โรคกระดูกพรุน

อังคาร ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๑๐
ข้อมูลโดย :

นพ.ไชยยันต์ ประชาศิลป์ชัย

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ

"ยายแก่แล้ว ไม่ต้องตรวจมวลกระดูก กระดูกพรุนแน่ๆ"

"คุณแม่รับประทานแคลเซียมทุกวันไม่ กระดูกไม่พรุนหรอก"

"ตรวจมวลกระดูกแล้ว รู้ว่ากระดูกพรุน หมอก็ให้รับประทานแคลเซียมเหมือนเดิม ไม่ต้องตรวจก็ได้"

ประโยคคำพูด ดังกล่าวข้างต้นเป็นความคิดเห็นที่พบบ่อยๆจากการตรวจผู้ป่วย ซึ่งก็มีส่วนที่ถูกและผิด ก่อนที่จะตัดสิน ต้องทราบข้อมูล เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนก่อน

โรคกระดูกพรุน ถือเป็นภัยเงียบอีกโรคหนึ่ง คือ ไม่มีอาการในระยะแรก จนเมื่อมีกระดูกหักง่ายจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง ที่พบบ่อยคือ กระดูกข้อมือ ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง ในรายที่มีกระดูกสันหลังทรุดตัว ก็จะมีส่วนสูงที่ลดลง

National Institute of Health (NIH) นิยาม ของโรคกระดูกพรุนดังนี้คือ

"เป็นโรคของกระดูกที่มีความแข็งแกร่งของกระดูก (Bone strength) ลดลง ส่งผลให้เพิ่มความ เสี่ยงต่อกระดูกหัก" ความแข็งแกร่งของกระดูก ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือความหนาแน่น ของกระดูก(Bone density) และคุณภาพของกระดูก (Bone quality)

องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดเกณฑ์ ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) โดยดูค่าความหนาแน่น ของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

ในประเทศไทย มีการศึกษา พบว่า ความชุกของโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน 20% ในช่วงอายุ 55-59 ปี 40% ในช่วงอายุ 60-69 ปี และเพิ่มขึ้นถึง 60% ในช่วงอายุมากกว่า 80 ปี ตามลำดับ

ในปัจจุบัน วิธีมาตรฐานที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน และสามารถใช้ทำนายความเสี่ยง ต่อการเกิดกระดูกหัก ได้แม่นยำที่สุด คือ การวัดความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่อง Dual Energy X-ray Absorptiometer (DXA)

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (BMD)

• ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

• ผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง หรือหมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี

• ผู้ที่รับประทานยาหรือฉีดยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน

• มีประวัติคนในครอบครัวเคยกระดูกสะโพกหัก

• ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 19 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

• ผู้ที่มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง (low energy trauma)

• ผู้ที่ตรวจเอกซเรย์แล้วพบภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกสันหลังผิดรูป

• ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือดื่มเหล้าจัด เป็นประจำ

• ผู้ที่เป็นเบาหวาน เป็นโรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เป็นโรคการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

• ผู้ที่มีส่วนสูงลดลงมากกว่า 4 เซนติเมตร หรือวัดได้ลดลงมากกว่า 2 เซนติเมตรต่อปี

การดูแลรักษา

ประกอบด้วย การดูแลเรื่องอาหาร ให้ได้ แคลเซียม วิตามินดี ที่เพียงพอ การออกกำลังกาย ได้รับแสงแดดอ่อนๆ ปัจจุบันมียาใช้ในการรักษาช่วยเพิ่มมวลกระดูกและลดอัตราการเกิดกระดูกหักได้ และสิ่งที่สำคัญอีกประการคือ การป้องกันล้ม เช่น การตรวจเช็คสายตา การเดินและการทรงตัว รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้มีแสงสว่างเพียงพอ การจัดอุปกรณ์ราวจับในห้องน้ำ ซึ่งถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะเสื่อมตามกาลเวลา แต่ถ้าเราตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาป้องกัน และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ