บลจ.กสิกรไทย เผยมุมมองการลงทุนตราสารหนี้ไทยยังน่าสนใจ พร้อมชูกองทุนแนะนำ ให้เลือกลงทุนทั้งช่วงระยะสั้น-กลาง-ยาว

พฤหัส ๐๘ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๑:๓๑
นายชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ รองกรรมการผู้จัดการและประธานบริหารการลงทุนตราสารหนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ. กสิกรไทย) เปิดเผยว่าในช่วงที่ผ่านมาหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมปี 2559 ตลาดตราสารหนี้ได้รับแรงกดดันจากทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ส่งผลให้ผลตอบแทนค่อนข้างมีความผันผวนโดยเฉพาะในตราสารระยะยาว โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาวอายุตั้งแต่ 5-10 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของไทยปรับตัวขึ้นสอดคล้องกัน และกดดันราคาพันธบัตรให้ปรับตัวลดลง ส่วนตราสารหนี้ระยะสั้นของไทยไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีปัจจัยภายในประเทศจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดวงเงินประมูลพันธบัตรระยะสั้นเพื่อลดช่องทางการใช้เป็นที่พักเงินของผู้ลงทุนต่างชาติ ขณะที่ยังมีแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลไทยระยะสั้นอายุตั้งแต่ 3 - 6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้น

"ส่วนภาวะตลาดตราสารหนี้ไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 แม้ว่าธนาคารกลางของสหรัฐฯ(FED) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยปรับขึ้น 0.25% และล่าสุดคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.25% ในการประชุม FOMC ที่จะถึงในวันที่ 13-14 มิถุนายนนี้ แต่ตราสารหนี้ไทยได้รับผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเมื่อช่วงปลายปี 2559 โดยแนวโน้มอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยที่มีอายุ 1-20 ปี ปรับตัวลดลงเพียง 0.05-0.20% เนื่องจากประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะยาวของผู้แทน FED (longer run dot plot) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงดำเนินไปอย่างช้าๆ และอัตราการเติบโตของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ในระดับต่ำ ทำให้สภาพคล่องในระบบยังคงอยู่สูง และเศรษฐกิจไทยยังมีสถานะเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดพันธบัตรของไทยยังเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ โดยตั้งแต่ต้นปีถึง ณ เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีเงินลงทุนสุทธิจากนักลงทุนกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 9 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยไทยอยู่ที่ระดับ1.50% ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองในหลายประเทศ ทำให้นักลงทุนส่วนหนึ่งยังคงต้องการเข้าลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยและกระจายลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำอย่างตราสารหนี้ ซึ่งเหล่านี้จะเป็นปัจจัยบวกทำให้ราคาตราสารหนี้ไทยยังอยู่ในทิศทางที่ดีและมีความน่าสนใจลงทุน" นายชัชชัยกล่าว

นายชัชชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกลยุทธ์การลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง กองทุนตราสารหนี้ของบลจ.กสิกรไทยจะเน้นการปรับอายุเฉลี่ยของตราสารที่ลงทุน ให้สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาด และมีการจับจังหวะการลงทุนเพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น โดยบลจ.กสิกรไทยมีกองทุนตราสารหนี้ให้เลือกหลากหลายตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมและระยะเวลาที่ต้องการลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สำหรับผู้ลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยมากและต้องการพักเงินในช่วงระยะสั้นประมาณ 1-2 เดือน อาจเลือกลงทุนในกลุ่มกองทุนตลาดเงินหรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น อาทิ กองทุน K-MONEY และกองทุน K-SF ซึ่งทั้ง 2 กองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนในเงินฝากและตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยจะลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 30% และ 50% ตามลำดับ ส่วนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 1.00% และ 1.30% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค. 60)

สำหรับผู้ที่สามารถลงทุนได้ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป บลจ.กสิกรไทยแนะนำกองทุน K-PLAN 1 ซึ่งมีนโยบายลงทุนในเงินฝาก รวมถึงตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยจะลงทุนในต่างประเทศได้ไม่เกิน 20% ทั้งนี้กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 1.50% และกองทุนยังได้รับการจัดอันดับ 4 ดาวจากมอร์นิ่งสตาร์ ส่วนผู้ลงทุนที่สามารถลงทุนได้ในระยะกลางถึงยาวตั้งแต่ช่วง 1-3 ปี และสามารถรับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น ก็สามารถเลือกลงทุนกับกองทุน K-FIXED ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ไทยทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 1.46% ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปีอยู่ที่ 3.11% ต่อปี นอกจากนี้กองทุน K-FIXED ยังได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวจากมอร์นิ่งสตาร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พ.ค. 60) และได้รับรางวัลกองทุนตราสารหนี้ยอดเยี่ยมถึง 3 ปีซ้อน จาก Morningstar Thailand Fund Awards 2015 -2017

นอกจากนี้เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการล็อกโอกาสรับผลตอบแทนที่แน่นอน อาจเลือกลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศประเภทที่มีกำหนดอายุโครงการ (Term Fund) ซึ่งบลจ.กสิกรไทยได้เปิดเสนอขายเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยกองทุนที่เปิดเสนอขายในระหว่างวันที่ 6 – 12 มิถุนายน 2560 ประกอบด้วย 2 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ต่างประเทศ 6 เดือน ดีเจ (KFF6MDJ) ประมาณการผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนคาดว่าจะได้รับที่ 1.50% ต่อปี และกองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ต่างประเทศ 1 ปี ซีแซท (KFF1YCZ) ประมาณการผลตอบแทนที่ผู้ถือหน่วยลงทุนคาดว่าจะได้รับที่ 1.70% ต่อปี โดยทั้ง 2 กองทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนในเงินฝากและบัตรเงินฝากของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินในต่างประเทศ และกองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน

สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกับกองทุนตราสารหนี้ของบลจ.กสิกรไทย สามารถลงทุนเริ่มต้นเพียง 500 บาท โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและขอรับหนังสือชี้ชวนเสนอขายได้ที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา หรือสอบถาม KAsset Contact Center 0 2673 3888

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION