ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้สนองนโยบาย การขับเคลื่อนThailand 4.0 และ e-Government ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ และกำหนดนโยบายนำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก้าวสู่ยุค PEA 4.0 พัฒนาคนด้วยนวัตกรรม พัฒนางานด้วยเทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่การไฟฟ้าแห่งอนาคต โดยศึกษาวิจัยและจัดทำระบบโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว ขยายผล 4 ภาค จำนวน 11 สถานี ในเส้นทางหลัก สู่เมืองใหญ่และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ประกอบด้วย สายภาคเหนือ (กรุงเทพฯ – พระนครศรีอยุธยา) จำนวน 2 สถานี สายภาคใต้ (กรุงเทพฯ – หัวหิน) จำนวน 4 สถานี สายภาคตะวันออก (กรุงเทพฯ – พัทยา) จำนวน 3 สถานี สายภาคตะวันตก (กรุงเทพฯ – นครปฐม) จำนวน 1 สถานี สำนักงานใหญ่ กฟภ. จำนวน 1 สถานี
เครื่องอัดประจุไฟฟ้าเป็นแบบ Multi-Standard (CHAdeMO, CCS Combo2, AC Type2) ตามมาตรฐานนานาชาติ รองรับรถยนต์ไฟฟ้าที่ติดตั้งหัวจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐานยุโรปและญี่ปุ่น การอัดประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว (Quick Charge) ใช้เวลาประมาณ 20 นาที สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง วิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเปิดให้ใช้งานทุกวัน เวลา 06.00 – 20.00 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจนถึงสิ้นปี 2560 และมีแผนจัดทำระบบโครงข่ายแบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงทุกสถานีบริการ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่าน Application บน Smartphone ทำให้ทราบตำแหน่งของสถานีที่ว่างและอยู่ใกล้ที่สุด สัมพันธ์กับพลังงานไฟฟ้าที่มีอยู่ในรถ สามารถจองคิวสถานีอัดประจุไฟฟ้าล่วงหน้า ทราบสถานะการใช้พลังงาน รูปแบบการอัดประจุไฟฟ้า การชำระเงินค่าบริการและการแจ้งเตือนปัญหาการใช้งาน เป็นการพัฒนากระบวนการทำงานที่รองรับยุคดิจิทัล ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อ