- ๒๓ พ.ย. มรภ.สงขลา เฟ้นหาผู้ประกอบการ “Smart Start Idea by GSB Startup” “เซรั่มน้ำว่านหางจระเข้” ผลงาน นศ. ไบโอเทค คว้ารางวัลชนะเลิศ
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ซิวแชมป์รอบคัดเลือกระดับภาคใต้ใน “ฮอนด้า ทีบีแอล ยูธ ยู ลีก 2019”
- พ.ย. ๒๕๖๗ สมาคมศิษย์เก่าฯ จัดกิจกรรมวิ่งลอยฟ้า 100 ปี มรภ.สงขลา
มรภ.สงขลา ชวนเยาวชนร่วมอนุรักษ์โขน มรภ.สงขลา จัดแสดงโขนสัมพันธ์ ครั้งที่ 4 ดึงเด็กและเยาวชนร่วมอนุรักษ์ศิลปะชั้นสูง ห่วงวัฒนธรรมต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ ทำคนไทยหลงลืมรากเหง้า ผศ.ไชยวุธ โกศล คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการโขนสัมพันธ์ ครั้งที่ 4 ที่มีนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมกว่า 100 คน เมื่อเร็วๆ นี้ว่า โขนเป็นศิลปะการแสดงที่สืบทอดมายาวนาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานแนวคิดให้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องแต่งกายของโขนให้อลังการขึ้น แต่แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไปพร้อมกับพัฒนาการของโขน สิ่งหนึ่งที่ศิลปินโขนยังคงยึดถือเป็นแบบฉบับมาจนถึงปัจจุบัน คือ คติความเชื่อ ดังนั้น เพื่อเป็นการร่วมกันสืบสานศิลปะประจำชาติให้คงอยู่ คณะศิลปกรรมศาสตร์ซึ่งรับผิดชอบดูแลและจัดการเรียนการสอนในรายวิชาโขน ครอบคลุมไปถึงการอนุรักษ์และสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย จึงเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและอาจารย์ผู้มีความรู้ทางด้านการแสดงโขน มาบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อโขนเจ้าพระยา โดยให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจทั่วไป ได้ลงมือปฏิบัติจริง อันเป็นการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมเกิดความภาคภูมิใจในศิลปะประจำชาติ ผศ.ไชยวุธ กล่าวว่า คนไทยโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ น้อยคนที่จะให้ความสนใจศิลปวัฒนธรรมด้านการแสดง อันเป็นรากเหง้าที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสังคมได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมหลากหลายจากต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามา จึงทำให้โขนวิจิตรนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยกำลังเลือนหายออกจากวิถีแห่งความเป็นไทย ซึ่งโขนเป็นนาฏกรรมชั้นสูงที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นแหล่งรวมศิลปะหลายแขนงเข้าไว้ด้วยกัน คือ ศิลปะการแสดง ศิลปะการต่อสู้ ศิลปะการพากย์ ฯลฯ ถือเป็นวัฒนศิลป์อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย โดยแต่เดิมโขนเป็นเครื่องราชูปโภคของกษัตริย์และสืบทอดมาจากละครในราชสำนัก ลักษณะสำคัญของโขนอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนหมดทุกตัว ยกเว้นตัวพระ ตัวนาง และตัวเทวดา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้มีคนพากย์และเจรจา แสดงเรื่องรามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียว แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาการแสดงให้สอดคล้องกับสภาพสังคมแต่ละยุคสมัย