รองเลขาฯสพฉ. เผย UCEP เริ่มเข้าที่ มีปัญหาน้อยกว่าที่คาด แนะ ประชาชนขอผลตรวจประเมินเป็นหลักฐาน หากรพ.ยืนยันไม่เข้าเกณฑ์

ศุกร์ ๐๙ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๐๙:๔๖
รองเลขาฯสพฉ. เผย UCEP เริ่มเข้าที่ มีปัญหาน้อยกว่าที่คาด แนะ ประชาชนขอผลตรวจประเมินเป็นหลักฐาน หากรพ.ยืนยันไม่เข้าเกณฑ์ใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ และเมื่อใช้สิทธิแล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ครบ 72 ชม. ยึดความเห็นแพทย์เป็นหลัก ไม่เช่นนั้นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) กล่าวถึงสถิติการประสานงาน ของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ศูนย์นเรนทร สพฉ. ประจำเดือนพฤษภาคม 2560 มีจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินตามนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP) 72 ชั่วโมง" สะสม 2,841 คน เข้าเกณฑ์ 1,132 คน ไม่เข้าเกณฑ์ 1,709 คน ในจำนวนที่เข้าเกณฑ์ แบ่งเป็น เข้าเกณฑ์สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 744 คน สิทธิประกันสังคม 126 คน สิทธิข้าราชการ 209 คน และสิทธิกองทุนอื่นๆ 52 คน ขณะที่เรื่องร้องเรียน สะสมมีจำนวน 3 ราย ร้องเรียนทางโทรศัพท์ 1 ราย ทางอีเมล์ 2 ราย โดยในเดือนพฤษภาคมมีการคอนเฟอเรนซ์ 3 สาย ปรึกษาแพทย์เวรสพฉ.จำนวน 16 กรณี

นพ.ภูมินทร์ ยังกล่าวถึงภาพรวมการใช้สิทธิ UCEP ว่า ดีกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะการประสานงานระหว่าง ฝ่ายต่างๆ สำหรับปัญหาอุปสรรคที่ยังมีอยู่นั้นพบว่ามีความไม่เข้าใจกันระหว่างโรงพยาบาลเอกชน และประชาชน ในประเด็นว่าเข้าเงื่อนไขที่จะใช้สิทธิได้หรือไม่ อีกทั้งเกิดแง่มุมของการพิจารณาขึ้นใหม่ที่ยังไม่อยู่ในกรอบของการ ประเมินมาก่อน เช่น การที่ผู้ป่วยเรียกรถฉุกเฉินจากโรงพยาบาลเอกชนไปรับที่บ้าน หรือ การที่ผู้ป่วยมีอาการ เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต เดินทางไปพบแพทย์ โดยผ่านโรงพยาบาลรัฐ แต่ไม่รักษา และไปรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ที่อยู่ในระยะทางที่ไกลกว่าแทน

นพ.ภูมินทร์ กล่าวว่า ฝากถึงประชาชนว่าหากพบผู้ป่วย หรือ รู้สึกว่าตนเองเจ็บป่วย ถ้าไม่แน่ใจว่าเข้าข่ายวิกฤติ ฉุกเฉินหรือไม่ ให้ไปรักษาที่โรงพยาบาลที่ใกล้ก่อน เมื่อเข้าไปในห้องฉุกเฉินแล้วโรงพยาบาลก็จะประเมินอาการ ตามโปรแกรม ว่าเข้าข่ายที่จะใช้สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินมีสิทธิทุกที่ 72 ชั่วโมงหรือไม่ ในกรณีที่โรงพยาบาลบอกว่า ไม่เข้าข่าย ให้ผู้ป่วยขอผลตรวจประเมินด้วย เพื่อที่จะได้การันตีว่าได้เข้าระบบประเมินแล้ว เพราะส่วนใหญ่ที่มี การร้องเรียน คือ โรงพยาบาลไม่เข้าระบบ ไม่คีย์ข้อมูลให้ผู้ป่วย บอกแต่เพียงว่าไม่เข้าข่ายที่จะสามารถใช้สิทธิได้ ขณะเดียวกันหากโรงพยาบาลรักษาผู้ป่วยตามสิทธิแล้ว แพทย์เจ้าของไข้ลงความเห็นว่าพ้นวิกฤต และสามารถ ย้ายไปโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้อย่างปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ครบ 72 ชั่วโมง แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ขอย้าย ไปรักษาตามสิทธิ จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ