LUF มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ รุกขยายตลาด “Modern Trade และ AEC”

ศุกร์ ๐๒ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๖:๒๔
บริษัท ลัคกี้ ยูเนี่ยน ฟู้ดส์ จำกัด พร้อมด้วยพนักงานบริษัท ลัคกี้ ยูเนี่ยน ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปแช่แข็งจากเนื้อปลาบดแบรนด์ลัคกี้ (LUCKY) กับสโลแกน "ENRICHING MOMENTS ทุกช่วงเวลามีคุณค่า" มากกว่า 25 ปี มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ รุกขยายตลาด "Modern Trade และ AEC"

นางสาววันทนี แสงอุทัย รองประธานกรรมการ บริษัท ลัคกี้ ยูเนี่ยน ฟู้ดส์ จำกัด กล่าวถึงยอดขายภายในประเทศปี 2559 ที่ผ่านมานั้นว่ายอดขายจากการวางตลาดกลุ่มเป้าหมายอย่าง Food Service, สินค้าภายใต้แบรนด์ LUCKY และกลุ่มสินค้า Modern Trade บริษัทฯ ได้เติบโตตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ประมาณ 35% เมื่อเทียบกับปี 2558 ด้วยปัจจัยการขยายกำลังผลิต และการขยายช่องทางจำหน่ายสินค้าใหม่

ด้านตลาดต่างประเทศในปี 2559 เติบโตจากปี 2558 ประมาณ 20% คือ 1,600 ล้านบาท โดยมีการขยายฐานลูกค้าเก่าทั้งตลาดในยุโรป, อเมริกาและเอเชีย โดยยอดการเติบโตดังกล่าวนี้ไม่รวมยอดขายของบริษัท ลัคกี้ ยูเนี่ยน ฟู้ดส์ – ยูโร ประเทศโปแลนด์

นางสาววันทนี แสงอุทัย รองประธานกรรมการ เปิดเผยถึงทิศทางธุรกิจในปี 2560 ว่า "ตามนโยบายของบริษัทที่จะต้องเติบโตให้ได้ถึงร้อยละ 20 บริษัทฯ ตั้งเป้าสำหรับปี 2560 อยู่ที่ 1,000 ล้านบาท สำหรับตลาดในประเทศ โดยเน้นดำเนินการขยายตลาดให้กว้างขึ้น มุ่งเน้นสร้างการรับรู้ เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์และหาซื้อสินค้าได้สะดวกมากขึ้น ทางบริษัทฯวางเป้าจัดจำหน่ายสินค้า Food Service 50% และ Modern Trade เพิ่มมากขึ้นจากเดิม 50% ในส่วนของ Modern Trade นั้น เรามีแผนนำสินค้าเข้าหลายชนิดมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์การทานอาหารของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

ด้านตลาดในต่างประเทศนั้น บริษัทฯ ตั้งเป้าเติบโต 15% หรือประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยเราจะมุ่งเน้นเจาะตลาดใหม่ๆ อย่างกลุ่มประเทศ AEC เป็นต้น "การเปิดตลาด AEC นั้น เป็นผลดีกับบริษัทฯ ซึ่งกลุ่มประเทศ AEC ได้แก่กัมพูชา พม่า สปป.ลาว ฯลฯ ในการขยายตลาด AEC เราก็เชื่อว่าเราจะเติบโตได้ เพราะคนอาเซียนเชื่อมั่นในอาหารที่ผลิตในประเทศไทย อีกทั้งบริษัทฯ ยังมีกลยุทธ์ในการขยายฐานลูกค้าเก่าทั้งตลาดในยุโรป, อเมริกาและเอเชีย ด้วยการเน้นคุณภาพสินค้าที่สม่ำเสมอ มีการเลือกใช้วัตถุดิบอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบของยุโรป และอเมริกาจากแหล่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ส่วนในเรื่องของ IUU ที่ทางประเทศไทยจัดอยู่ในระดับ Tier 2 นั่นทางบริษัทฯ ไม่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เนื่องด้วยทางบริษัทฯมีการจัดการด้วยระบบการจัดการของกรมประมง Catch Certificate ทำให้เราคัดสรรสินค้าที่ดีมีคุณภาพได้โดยตลอด อีกทั้งในส่วนของเรื่องคนบนเรือกับคนทำงานท่วไปนั่นที่ทางภาครัฐมีข้อกำหนดทางบริษัทฯมีระบบจัดการรองรับ โดยทางเรามีรูปแบบการดำเนินงานภายใต้ Thai Union Group โดยเน้นประเด็นเรื่องแรงงาน SMETA ไปกับระบบการตรวจประเมินผู้จัดจำหน่ายด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ