เอเรียนสเปซ ผู้นำด้านการให้บริการปล่อยดาวเทียมของโลกเริ่มต้นปี พ.ศ. 2560 ด้วยความสำเร็จในเอเชีย และมองไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ

พฤหัส ๒๕ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๐๘
เอเรียนสเปซยังคงมีการดำเนินงานอย่างมั่นคงในเอเชียแปซิฟิคด้วยการปล่อยดาวเทียมให้แก่ลูกค้าในออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นและเกาหลี ใน 12 เดือนที่ผ่านมา และตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2560 เอเรียนสเปซได้ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียม เทลคอม-3เอส ของเทลคอม อินโดนีเซีย และโคเรียแซท 7 ของ เคที คอร์ป โดยจะมีการปล่อยดาวเทียมอีกสองดวงของอินเดียและญี่ปุ่นในปีนี้ ทั้งหมดนั้นจะใช้จรวดเอเรียน 5 เอเรียนสเปซได้วางแผนที่จะปล่อยดาวเทียมทั้งสิ้น 12 ดวงในปีนี้ โดยเจ็ดดวงจะใช้จรวดเอเรียน 5 อีกสามดวงใช้จรวดเวกา และอีกสองดวงโดยจรวดโซยุซ ผู้นำด้านการให้บริการปล่อยดาวเทียมเชิงพาณิชย์ของโลกอย่างเอเรียนสเปซนั้นยังมองไปในอนาคตอย่างมั่นใจด้วยการมุ่งเน้นในตลาดกลุ่มดาวเทียม ประเทศไทยซึ่งเป็นลูกค้ารายแรกของเอเรียนสเปซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงเป็นส่วนสำคัญของแผนการในภูมิภาคนี้

เอเรียนสเปซยืนยันการเป็นผู้นำในตลาดเอเชีย แปซิฟิค

ตั้งแต่เอเรียนสเปซได้ปล่อยดาวเทียมดวงแรกให้แก่ลูกค้าจากเอเชียในปี พ.ศ. 2524 เอเรียนสเปซก็ได้ปล่อยดาวเทียมไปแล้วกว่า 78 ดวงแก่ลูกค้า 17 รายในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค ซึ่งมีการตั้งสำนักงานระดับภูมิภาคทั้งสองแห่งโดยมีการดำเนินงานในสิงคโปร์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 และโตเกียวตั้งแต่ พ.ศ.2529 ภูมิภาคนี้เป็นตลาดที่สำคัญของบริษัท โดยมีส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 60 ของการปล่อยดาวเทียมเชิงพาณิชย์ทั่วโลก นี่คิดเป็นประมาณร้อยละ 25 ของธุรกิจของเอเรียนสเปซทั่วโลก เอเรียนสเปซนั้นเป็นผู้ให้บริการปล่อยดาวเทียมที่เป็นตัวเลือกของผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาค ด้วยการปล่อยดาวเทียมดวงแรกให้กับลูกค้าในออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์และเวียดนาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ลูกค้ารายแรกของเอเรียนสเปซในภูมิภาคนี้นั้นมาจากประเทศอินเดีย ให้บริการใน พ.ศ. 2524 ด้วยการปล่อยดาวเทียมครั้งแรกให้กับองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย ออสแซทของประเทศออสเตรเลียนั้นเป็นลูกค้ารายที่สองในภูมิภาคด้วยการปล่อยดาวเทียม เค3 ใน พ.ศ. 2530 ต่อมาบริษัทนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของซิงเทล ออปตัส เอเรียนสเปซยังได้ปล่อยดาวเทียมอีก 5 ดวงให้แก่ออปตัส และดาวเทียมของซิงเทลอีก 2 ดวงตั้งแต่ พ.ศ. 2541 ถึง 2554 ชินแซทเทลไลท์จากประเทศไทยนั้นกลายเป็นลูกค้ารายแรกของเอเรียนสเปซจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน พ.ศ. 2534 ด้วยสัญญาว่าจ้างให้ปล่อยดาวเทียมไทยคม1 และในเวลาต่อมายังได้ปล่อยดาวเทียมไทยคมอีก 4 ดวง ซึ่งรวมถึงไทยคม5 ใน พ.ศ. 2549 ส่วนลูกค้าที่สำคัญรายอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นได้แก่ พีที เทลคอม และบีอาร์ไอแซท จากอินโดนีเซีย มีแซทจากมาเลเซีย เอบีเอสฮ่องกง และวินาแซทจากเวียดนาม เครือข่าย บรอดแบนด์แห่งชาติ หรือ เอ็นบีเอ็น ของออสเตรเลีย และในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เจซีแซทของญี่ปุ่น โคเรียแซทและสถาบันวิจัยอวกาศแห่งเกาหลี จากประเทศเกาหลี

ปี พ.ศ.2560 นี้เป็นปีที่ดีมากอย่างต่อเนื่องของเอเรียนสเปซในการปล่อยดาวเทียมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค หลังจากประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมสองครั้งด้วยจรวดเอเรียน5 ให้แก่เทลคอมอินโดนีเซีย (ดาวเทียมเทลคอม 3เอส เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์) และเคแซท (ดาวเทียมโคเรียแซท-7 ในวันที่ 4 พฤษภาคม) ยังมีภารกิจอีก 3 ครั้งที่วางแผนไว้ว่าจะมีการปล่อยดาวเทียมในปีนี้ โดยสองครั้งนั้นจะเป็นขององค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ดาวเทียมจีแซท-17และจีแซท-11) และอีกครั้งเป็นของบีแซท (ดาวเทียมบีแซท-4เอ)

โซยุส – โอกาสในอนาคต

หลังจากการประกาศในวันที่ 20 เมษายน ว่ามีการลงนามในสัญญาปล่อยดาวเทียมฮอริซอน 3อี (ซึ่งดำเนินการโดยสกาย เพอร์เฟค เจแซท และอินเทลแซท ซึ่งเป็นการร่วมทุนกัน) โดยในปัจจุบันเอเรียนสเปซได้รับสัญญาว่าจ้างให้ปล่อยดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรอีก 51 ครั้ง (19 ครั้งโดยเอเรียน 25 ครั้งโดยโซยุส และ 7 ครั้งโดยเวกา) แก่ลูกค้า 28 รายทั่วโลก โดยคิดเป็นมูลค่ารวม 4.9 พันล้านยูโร (หรือประมาณ 1.9 แสนล้านบาท)

เมื่อมองไปข้างหน้า เอเรียนสเปซนั้นจะไม่เพียงแต่ให้บริการการปล่อยดาวเทียมที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือสูงสำหรับดาวเทียมสื่อสารขนาดใหญ่ในวงโคจรประจำที่โดยใช้จรวด เอเรียน 5 แต่ยังมีความพร้อมสำหรับตลาดดาวเทียมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเมื่อลูกค้านั้นมองหาการปล่อยดาวเทียมสำหรับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและดาวเทียมสังเกตการณ์ของโลกไปยังวงโคจรระดับต่ำและระดับกลางของโลกเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยจรวดอวกาศในโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบันและจรวจอวกาศแนะนำของ เอเรียน 6 และเวกา ซี ที่จะให้บริการภายในทศวรรษหน้านั้นทำให้เอเรียนสเปซสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างเหมาะสมที่สุด

การบริหารจัดการใหม่ของเอเรียนสเปซที่ส่งผลดีต่อลูกค้า

เอเรียนสเปซได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองประการตั้งแต่สิ้นปี พ.ศ.2559

ในเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 แอร์บัส ซาฟราน ลอนเชอร์ ได้กลายมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอเรียนสเปซ ด้วยการถือหุ้นร้อยละ 74 หลังจากรับโอนหุ้นจากองค์การอวกาศของฝรั่งเศสหรือซีเอ็นอีเอส สัดส่วนของหุ้นของเอเรียนสเปซที่ถือโดยบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมการปล่อยดาวเทียมของยุโรปนั้นไม่เปลี่ยนแปลง โดยที่บริษัทลูกของแอร์บัส ซาฟราน ลอนเชอร์ อย่างเอเรียนสเปซนั้นยังคงมีสถานะเป็นบริษัทที่แตกต่างด้วยท่าทีที่เป็นกลางในความสัมพันธ์กับบริษัทผู้ผลิตดาวเทียมต่างๆและยังคงเป็นผู้เดียวที่จะติดต่อกับลูกค้า

ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการลงคะแนนของผู้ถือหุ้นของเอเรียนสเปซอย่างเป็นเอกฉันทน์ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางกฎหมายของผู้ให้บริการปล่อยดาวเทียมรายนี้รวมไปถึงหลักการบริหารจัดการ โดยสเตฟาเน่ อิสราเอล นั้นได้รับการยืนยันให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอเรียนสเปซและยังคงเข้าร่วมคณะกรรมการบริหารของแอร์บัส ซาฟราน ลอนเชอร์ ในตำแหน่ง รองประธานบริหาร ซึ่งจะดูแลด้านโครงการจรวดปล่อยยานพลเรือน

การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้แอเรียนสเปซและพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพิ่มความคล่องแคล่วในด้านการแข่งขัน เพื่อจะก้าวให้ทันตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งหมดนั้นก็เพื่อประโยชน์ที่ดีกว่าสำหรับลูกค้า นอกเหนือจากนั้นยังจะช่วยให้เอเรียนสเปซมีรากฐานที่มั่นคงขึ้นสำหรับอนาคตด้วยจรวดเอเรียน 6 และเวก้า ซี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO