ดาว ประเทศไทย จัดอบรมครูวิทย์ทั่วประเทศเป็นครั้งแรก เน้นการทดลองในห้องเรียนที่ใช้สารเคมีน้อยและปลอดภัย

ศุกร์ ๑๖ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๖:๐๖
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย นำโดย นางภรณี กองอมรภิญโญ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ร่วมกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยในพระอุปถัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จัดการอบรมปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน รุ่นที่ 4 ภายใต้โครงการ "ห้องเรียนเคมีดาว" ให้กับครูวิทยาศาสตร์จาก 100 โรงเรียน 29 จังหวัด จำนวน 180 คน และเป็นรุ่นแรกที่มีครูจากทั่วประเทศเข้ารับการอบรม ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเร็วๆ นี้

การอบรมปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน รุ่นที่ 4 นี้ ถือเป็นการขยายเครือข่ายโครงการไปยังครูผู้สอนวิชาเคมีทั่วประเทศเป็นครั้งแรก โดยมุ่งส่งเสริมการนำเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนมาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียนระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสทำการทดลองวิทยาศาสตร์ที่ปลอดภัยและใช้สารเคมีปริมาณน้อยด้วยตัวเอง ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ เราได้รับการสนับสนุนจากครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบ โครงการ "ห้องเรียนเคมีดาว" รุ่นที่ 1-3 จำนวน 21 คน มาเป็นผู้ร่วมถ่ายทอดความรู้และแบ่งปันประสบการณ์การเรียนการสอนด้วยเทคนิคดังกล่าวนี้ด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ