มรภ.สงขลา แนะเกษตรกรเรียนรู้จัดการที่ดินอย่างยั่งยืน

อังคาร ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๓๗
มรภ.สงขลา ติวเกษตรกรรู้จักวางแนวทางจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน ชี้พื้นที่เขตชนบทน่าห่วง แนะเปิดโอกาสผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมตัดสินใจ ควบคู่ส่งเสริมต้นทุนด้านสังคม

ดร.มุมตาส มีระมาน อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) วิทยาเขตสตูล ผู้เสนอโครงการอบรมการปรับตัวของเกษตรกรเพื่อรองรับการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เปิดเผยถึงที่มาของการจัดอบรมเมื่อเร็วๆ นี้ว่า การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในพื้นที่ จ.สตูล กำลังอยู่ในสภาวะความกดดัน ซึ่งจากเวทีระดมความคิดเห็นพบว่าพื้นที่เกษตรกรรมยังขาดการจัดการที่ดินด้านเกษตรกรรมที่เหมาะสม และชุมชนยังไม่มีแนวทางหรือทางเลือกในการใช้ที่ดินที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนได้ ประกอบกับปัญหาเรื่องราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่กระทบมาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผลกระทบด้านการแข่งขันในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้น เพื่อรองรับความต้องการของชุมชนที่จะปรับตัวด้านเกษตรกรรม และความต้องการยุทธศาสตร์การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องจัดอบรมเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สภาเกษตรกรจังหวัด เกษตรกรในพื้นที่ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้าใจถึงวิธีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้การเข้าใจบริบทพื้นที่ผ่านกระบวนการด้านแผนที่และการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งเป็นรากฐานของการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน และเพื่อการปรับตัวหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งยังเป็นแนวทางสำคัญในการปรับตัวตามนโยบาย Thailand 4.0

ดร.มุมตาส กล่าวว่า การเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดินที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มาจากการไม่สามารถหรือขาดการจัดการที่เหมาะสม วงจรการเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดินยังคงอยู่เป็นวัฏจักรและมีการขยายการเสื่อมโทรมมากขึ้น หากต้องการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากรที่ดินเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน ควรมุ่งเน้นการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการมีส่วนร่วมและเพิ่มต้นทุนทางสังคม กุญแจสำคัญในการทำลายวงจรการเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดินคือการให้ผู้ใช้ที่ดิน (Land User) มีบทบาทในด้านการตัดสินใจร่วมกับหน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนต่อการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ในการจัดการทรัพยากรที่ดิน ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันจัดเป็นงานที่ท้าทายและดำเนินการได้ยาก โดยประเด็นที่สำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเป็นอันดับแรก คือ การจัดการทรัพยากรที่ดินในเขตชนบท ซึ่งจัดว่ายังอยู่ในสถานะเสี่ยงและด้อยโอกาส การส่งเสริมต้นทุนด้านสังคม (การศึกษา สถาบัน องค์กร และเครือข่ายด้านสังคม) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจ ให้อำนาจการตัดสินใจแก่บุคคลระดับล่าง ให้บทบาทความสำคัญกับผู้ได้รับผลกระทบ ผู้ใช้ที่ดิน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในขณะเดียวกันมีความถูกต้องตามกระบวนการ สอดคล้องกับนโยบายและเป็นวิถีทางหรือแนวทางที่สามารถทำลายวงจรการเสื่อมโทรมของที่ดินได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version