือเป็น Green Farm ที่มีการจัดการฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศด้วยการนำมูลโคทั้งหมดภายในโรงเรือน ผลิตก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอก๊าซ สู่ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าและสามารถนำก๊าซไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบก๊าซไบโอเทนอัด หรือ compressed bio-methane gas (CBG) ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติสำหรับเติมรถยนต์ เครื่องจักรการเกษตร และปั่นไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม ส่วนกากตะกอนที่ได้สมารถนำไปผลิตปุ๋ยอัดเม็ดอีกด้วย

ทั้งนี้ สินค้าโคนม นับเป็นหนึ่งในสินค้าเศรษฐกิจที่สำคัญ (Top 4) ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจากการลงพื้นที่ ในครั้งนี้ทำให้เห็นต้นแบบความสำเร็จจากการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการเกษตรตลอดกระบวนการผลิต เพื่อให้น้ำนมมีคุณภาพ มาตรฐาน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร โดยตลอดกระบวนการผลิตได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version