ไทย-ญี่ปุ่น เร่งเดินหน้าศึกษาความเป็นไปได้โครงการคลองผันน้ำอยุธยา-อ่าวไทย และถนนวงแหวนรอบที่ 3 หวังสร้างโมเดลเผนรับมืออุทกภัยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืน พร้อมเยี่ยมชมระบบถนนเชื่อมคลองผันน้ำลดผลกระทบน้ำท่วมของญี่ปุ่น

อังคาร ๐๖ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๒:๔๖
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับนายเคอิฉิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (H.E. Mr. Keiichi ISHII, Minister of Land, Infrastructure, Transport and Tourism: MLIT) ณ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น ว่า ทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องร่วมกันในการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำที่มีกันอยู่แล้วให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า ที่ได้ให้การสนับสนุนทางวิชาการกับประเทศไทยในการดำเนินโครงการทบทวนแผนแม่บทการป้องกันบรรเทาอุทุกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืน เมื่อปี 2555 - 2556 โดยมีการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการบรรเทาและป้องกันอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จนเสนอให้มีการพัฒนาคลองผันน้ำควบคู่กับถนนวงแหวน รอบที่ 3 เพื่อช่วยในการระบายน้ำหลากบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาลงสู่อ่าวไทย คาดว่าจะมีระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยลดระดับน้ำ 2 แห่ง คือ ลำน้ำเจ้าพระยา จากอยุธยาถึงกรุงเทพฯ และแม่น้ำป่าสักในช่วงปลายน้ำ ที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการพังทลายของคันกั้นน้ำตลอดแนวของพื้นที่คุ้มกัน โดยมี 2 ทางเลือกในการก่อสร้าง คือ (1) คลองผันน้ำ ขนาด 500 ลูกบาศก์เมตร/วินาที หรือ (2) คลองผันน้ำขนาด 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที

สำหรับประโยชน์ของโครงการพัฒนาคลองผันน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่ 3 ทำให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างงานโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม กับการบริหารจัดการน้ำของไทยได้อย่างเป็นระบบ เนื่องจากระบบการระบายน้ำบริเวณลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำหลากปริมาณมากได้ การก่อสร้างคันป้องกันน้ำท่วมที่ผ่านมาก็ไม่มีความแข็งแรงเพียงพอเห็นได้นำชัดเจนจากอุทกภัยเมื่อปี 2554 ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีโครงการที่เน้นการบริหารจัดการน้ำที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างบูรณาการ โดยใช้คลองผันน้ำเพื่อนำน้ำออกทะเลโดยตรง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการศึกษาจำเป็นต้องพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสีย ข้อจำกัด และผลกระทบต่างๆ อย่างรอบด้าน รวมถึงเสนอแนะรูปแบบการพัฒนาที่มีความเหมาะสมที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในทุกๆ ด้านอย่างแท้จริง

"ความร่วมมือการพัฒนาระบบชลประทานผ่านมาทั้งสองกระทรวงมีความร่วมมือระหว่างกันในหลายๆ โครงการ อาทิ การศึกษาทบทวนแผนแม่บทการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา การให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างประตูระบายน้ำกระมังและหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา และล่าสุดในปี 2560 – 2561 ได้เข้ามาช่วยในการศึกษาโครงการพัฒนาคลองผันน้ำควบคู่กับถนนวงแหวนรอบที่ 3 ซึ่งการเดินทางเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ได้ถือโอกาสขอบคุณทางกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น และไจก้า อย่างเป็นทางการทั้งความร่วมมือทางวิชาการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และจัดให้ศึกษาดูงานระบบชลประทานที่จังหวัดไซตามะ ถือเป็นรูปแบบโมเดลการสร้างถนนควบคู่กับทางระบายน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศญี่ปุ่นที่จะช่วยพัฒนาระบบระบบชลประทานของไทยต่อไปในอนาคตด้วย " พลอกฉัตรชัย กล่าว

ด้านนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าล่าสุดขณะนี้ กรมชลประทานได้ร่วมกับกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ดำเนินการศึกษาโครงการคลองผันน้ำร่วมกับถนนวงแวนรอบที่ 3 เพิ่มเติมจากผลการศึกษาเดิมของไจก้า พร้อมทั้งได้ประชุมหารือกับกรมทางหลวง พิจารณากรอบความช่วยเหลือและขอบเขตการศึกษา เพื่อจัดทำข้อเสนอขอรับความช่วยเหลือจากไจก้า โดยไจก้าได้เสนอที่จะช่วยเหลือในด้านข้อมูลการสำรวจความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งขณะนี้กรมชลประทานได้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมด้านวิชาการโครงการดังกล่าว ประกอบด้วยหน่วยงานจากกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทางหลวง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมเป็นคณะทำงานฯ เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับทีมสำรวจของไจก้า โดยจะเริ่มดำเนินงานตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ถึง กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มร่างแผนความเป็นไปได้ของโครงการในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย.นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version