เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2560 ฟิลลิป มอร์ริส มุ่งสร้างสังคมไร้ควัน

พุธ ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๒๗
ฟิลลิป มอร์ริส มุ่งสร้างสังคมไร้ควันสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนของสหประชาชาติ

เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2560 ในปีนี้องค์การอนามัยโลกกำหนดคำขวัญการรณรงค์ "บุหรี่: ภัยคุกคามต่อการพัฒนา (Tobacco: a threat to development)" เพื่อสร้างการรับรู้ถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ด้านฟิลลิป มอร์ริสเผยวิสัยทัศน์ 'สังคมไร้ควัน' (Smoke-Free Future) สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติในเรื่องสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

นายพงศธร อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ ฟิลลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด เผยว่า "ฟิลลิป มอร์ริส ต้องการร่วมสร้างสังคมไร้ควัน โดยมีเป้าหมายในการนำผลิตภัณฑ์ไร้ควัน (Smoke-Free Products) มาแทนที่บุหรี่ซิกา-แรตให้เร็วที่สุด เนื่องจากสาเหตุหลักของการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ อาทิ โรคหัวใจ มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ มาจากควัน (Smoke) ที่เกิดจากการเผาไหม้เมื่อมีการจุดบุหรี่ ขณะที่นิโคตินไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคจากการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ยังคงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นถ้ามีความกังวลเรื่องสุขภาพ วิธีการที่ดีที่สุดคือการเลิกสูบบุหรี่หรือไม่เริ่มสูบบุหรี่ ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในหลายประเทศต่างก็เริ่มตระหนักถึงทางเลือกในการลดอันตรายจากการสูบบุหรี่ โดยผลิตภัณฑ์ไร้ควันได้รับการควบคุมและจำหน่ายอย่างถูกต้องตามกฎหมายในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา หลายสิบประเทศในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษ รัฐบาลได้รับเอานโยบายที่จะส่งเสริมให้ผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา

ฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (พีเอ็มไอ) ได้วิจัยและพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ที่อาจมีศักยภาพช่วยลดความเสี่ยงจากการสูบบุหรี่ เรียกว่า RRPs (Reduced-Risk Products) บนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ให้ความร้อนแต่ไม่เกิดการเผาไหม้ในใบยาสูบ (Heat Not Burn Technology) เพื่อให้ผู้ที่ยังมีความต้องการใช้นิโคตินมีทางเลือกที่อาจมีความเสี่ยงน้อยลงกว่ามากเมื่อเทียบกับบุหรี่ปกติ โดยนับตั้งแต่ปี 2551 พีเอ็มไอลงทุนกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีทีมนักวิจัยและวิศวกรกว่า 400 คน ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไร้ควัน พีเอ็มไอได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ไร้ควันนี้แล้วกว่า 25 ประเทศ และปัจจุบันมีผู้ใช้กว่า 2 ล้านคนทั่วโลกที่หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขณะที่องค์การอนามัยโลกเอง

คาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2568 จะยังคงมีผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคน การที่ยังมีคนจำนวนมากยังคงเลือกที่จะสูบบุหรี่ต่อไปนั้น จึงเป็นเหตุผลที่เข้าใจได้ว่าคนเหล่านี้ควรจะมีทางเลือกที่อาจเป็นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ซิกาแรตธรรมดา

นายพงศธรเสริมว่า "พีเอ็มไอประกาศเจตนารมณ์ร่วมสร้างความยั่งยืนโดยเข้าเป็นสมาชิกในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact) เพื่อดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายสากลตั้งแต่ปี 2558 ฟิลลิป มอร์ริส ประเทศไทยมีแผนงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติในอีกหลายส่วน อาทิ การส่งเสริมการปลูกยาสูบอย่างยั่งยืน (Sustainable Tobacco Program) โดยการนำเอาหลักปฏิบัติที่ดีด้านแรงงานเกษตร (Agricultural Labor Practices – ALP) มาใช้ตั้งแต่ปี 2554 เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้แรงงานเด็ก การให้ความรู้ในการใช้สารเคมีในไร่ยาสูบโดยร่วมมือกับบริษัทรับซื้อและส่งออกใบยาเพื่อเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์เคมีเกษตรกว่า 9 แสนชิ้น (10 ตัน) ที่ใช้ในไร่ยาสูบและพืชอื่นๆ จากชาวไร่เพื่อนำไปกำจัดทำลายได้อย่างถูกวิธี โดยโครงการนี้นับเป็นโครงการแรกในภาคเกษตรที่ทำอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ