โดย ผู้บกพร่องทางการได้ยิน เมื่อเจ็บป่วยฉุกเฉิน จะสามารถใช้แอพลิเคชั่น หรือสื่อสารผ่านตู้ TTRS ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 120 ตู้ ทั่วประเทศ ทั้งในสถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า และสถานีขนส่งมวลชน เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน จากนั้นผู้ป่วยฉุกเฉินจะสามารถโดยใช้ภาษามือสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ผ่านวิดีโอคอลได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีการประสานงานต่อมายังศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 ของแต่ละจังหวัด เพื่อซักประวัติอาการ และระบุตำแหน่งที่เกิดเหตุ รวมไปถึงการให้คำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนส่งจัดส่งทีมผู้ปฎิบัติการทางการแพทย์ฉุกเฉินไปให้ความช่วยเหลือ ซึ่งการสื่อสารกับผู้ป่วยสามารถทำได้ 3 แนวทาง คือ บทสนทนาข้อความ วิดิโอคลิป และ วิดีโอคอลสดๆ ซึ่งจะมีการวิดีโอคอนเฟอร์เรนท์ 3 สายระหว่างผู้ป่วย ล่าม และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการด้วย
นอกจากนี้เพื่อการให้บริการที่รวดเร็ว ทันท่วงที สพฉ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังได้จัดอบรมการติดตั้งและใช้งานระบบโทรศัพท์วีดีโอผ่านบริการการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนหูหนวก ให้กับเจ้าหน้าที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการทางการแพทย์ เพื่อรองรับการให้บริการ ซึ่งปัจจุบันมี 19 จังหวัดที่รองรับการให้บริการดังกล่าว คือ จังหวัดพิษณุโลก อุบลราชธานี สมุทรปราการ นนทบุรี สุราษฎร์ธานี สมุทรสาคร เชียงราย ภูเก็ต ชลบุรี สมุทรสาคร ระยอง ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู เชียงใหม่ สงขลา นครพนม กรุงเทพมหานคร และในอนาคตจะพัฒนาให้ครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง
รอ.นพ.อัจฉริยะ ยังกล่าวย้ำว่า ผู้บกพร่องทางการได้ยินสามารถติดต่อผ่านล่ามภาษามือได้ทาง เว็บไซต์ www.ttrs.in.th หรือสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น TTRS Video ได้ทั้งระบบ ios และแอนดรอย ซึ่งหากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง