Tech Plan Demo Day in Thailand 2017

ศุกร์ ๐๙ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๐:๓๙
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ได้รับเกียรติให้ร่วมเป็นกรรมการคัดเลือก Startup ด้านชีววิทยาศาสตร์ ในงาน Tech Plan Demo Day in Thailand 2017 โดยได้รับเชิญจากบริษัท Leave a Nest ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นองค์กรที่มองหาความร่วมมือในการสร้างสรรค์ธุรกิจจากผลงานนวัตกรรม ทั้งยังเป็น Science communicator และ Startup Accelerator จากประเทศญี่ปุ่น

โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบรางวัล "TCELS Award" ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ Startup ในงานนี้ด้วย

ผู้ที่ได้รับรางวัล "TCELS Award" ได้แก่ อาจารย์เกียรติทวี ชูวงศ์โกมล จากภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงาน Future Drugs for Pets และรางวัลพิเศษ มอบสิทธิเข้าร่วมอบรม TCELS Acceleration program ได้แก่ คณะทำงานอาจารย์รินา ภัทรมานนท์ จากภาควิชาชีวเคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลงาน Health CAL ภายในงาน TCELS ได้ร่วมออกบูธ นำเสนอกลไก สนับสนุน Startup Thailand โดยมี ดร. ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ ได้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมอาคารสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ