มรภ.สงขลา เจ้าภาพสัมมนาเครือข่าย “วจก.” ราชภัฏภาคใต้ ผนึกความร่วมมือ 5 สถาบัน-สร้างความแข็งแกร่งทางวิชาชีพ

อังคาร ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๐๙:๓๕
มรภ.สงขลา เปิดบ้านจัดสัมมนาเครือข่ายคณะ วจก. มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ ครั้งที่ 7 สร้างพันธมิตรทางการศึกษา ฟากอธิการฯ"ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม" แนะต่อยอดแลกเปลี่ยนนวัตกรรม งานวิจัยใหม่ๆ ร่วมสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาชีพ

ผศ.นิตยา จิตรักษ์ธรรม คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการเป็นเจ้าภาพจัดสัมมนาเครือข่ายบุคลากรเพื่อพัฒนาการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ วจก.5+2 ครั้งที่ 7 ณ โรงแรมบีพีสมิหลาบีช แอนด์ รีสอร์ท จ.สงขลา เมื่อเร็วๆ นี้ว่า มีอาจารย์และบุคลากรของคณะวิทยาการจัดการ จาก 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้ ได้แก่ มรภ.สงขลา มรภ.ยะลา มรภ.นครศรีธรรมราช มรภ.สุราษฎร์ธานี และ มรภ.ภูเก็ต ส่วน + 2 คือคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มรภ.นครศรีธรรมราช และ มรภ.สงขลา เข้าร่วม 255 คน โดยมีผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดี มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมปาฐกถาพิเศษ นวัตกรรมสหกิจศึกษาในยุค 4.0 ซึ่งการสัมมนาเครือข่าย วจก. จัดมาอย่างต่อเนื่อง โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของอาจารย์และบุคลากร ผ่านการฟังบรรยายจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถของแต่ละมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ งานหลักสูตร งานสหกิจศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การวิจัย การพัฒนานักศึกษา การบริหารงานสำนักงาน ตลอดจนสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ ตลอดจนช่วยให้บุคลากรทั้ง 5มหาวิทยาลัย ได้พบปะสังสรรค์ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อันจะส่งผลดีต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ และยังเป็นการสร้างพันธมิตรที่เข้มแข็งทางการศึกษาของ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้อีกด้วย

ด้าน ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดี มรภ.สงขลา กล่าวว่า ขอแสดงความชื่นชมที่เครือข่าย วจก. มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้มีความเข้มแข็ง ซึ่งหากสามารถจับมือกันไว้อย่างเหนียวแน่น และมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ย่อมทำให้วิชาชีพแขนงนี้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ตนเชื่อว่าในปีถัดๆ ไป มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมจะนำเอานวัตกรรมการเรียนรู้และผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่น่าสนใจ มานำเสนอในที่ประชุม เนื่องจากแต่ละแห่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอยู่เป็นจำนวนมากมาก แต่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถดึงศักยภาพเหล่านั้นออกมาได้ และทำอย่างไรให้การเรียนรู้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งในมุมมองของตนการจัดการเรียนการสอนให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด ควรมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติด้วยจึงจะสมบูรณ์ ฟังดูเหมือนจะเป็นการเพิ่มภาระให้อาจารย์ แต่หากเราทำงานโดยไม่มองว่าสิ่งที่ทำนั้นคือภาระ เราจะรู้สึกเป็นสุขและสบายใจ อยากให้การสอนหนังสือเป็นเรื่องสนุกและมีความสุข เช่นเดียวกับเวลาที่เล่นกีฬาแล้วรู้สึกสนุกไปกับมัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ