ความเชื่อมั่นนักธุรกิจกระเตื้องขึ้น หลังส่งออกและการลงทุนภาครัฐฟื้นตัว

พฤหัส ๐๑ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๔:๒๔
ดัชนีธุรกิจกรุงไทยไตรมาส 1/2560 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 สะท้อนเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามแรงหนุนของมาตรการภาครัฐ และการส่งออกที่ฟื้นตัวดีกว่าคาดการณ์ ชี้แนวโน้มความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 2 มีโอกาสทรงตัว จากความกังวลของนักธุรกิจต่ออุปสงค์ในประเทศที่ยังเปราะบาง ค่าเงินผันผวน และความไม่แน่นอนของปัจจัยต่างประเทศ

นายพูลพัฒน์ ศรีเปล่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารความเสี่ยง ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า จากการจัดทำดัชนีธุรกิจกรุงไทย (Krung Thai Business Index: KTBI) ซึ่งธนาคารได้สำรวจความเชื่อมั่นของลูกค้านักธุรกิจกว่า 2,200 รายทั่วประเทศ โดยสำรวจทุกไตรมาสนั้น ปรากฏว่าในไตรมาสที่ผ่านมา ดัชนีเพิ่มขึ้นเหนือระดับปกติ ต่อเนื่องจากไตรมาสสุดท้ายของปีที่ผ่านมา สอดคล้องกับการขยายตัวของ GDP ไตรมาสแรก โดย 4 กลุ่มธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น และอยู่เหนือระดับปกติ ได้แก่ ธุรกิจการเงินและประกันภัย ธุรกิจก่อสร้าง โดยเฉพาะกลุ่มรับเหมาโครงการภาครัฐ ธุรกิจพาณิชยกรรม ได้แก่ธุรกิจขายรถยนต์ในประเทศ ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม ขายปลีกน้ำมันและเชื้อเพลิง ธุรกิจอุตสาหกรรม ประกอบด้วยอุตสาหกรรมเหมืองหิน ทราย ผลิตวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตอาหาร ผลิตยางแผ่น และยางแท่ง โดยธุรกิจเหล่านี้ ส่วนใหญ่ยอดขายเพิ่มขึ้น หรือได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

"หากจำแนกตามภูมิภาค พบว่าความเชื่อมั่นของนักธุรกิจเพิ่มขึ้นใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งได้รับผลบวกจากการเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐมากที่สุด ภาคกลางและภาคตะวันตก ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ปัจจัยบวกมาจากการส่งออกสินค้าและการค้าชายแดนฝั่งตะวันตก โดยการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ น้ำตาล และเครื่องดื่มช่วยหนุนธุรกิจในภูมิภาค ภาคเหนือ ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งได้รับอานิสงค์จากการท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวในเกณฑ์ดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากแรงหนุนของรายได้เกษตรกรที่ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ปลูกอ้อยและยางพารา อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากน้ำท่วมรุนแรงในพื้นที่ภาคใต้ และความซบเซาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ความเชื่อมั่นในภาคตะวันออกและภาคใต้ลดลง"

นายพูลพัฒน์ ศรีเปล่ง กล่าวต่อไปว่า ผลสำรวจยังพบว่านักธุรกิจคาดหวังว่าเศรษฐกิจโดยรวม จะมีแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐ เม็ดเงินพัฒนากลุ่มจังหวัดจากงบกลางปีที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น รวมถึงการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และในเขตเศรษฐกิจ EEC แต่ยังมีความกังวลต่ออุปสงค์ในประเทศที่ยังเปราะบาง ค่าเงินผันผวน ความล่าช้าของการลงทุนภาครัฐ และความไม่แน่นอนของปัจจัยต่างประเทศ สำหรับแนวโน้มความเชื่อมั่นในไตรมาสที่ 2 คาดว่ามีโอกาสทรงตัว แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว เนื่องจากพืชผลสำคัญบางชนิด เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และข้าว ราคาเริ่มปรับลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า การลงทุนภาคเอกชนที่ยังไม่ฟื้นตัวดี รวมทั้งเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ