ผลการวิจัยล่าสุดเผยให้เห็นว่า คนที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงมักสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านได้ดีกว่าคนไม่เลี้ยงสัตว์ โดยพวกเขาจะมีต้นทุนทางสังคมที่ดีกว่าทั้งในเรื่องของความโอบอ้อมอารี ความเป็นมิตร และการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับเพื่อนบ้าน ผลวิจัยดังกล่าวได้เพิ่มน้ำหนักความน่าเชื่อถือให้กับคำกล่าวที่ว่า การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงจะสร้างคุณค่าและคุณประโยชน์ให้กับชุมชนและคนบ้านใกล้เรือนเคียง
http://mma.prnewswire.com/media/518485/Mars_Petcare_community.jpg
ดร. ลิซา วู้ด ผู้นำการวิจัยเปิดเผยว่า "แนวคิดที่ว่าสัตว์เลี้ยงคือ 'กาวใจ' ที่ช่วยให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันได้ หรือเป็น 'ต้นทุนทางสังคม' นั้น ได้แสดงให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงมีบทบาทมากกว่าการเป็นตัวช่วยละลายพฤติกรรมให้กับคนในสังคม ดังนั้น เราจึงมีความสนใจที่จะขยายงานวิจัยออกไปเพื่อหาคำตอบว่า สัตว์เลี้ยงก็สามารถส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมและสร้างความสัมพันธ์ที่ช่วยยึดเหนี่ยวคนในชุมชนให้อยู่ร่วมกันได้"
ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร SSM-Population Health นั้น เป็นงานวิจัยที่จัดทำขึ้นร่วมกับสถาบันวิจัยโภชนาการสัตว์เลี้ยงวอลแธม ในเครือมาร์ส เพ็ทแคร์ โดยมี ดร.ลิซา วู้ด แห่งสถาบันประชากรและสาธารณสุขโลก เป็นผู้นำทีมวิจัย โดยคณะนักวิจัยได้ทำการสำรวจคนที่เลี้ยงสัตว์และที่ไม่ได้เลี้ยงจำนวนทั้งสิ้น 2,500 คน ใน 3 เมืองใหญ่ของสหรัฐ (ซานดิเอโก พอร์ตแลนด์ และแนชวิลล์) และอีก 1 เมืองในออสเตรเลีย (เพิร์ท) ด้วยการวัดต้นทุนทางสังคมในหลายมิติ ได้แก่ ความโอบอ้อมอารี ความเป็นมิตร ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการเข้าสังคม งานวิจัยดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่ได้วิเคราะห์ผลกระทบของต้นทุนทางสังคมจากสัตว์เลี้ยงในสองประเทศ โดยผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 เมืองมีความสอดคล้องกัน ซึ่งพบว่า คนที่เลี้ยงสัตว์จะสามารถสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีด้วยต้นทุนทางสังคมที่สูงกว่าคนไม่เลี้ยงสัตว์
"การที่เราพบว่าคนที่พาสุนัขออกไปเดินเล่นมักมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีกว่านั้น อาจเกี่ยวโยงกับประโยชน์ของการพาสุนัขออกไปเดินเพื่อตรวจตรารอบชุมชน ซึ่งทำให้ผู้คนรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น" ดร. ลิซา วู้ด กล่าว "นอกจากนี้ โดยส่วนใหญ่แล้ว สัตว์เลี้ยงจะช่วยให้การพบปะกันครั้งแรกของเพื่อนบ้านเป็นไปด้วยดี และสัตว์เลี้ยงก็มักเป็นหัวข้อการสนทนาข้ามรั้วบ้านอีกด้วย"
"การเลี้ยงสัตว์ช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพดีขึ้น อีกทั้งนำมาซึ่งประโยชน์ทางสังคม ในปัจจุบันมีกระแสเรียกร้องเพิ่มขึ้นให้พิจารณาถึงประโยชน์ทางสังคมของสัตว์เลี้ยงอย่างจริงจัง" ซานดร้า เมคคูเน ผู้นำงานวิจัยว่าด้วยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์ (HAI) ของสถาบันวอลแธม กล่าว "ผลวิจัยครั้งนี้ช่วยสนับสนุนหัวข้อการศึกษาดังกล่าว อีกทั้งช่วยส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเมือง ชุมชน และที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะการสร้างสวนสาธารณะและพื้นที่เปิดสำหรับพาสุนัขเดินเล่น ซึ่งถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้สัตว์เลี้ยงมีความเป็นอยู่ที่ดี และทำให้ผู้คนได้สัมผัสถึงประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์อย่างแท้จริง"
เกี่ยวกับสถาบันวิจัยโภชนาการสัตว์เลี้ยงวอลแธม
สถาบันวิจัยโภชนาการสัตว์เลี้ยงวอลแธม เป็นหน่วยงานวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในเครือมาร์ส เพ็ทแคร์ ซึ่งมุ่งเน้นด้านโภชนาการและสุขภาพของสุนัข แมว ม้า นก และปลา รวมถึงคุณประโยชน์ของสัตว์เลี้ยงที่มีต่อมนุษย์ สถาบันวิจัยแห่งนี้ตั้งอยู่ในมณฑลเลสเตอร์เชียร์ ประเทศอังกฤษ และใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อันทันสมัยเพื่อตอบสนองความต้องการของสัตว์เลี้ยงอย่างแท้จริง ทางสถาบันเพิ่งฉลองครบรอบ 50 ปี แห่งการบุกเบิกนวัตกรรมสำคัญๆด้านโภชนาการสัตว์เลี้ยง รวมถึงเผยแพร่ผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการพิจารณาและยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญกว่า 600 ฉบับ ปัจจุบัน วอลแธมยังคงร่วมงานกับบรรดาสถาบันวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลกเพื่อขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ของมาร์ส เพ็ทแคร์ ในการสร้างสรรค์โลกที่ดีกว่าสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมทั้งมอบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับตราสินค้าต่างๆของมาร์ส เพ็ทแคร์ อาทิ PEDIGREE(R), WHISKAS(R), ROYAL CANIN(R), BANFIELD Pet Hospital, IAMS(R), CESAR(R), NUTRO(R), SHEBA(R), DREAMIES(R) และ EUKANUBA(R) http://www.waltham.com www.mars-petcare.com
ที่มา: มาร์ส เพ็ทแคร์