ม.มหิดล จับมือ University of Strathclyde เปิด “หลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ THAI-UK ระหว่าง Mahidol-Strathclyde” มุ่งเน้นเพิ่มบุคลากร และงานวิจัยคุณภาพรองรับอุตสาหกรรมโลก

อังคาร ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๔๘
มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ University of Strathclyde (มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์) "หลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ THAI-UK ระหว่าง Mahidol-Strathclyde" โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ University of Strathclyde สหราชอาณาจักร เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรที่จะเริ่มเปิดการเรียนการสอนในปีนี้เป็นปีการศึกษาแรก และเป็นการแสดงบทบาทของมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการมุ่งสู่ Thailand 4.0 ด้วยการเปิดหลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตที่มุ่งสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม มุ่งเน้นเพิ่มบุคลากรและงานวิจัยคุณภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ และ University of Strathclyde สหราชอาณาจักร มีความร่วมมือกันในด้านวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นผลจากการต่อยอดการลงนามความร่วมมือในงาน Symposium Mahidol-Strathclyde ที่จัดขึ้นในปี 2559 ที่ผ่านมา โดย University of Strathclyde เป็นมหาวิทยาลัยต้นแบบที่มีชื่อเสียงระดับโลกด้านการออกแบบและผลิตนวัตกรรม การที่ได้จัดทำหลักสูตรร่วมนานาชาติวิศวกรรมศาสตร์ครั้งนี้ จะนำไปสู่การพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ เพื่อสร้างงานวิจัยที่สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ สู่การเป็นผู้ประกอบการ และรองรับภาคอุตสาหกรรมโลกได้ และ Prof. Alexander Galloway, Vice Dean of Engineering, University of Strathclyde ได้กล่าวว่า ด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีประสบการณ์การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการศึกษาทางวิชาการด้านการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากว่า 15 ปี นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นความพร้อมที่จะสามารถร่วมกันสร้างหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และมุ่งมั่นพัฒนาศาสตร์ด้านวิศวกรรมเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน"

สำหรับหลักสูตรสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ "เป้าหมายของหลักสูตรนานาชาติสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คือ นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะสามารถจัดการกับปัญหาทั้งทางด้านวิศวกรรม และทางการแพทย์ตามความต้องการของสังคมและประชาคมระหว่างประเทศได้ โดยหลักสูตร Double Degree นี้จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ไปศึกษา ณ University of Strathclyde เป็นเวลา 2 ปี สำหรับหลักสูตรปริญญาตรี โดยจะเน้นการศึกษาบนการทำโปรเจคและงานวิจัยร่วมกันระหว่าง 2 สถาบัน และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว บัณฑิตจะได้รับ 2 ปริญญา จากทั้ง 2 สถาบัน ซึ่งการเปิดหลักสูตรนานาชาตินี้นับเป็นก้าวหนี่งที่สำคัญของภาควิชา" รองศาสตราจารย์ ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติม

นอกนี้ยังมีการจัดแสดผลงานนวัตกรรมของนักศึกษา อาทิเช่น หุ่นยนต์ผ่าตัด หุ่นยนต์ส่งยาอัตโนมัติสำหรับขนเวชภัณฑ์ในสถานดูแลผู้สูงอายุ สายสวนปัสสาวะเคลือบอนุภาคนาโนบรรจุสารต้านจุลชีพ หุ่นยนต์เสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์ช่วยเตือนหลับในด้วยสัญญาณสมอง (ALERTZ) ซึ่งเป็นผลงานที่ตอบสนองนโยบาย Startup ของรัฐบาลอีกด้วย ทั้งนี้หลักสูตรพร้อมที่จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO