บอร์ดกองทุนฟื้นฟูฯเฉพาะกิจ ตั้ง “สมยศ ภิราญคำ” ขึ้นเป็นเลขาฯกองทุน พร้อมคลอดคณะอนุกรรมการ 4 ชุดแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูภายใต้กรอบ 180 วัน ยันเร่งแก้หนี้เกษตรกรรายที่จำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรก

อังคาร ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๒๑
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ ครั้งที่ 1/2560 ว่า ในการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 26/2560 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นอกจากที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งรองประธานกรรมการ ซึ่งได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (นายสไกร พิมพ์บึง) และผู้อำนวยการสำนักบริหารกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและรับเรื่องร้องเรียน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ช่วยเลขานุการแล้ว ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ 180 วัน โดยมีเป้าหมายหลักคือ แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายที่มีความจำเป็นและเร่งด่วนเป็นอันดับแรก ตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของคณะกรรมการเดิมทั้ง 3 ชุด คือ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร

ดังนั้น เพื่อเร่งรัดการดำเนินการตามเป้าหมายข้างต้น ที่ประชุมจึงได้มีมติแต่งตั้ง นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พร้อมแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจ จำนวน 4 คณะ คือ 1. คณะอนุกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกรกรณีเร่งด่วน โดยมีปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน และผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นเลขานุการ 2. คณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลหนี้สินเกษตรกร ปลัดกรทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นเลขานุการ 3. คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงสร้างและกฎหมายของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ผู้แทนสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นเลขานุการ 4.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณปี 2560 และ 2561 มีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน ผู้อำนวยการสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นเลขานุการ

สำหรับกรอบแนวทางการทำงานของทั้ง 4 คณะนั้น สองคณะแรกจะดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางการตรวจสอบข้อมูลหนี้สินเกษตรกร ตรวจสอบ ยืนยันข้อมูลหนี้ และกำหนดหลักเกณฑ์การจัดการหนี้สินของเกษตรกร ส่วนอีกสองคณะจะดำเนินการเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างและปรับแก้ไขกฎหมายของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร รวมถึงงบประมาณของกองทุนฯ ซึ่งทั้ง 4 คณะจะกลับไปจัดทำข้อมูล กรอบแนวทางตามอำนาจหน้าที่ทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร การแก้ไขปัญหาการดำเนินงานและการปรับปรุงกฎหมาย มาเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเฉพาะกิจในการประชุมครั้งต่อไป โดยกำหนดให้มีการประชุมทุกเดือนตามระยะเวลาการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ชุดนี้ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการถึงเดือนธันวาคม 2560

"ข้อมูลทะเบียนหนี้เกษตรกรปัจจุบันพบว่า มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น 512,889 ราย มูลหนี้ 84,710 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรรายเร่งด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการจัดการหนี้เบื้องต้นที่ได้สำรวจเบื้องต้นแล้วมีประมาณ 2,631 ราย ซึ่งก็ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ดังนั้น คณะอนุกรรมการฯ ที่ตั้งขึ้นข้างต้นก็ต้องไปสำรวจตรวจสอบข้อมูลหนี้ของเกษตรกรแต่ละรายว่าเข้าข่าย หลักเกณฑ์ หรือมีเงื่อนไขหนี้อย่างไรบ้าง เพราะรายละเอียดมีความแตกต่างกัน เพื่อกลับมานำเสนอแผนงานต่อคณะกรรมการณ์ฯ ชุดเฉพาะกิจที่มีผมเป็นประธานอีกครั้งในการประชุมครั้งต่อไป "พลเอกฉัตรชัย กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ