สสว.ตอบรับนโยบายไทยศูนย์กลางเชื่อม CLMVT จับมือ กสอ. และ SME Bank จัดแพ็คเก็จสนับสนุน SMEs ยกระดับ SME - Young - Start up ไทย-ลาว สู่สากล พร้อมเชื่อมโยงศูนย์ SME Support Center

จันทร์ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๒๗
ในโอกาสที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เข้าร่วมคณะรองนายกรัฐมนตรี ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2560 นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สสว. เปิดเผยว่า สสว.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้าน SME ร่วมกับ 3 องค์กรหลักภาคเอกชน ของ สปป. ลาว ได้แก่ หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาว สมาคมนักธุรกิจแม่หญิงลาว และสมาคมธุรกิจหนุ่มแห่งชาติลาว โดยได้รับเกียรติจาก ท่านรองนายกฯ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนาม กับ ท่านสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และนางเขมมะณี พลเสนา รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ของ สปป. ลาว

ทั้งนี้ นอกเหนือจาก MOU ของ สสว. แล้ว ยังมี MOU อีก 1 ฉบับ ของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และ สำนักงานส่งเสริม SME สปป.ลาว ซึ่งเป็นการลงนามความร่วมมือหน่วยงานรัฐด้าน SME ในพิธีนี้ด้วย ซึ่ง สสว. กับ DOSMEP เองก็มี MOU กรอบความร่วมมือฉบับเดิมอยู่แล้วเมื่อ ปี พศ. 2551 และทำงานร่วมกันมาตลอดทั้งในกรอบอาเซียนและทวิภาคี

ในส่วนเนื้อหาความร่วมมือของ MOU ระหว่าง สสว. และองค์กรเอกชนทั้ง 3 องค์กร ในครั้งนี้ สามารถสรุปเป็นประเด็นสำคัญที่สามารถเริ่มต้นความร่วมมือได้เลย ดังนี้

- การช่วยส่งเสริมด้านการตลาด ให้แก่ สินค้าและบริการของ SME ลาว เพื่อเข้าสู่ Platform อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็ปไซต์ ASEAN SME ที่ สสว. เป็นเจ้าภาพในการดำเนินการอยู่แล้ว และ SME Go Online ที่ สสว. ดำเนินการเองสำหรับตลาดในประเทศไทยด้วย โดย สสว. สมารถ อำนวยความสะดวกในการถ่ายภาพสินค้า ลงเว็ปไซต์ ด้วย

- การเชื่อมโยง Network ระหว่าง SME ไทย-ลาว โดยเฉพาะกลุ่ม Young และ Start up งานแสดงสินค้า การทำ Business Matching และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน

- การเชื่อมโยง SME Support Center ระหว่างกันเพื่อให้ความรู้ ช่วยเหลือ SME ลาว ในแต่ละประเด็น และพื้นที่ที่มีการเชื่อมโยงกันตามแนวชายแดน

"นอกจากนี้ ก่อนพิธีการลงนาม MOU ดร.สมคิดฯ และ ดร.อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้นำทีม 3 หน่วยงานหลักด้านการส่งเสริม SMEs ของไทย คือ สสว. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และ ธนาคารเอสเอ็มอี หรือ SME development Bank (SME Bank) พร้อมผู้แทน EXIM Bank สภาหอฯ สภาธุรกิจไทย-ลาว และผู้ประกอบการ SMEs ไทยจากจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี และหนองคาย เข้าร่วมประชุมหารือกรอบความร่วมมือด้าน SME กับท่านสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และนางเขมมะณี พลเสนา รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ของ สปป. ลาว พร้อมหน่วยงานภาครัฐด้าน SME ของ สปป. ลาว คือ สำนักงานส่งเสริม SME สปป.ลาว 3 องค์กรหลักภาคเอกชน ที่จะร่วมลงนาม MOU ข้างต้น เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริม SME ของทั้งสองฝ่าย และร่วมรับฟังข้อคิดเห็น / ข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ไทย-ลาว ที่มาร่วมประชุมกว่า 120 ราย โดยเนื้อหาสรุปผลการหารือได้มีการครอบคลุมถึง 5 ประเด็นหลักๆ คือ

การพัฒนาศักยภาพ SMEs ผ่านหลักสูตร Spring up ที่เน้นการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ ด้านมาตรฐาน / ประสิทธิภาพการผลิต / นวัตกรรม โดยอาจจะเริ่มใน Sector ที่ ลาว มีศักยภาพก่อน เช่น เกษตร เกษตรแปรรูป ท่องเที่ยว หัตถกรรม เป็นต้น และไทยเองก็พร้อมจะส่งผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ไปให้ความรู้แก่ภาครัฐและ SMEs ที่ ลาว ด้วยแนวทางการเข้าสู่แหล่งเงินทุนของ SMEs ไทยเสนอให้ สปป.ลาว มาเรียนรู้จากโมเดลของฝั่งไทย เช่น มาตรการด้านสินเชื่อจากภาครัฐต่างๆ การประกันสินเชื่อ (Credit Guarantee) และในส่วนของการให้สินเชื่อจากภาครัฐไทยก็พร้อมสนับสนุนจัดแพ็คเก็จเงินทุนสำหรับ SME ไทย ที่พร้อมไปลงทุนและทำธุรกิจที่ลาว โดย SME Bank จะรับกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็ก (Small) และ EXIM Bank จะดูแลผู้ประกอบการขนาดกลาง (Medium) การพัฒนาการตลาดร่วมกัน เพื่อไปสู่การพัฒนาสินค้าของผู้ประกอบการลาว และช่วยเหลือเชื่อมโยงการเข้าสู่ Global Value Chain ของอาเซียน โดยความร่วมมือกันของ SME จากทั้งสองประเทศ เพื่อการขายไปสู่ตลาดประเทศที่สาม เช่น ตลาดจีน โดยมีลาว เป็นผู้เชื่อมโยง มีความได้เปรียบในข้อยกเว้นทางภาษี ในสินค้าบางประเภท เป็นต้น การเชื่อมโยงศูนย์ SME Support Center โดยไทยเสนอเริ่มนำร่องที่ศูนย์ SME Support Center ที่จังหวัดอุบลฯ อุดรฯ 2 จังหวัดใหญ่ ที่เชื่อมต่อ ลาว ทั้งเหนือ-ใต้ เพื่อเปิดโอกาสให้ SME ลาว สามารถมาร่วมใช้บริการได้สะดวกด้วย การส่งเสริมพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม SMEs ของ สปป.ลาว โดยในประเด็นนี้ ลาว เสนอว่าอยากจะให้มีการรวบรวมข้อมูล / ความรู้ หรือ Database อื่นๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ เช่น ด้านกฎหมาย การตลาด บัญชี การเงิน บุคลากร ฯลฯ รวบรวมไว้บน Platform อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็ปไซต์ หรือ Application เพื่อง่ายต่อการเข้าถึง และเสนอให้มีการเดินทางมาดูงานที่ไทย สำหรับโครงสร้างต่างๆ ในการส่งเสริม SME ที่ลาวอยู่ในช่วงการพัฒนาให้เกิดขึ้นในลาว ทั้งนี้ 5 ประเด็นข้างต้น ได้มีการรวบรวมเป็นหัวข้อความร่วมมือด้าน SME ระหว่างกัน ที่มีการลงนามในครั้งนี้ ด้วยแล้ว

"การพัฒนา SME ของลาว นั้น ควรเริ่มต้น Focus ที่ สาขาการท่องเที่ยว เป็นอันดับแรก ซึ่งลาวเองมีศักยภาพ ที่จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาได้ก่อน และจะส่งผลหนุนภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวเนื่องให้มีการพัฒนา เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ฯลฯ รวมถึงสินค้าท้องถิ่นก็จะสามารถขายได้ โดยให้มีการคำนึงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นสำคัญ" ดร.สมคิด กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม