ความง่ายของผู้ช่วยอัจฉริยะสั่งการด้วยเสียง ดึงผู้บริโภคสู่จุดเปลี่ยนสำคัญทางเทคโนโลยี

พุธ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๖:๒๘
ผู้ใช้สมาร์ทโฟนเกือบร้อยละ 40 ทั่วโลก และร้อยละ 64 ในจีน ตื่นเต้นกับโลกอนาคตที่ผู้ช่วยอัจฉริยะผ่านระบบสั่งการด้วยเสียง สามารถคาดเดาสิ่งที่พวกเขาต้องการและช่วยเสนอแนะได้

ยุคของเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาที่จะมีวิธีการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และผลการวิจัยทั่วโลกโดยเอเยนซีในเครือดับบลิวพีพี ได้แก่ เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน, มายด์แชร์ และ กันตาร์ ยังพบว่าผู้บริโภคในโลกอันเร่งรีบของประเทศเศรษฐกิจในเอเชีย กำลังรับบทเป็นทัพหน้าในการเปิดรับเทคโนโลยีนี้

รายงานฉบับใหม่ที่ชื่อ "สปีค อีซี่" (Speak Easy) ซึ่ง เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน อินโนเวชั่น กรุ๊ป และ มายด์แชร์ ฟิวเจอร์ส ร่วมกันจัดทำขึ้น เปิดเผยว่าร้อยละ 45 ของกลุ่มผู้ใช้ทั่วโลกที่ใช้เทคโนโลยีเสียงพูดอยู่เป็นประจำบอกว่า พวกเขาเลือกใช้เทคโนโลยีนี้เพราะมีความรวดเร็วกว่า และร้อยละ 71 รู้สึกว่าในปัจจุบันการพูดกับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ

พัฒนาการทางด้านการจดจำเสียงพูดและการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing – NLP) ทำให้ในทุกวันนี้เราสามารถพูดคุยกับคอมพิวเตอร์ได้ในแบบที่เมื่อสองสามปีก่อน ยังคงถูกมองเป็นนิยายวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบันนี้ อัตราข้อผิดพลาดในการจดจำเสียงพูดได้พัฒนาขึ้นสู่ระดับที่ใกล้เคียงกับมนุษย์เป็นครั้งแรก Ovum ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการวิจัยเทคโนโลยี ประเมินว่าภายในปี 2564 อุปกรณ์ที่เปิดใช้งานและมีผู้ช่วยดิจิทัลติดตั้งไว้โดยกำเนิดจะมีจำนวนมากกว่า 7,500 ล้านเครื่อง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งเครื่องต่อคนเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรโลก

เทคโนโลยีเสียงพูดไม่เพียงจะทำให้ชีวิตของเราง่ายยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังจะนำมาซึ่งความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างผู้คนกับแบรนด์ที่พวกเขาชื่นชอบอย่างมีความหมายมากยิ่งขึ้น

เอเยนซีในเครือดับบลิวพีพีได้ทำงานร่วมกับ Neuro-Insight ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยตลาดเชิงประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) เพื่อศึกษาการตอบสนองของสมองต่อเสียงพูดเมื่อเปรียบเทียบกับการแตะหรือการพิมพ์ และพบผลที่มีความคงที่ว่าปฏิสัมพันธ์ทางเสียงจะมีระดับการทำงานของสมองน้อยกว่าการแตะเพื่อทำในสิ่งเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าการตอบสนองต่อเสียงเป็นภาระแก่สมองน้อยกว่าการทำสิ่งเดียวกันผ่านหน้าจอ

ในขณะเดียวกัน การศึกษาดังกล่าวยังพบว่าเมื่อคนเราถามคำถามที่มีชื่อแบรนด์อยู่ด้วย การทำงานของสมองของพวกเขามีการตอบสนองทางอารมณ์เด่นชัดกว่า เมื่อเปรียบเทียบผลกับผู้ที่พิมพ์คำถามเกี่ยวกับแบรนด์ซึ่งเป็นคำถามเดียวกัน ดังนั้นการพูดชื่อแบรนด์จึงดูเหมือนจะทำให้ความเชื่อมโยงทางอารมณ์ที่มีอยู่เดิมแล้วนั้นจะยิ่งมีผลขึ้นมากกว่าการพิมพ์

นอกจากนี้ ความง่ายของปฏิสัมพันธ์ทางเสียงยังมีส่วนสำคัญอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ใช้ภาษาระบบอักขระ (character-based language) โดยเราพบว่าร้อยละ 51 ของกลุ่มผู้ใช้ในประเทศจีน และร้อยละ 57 ของกลุ่มผู้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นที่ใช้เทคโนโลยีเสียงพูดอยู่เป็นประจำ เลือกใช้เสียงพูดสั่งงานเพราะว่าทำให้พวกเขาไม่ต้องพิมพ์

เอลิซาเบธ เชอเรียน ผู้อำนวยการ เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน อินโนเวชั่น กรุ๊ป ประจำสหราชอาณาจักร กล่าวว่า "เทคโนโลยีเสียงพูดเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก เพราะมันสามารถซุกตัวอยู่ตรงมุมใดมุมหนึ่งในห้องครัวของคุณในร่างของลำโพงอัจฉริยะ หรืออาจฝังตัวอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่คุณต้องใช้อยู่เป็นปกติอยู่แล้ว เช่น รถยนต์ พร้อมกับคอยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างสม่ำเสมอในฐานะ "ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล" (Digital Butlers) ที่จะคอยรับคำสั่งของคุณ จึงไม่น่าแปลกใจว่าร้อยละ 87 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกเห็นด้วยว่า "เมื่อเทคโนโลยีเสียงพูดทำงานได้ดีตามที่ควรจะเป็น มันจะช่วยให้ชีวิตของฉันง่ายขึ้นอย่างมาก" เมื่อพัฒนาการทางด้านปัญญาประดิษฐ์ให้ความแม่นยำได้ดีขึ้น ผู้คนจะหันมาใช้เสียงพูดเพื่อดูแลจัดการชีวิตของพวกเขามากยิ่งขึ้น ในวันนี้แบรนด์ต่างๆ มีโอกาสมากมายมหาศาลที่จะเริ่มต้นบทสนทนาเหล่านี้กับผู้บริโภค พร้อมกับพิสูจน์คุณประโยชน์ของตนเองตลอดจนความรับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนตัว"

เจเรอมี พาวน์เดอร์ ผู้อำนวยการ มายด์แชร์ ฟิวเจอร์ส กล่าวว่า "เทคโนโลยีเสียงพูดพร้อมแจ้งเกิดแล้ว เพราะว่าโดยพื้นฐานมันคือปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีในรูปแบบที่เป็นไปโดยสัญชาตญาณของเรามากกว่า ผู้คนต่างชื่นชอบมันเพราะไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องทางเทคนิค และมันตอบสนองสิ่งที่พวกเขาต้องการได้รวดเร็วกว่าโดยไม่ต้องพยายามมากมาย ดังที่ผู้ตอบแบบสอบถามท่านหนึ่งของเราเปรียบว่า "มันให้ความรู้สึกเหมือนมนต์วิเศษ" เมื่อความสัมพันธ์กับผู้ช่วยผ่านเสียงพูดมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความท้าทายของแบรนด์ต่างๆ จะอยู่ที่การสร้างหลักประกันว่าพวกเขาคือแบรนด์ที่ได้รับเลือกจากผู้คุมประตูเชื่อมต่อสู่ผู้บริโภค ซึ่งนับวันจะทรงอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ"

ข้อค้นพบสำคัญอื่นๆ ในรายงานฉบับนี้มีดังนี้

ผู้บริโภคชาวจีนเป็นกลุ่มที่ใช้งานมากที่สุด โดยมีอัตราการเลือกใช้เสียงพูดสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกในกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทำการศึกษา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงว่ามีความกระหายเทคโนโลยีเสียงพูดอย่างสูงในประเทศจีน

การหาข้อมูลผลิตภัณฑ์และสืบค้นข้อมูลออนไลน์เป็นรูปแบบการใช้งานที่พบมากที่สุด เนื่องจากผู้บริโภค

ชาวจีนมีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ยุ่งรัดตัวและเร่งรีบ นอกจากนี้การใช้เสียงพูดยังมีบทบาทสำคัญในเรื่องการใช้เวลาว่างอีกด้วย โดยใช้เพื่อความสนุกสนานและการฟังเพลงเป็นหลัก

สำหรับในญี่ปุ่น การใช้เทคโนโลยีเสียงพูดโดยส่วนใหญ่เป็นการใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลออนไลน์ (ร้อยละ 63) และการใช้เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่สนใจ (ร้อยละ 55)

การใช้เทคโนโลยีเสียงพูดในกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนในประเทศไทยมีอัตราต่อสัปดาห์สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก โดยอยู่ที่ร้อยละ 51 ผู้ใช้สมาร์ทโฟนชาวไทยโดยรวม (ซึ่งส่วนใหญ่มีคุณสมบัติร่วมกันคือ อยู่ในวัยหนุ่มสาว อาศัยอยู่ในเมือง และมีความใฝ่ฝัน) มีความสนอกสนใจในเทคโนโลยีเสียงพูดเป็นอย่างมาก และมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่ไม่เคยใช้เลย

ผู้คนต่างหลงรักผู้ช่วยดิจิทัลของตน โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 43) ของกลุ่มผู้ใช้ทั่วโลกที่ใช้เทคโนโลยีเสียงพูดอยู่เป็นประจำระบุว่า พวกเขาชื่นชอบผู้ช่วยผ่านเสียงพูดของตนอย่างมากจนถึงขั้นที่อยากให้มัน

มีตัวตนเป็นคนจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เปิดรับเทคโนโลยีเสียงพูดอย่างสนอกสนใจ อาทิ จีน

(ร้อยละ 65) และไทย (ร้อยละ 61)

สิ่งที่น่าประหลาดใจคือ ร้อยละ 29 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกบอกว่าพวกเขาเคยมีจินตนาการทางเพศเกี่ยวกับผู้ช่วยผ่านเสียงพูดของตน

เทคโนโลยีเสียงพูดทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น ร้อยละ 39 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหมดรู้สึกตื่นเต้นที่ในอนาคตผู้ช่วยผ่านเสียงพูดของตนจะสามารถคาดเดาสิ่งที่พวกเขาต้องการและลงมือทำหรือให้ข้อเสนอแนะ โดยความรู้สึกนี้ชัดเจนเป็นพิเศษในประเทศแถบเอเชียที่เปิดรับเทคโนโลยีเสียงพูดอย่างรวดเร็ว เช่น จีน

(ร้อยละ 64) และไทย (ร้อยละ 57)

เทคโนโลยีเสียงพูดจะช่วยให้ผู้คนใกล้ชิดกันมากขึ้น ร้อยละ 53 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกคิดว่า "เทคโนโลยีเสียงพูดจะช่วยให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากพวกเขาจะไม่ก้มหน้ามองหน้าจออยู่ตลอดเวลา"

ความเป็นส่วนตัวยังคงเป็นข้อกังวลที่สำคัญ การรับรองความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวคือประเด็นที่ติดอันดับหนึ่งในประเทศต่างๆ 5 ประเทศจากจำนวนทั้งหมด 9 ประเทศที่ทำการสำรวจ

นอกจากนี้ ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามของเราทั่วโลกยังเป็นห่วงว่าบริษัทต่างๆ จะสามารถฟังสิ่งที่พวกเขาพูดคุยกับผู้ช่วยผ่านเสียงได้ เช่น ผู้ใช้เทคโนโลยีเสียงพูดร้อยละ 65 ในสิงคโปร์มีความกังวลในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ออสเตรเลียมีท่าทีที่ผ่อนคลายกว่ามากในเรื่องนี้ (เพียงร้อยละ 33 เท่านั้นที่แสดงความกังวล)

การกำหนดค่าอัลกอริธึมที่เหมาะที่สุดจะเป็นรูปแบบใหม่ในการกำหนดค่าเสิร์ชเอ็นจินที่ดีที่สุด (SEO) ในโลกที่มีผู้ช่วยผ่านเสียงพูดคั่นอยู่ตรงกลาง แบรนด์ต่างๆ จะต้องสร้างหลักประกันว่าตนเองจะเป็นแบรนด์ที่ถูกเลือกให้อยู่เหนือกว่าคู่แข่งของตน

โซ ลอว์เรนซ์ ผู้อำนวยการดิจิทัลและอินไซต์ของ กันตาร์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "เสียงพูดคือพรมแดนใหม่ในการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคอย่างแน่นอน และมันกำลังจะเปลี่ยนแปลงวิธีที่ผู้บริโภคใช้ตัดสินใจและมีส่วนร่วมกับแบรนด์ ซึ่งแบรนด์จะต้องใช้ความอย่างระมัดระวังในการก้าวเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ใดๆ ก็ตาม และในกรณีนี้ยิ่งมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากเทคโนโลยีเสียงพูดเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นส่วนตัวสูง การปรากฏตัวของแบรนด์ต้องมีความเหมาะสมอย่างเต็มที่และไม่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัว สำหรับแบรนด์ที่กำลังเริ่มคิดถึงเรื่อง "ทักษะ" หรือ "การลงมือทำ" แล้ว สิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้รับการยอมรับคือ ต้องมั่นใจได้ว่าตนกำลังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประสบการณ์ลูกค้า"

"ผู้บริโภคในเอเชียชื่นชอบการเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ที่ล้ำสมัยและน่าตื่นเต้น และเราเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียงพูดได้รับความสนใจอย่างมากจนน่าเหลือเชื่อทั่วทั้งภูมิภาคของเรา ผู้คนที่เราได้พูดคุยด้วยต่างเพลิดเพลินกับการมีปฏิสัมพันธ์กับบ็อตเสียงของตน" โล เชง ยาง ประธานคณะกรรมการฝ่ายสร้างสรรค์ของ เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า "มันเป็นแพลทฟอร์มขนาดมหึมาที่แบรนด์ต่างๆ จะสามารถใช้กระชับความสัมพันธ์กับผู้บริโภคของตน การเสาะหาเสียงพูดของแบรนด์ที่มีความพิเศษเฉพาะตัวเพื่อพูดคุยกับแฟนๆ ของตนจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง"

รายงาน "Speak Easy" ชี้ให้เห็นแนวโน้มหลัก 9 ประการที่จะกำหนดโฉมหน้าว่าผู้บริโภคเปิดรับเทคโนโลยีเสียงพูดอย่างไรบ้าง ซึ่งแนวโน้มบางประการเหล่านี้ คือ

แนวโน้มที่ 1: ความอยากใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้ช่วยผ่านเสียงพูดของตน

ร้อยละ 74 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกเห็นด้วยว่า "ถ้าผู้ช่วยผ่านเสียงพูดสามารถเข้าใจฉันได้อย่างที่ควรจะเป็น และพูดตอบฉันเหมือนกับมนุษย์ ฉันจะใช้มันตลอดเวลา" เมื่อการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) มีพัฒนาการดีขึ้น ผู้ช่วยผ่านเสียงพูดจะเข้าใจผู้ใช้ได้มากยิ่งขึ้น และผู้คนจะใกล้ชิดสนิทสนมกับผู้ช่วยของตนมากขึ้น

ที่จริงแล้วการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 42 ของผู้ใช้เคยคุยกับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีของตนในยามที่รู้สึกโดดเดี่ยว ในขณะที่ร้อยละ 37 เคยบอกกับมันว่าพวกเขารักมัน

สำหรับแบรนด์ต่างๆ แล้ว โอกาสจะอยู่ที่การดูแลจัดการความสัมพันธ์ที่ยิ่งใกล้ชิดกันมากขึ้นเช่นนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ผู้ช่วยผ่านเสียงพูดเหล่านี้กำลังกลายเป็นผู้คุมประตูสู่ลูกค้าที่นับวันจะยิ่งทรงอิทธิพลขึ้นเรื่อยๆ โดยความท้าทายสำคัญจะอยู่ที่การสร้างหลักประกันว่าแบรนด์หรือคอนเทนท์ของคุณจะได้รับเลือก การกำหนดค่าอัลกอริธึมที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นรูปแบบใหม่ในการทำ SEO

แนวโน้มที่ 2: เสียงพูดช่วยแบ่งเบาภาระการรับรู้ของสมอง

รายงาน "Speak Easy" แสดงให้เห็นว่าแรงจูงใจหลักอย่างหนึ่งในการใช้เทคโนโลยีเสียงพูด คือ ความมีประสิทธิภาพ โดยที่ผู้ใช้เทคโนโลยีเสียงพูดเป็นประจำในสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 45) บอกว่าพวกเขาเลือกใช้มันเนื่องจากรวดเร็วกว่า และร้อยละ 35 บอกว่าพวกเขาเลือกใช้มันในเวลาที่รู้สึกขึ้เกียจ

ในการจัดทำรายงานฉบับนี้ เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน อินโนเวชั่น กรุ๊ป และ มายด์แชร์ ยังได้ทำงานร่วมกับ Neuro-Insight ซึ่งเป็นกลุ่มนักประสาทวิทยาศาสตร์ชั้นนำ เพื่อศึกษาการตอบสนองของสมองต่อเสียงพูดเมื่อเปรียบเทียบกับการการแตะหรือการพิมพ์

การศึกษาพบว่าปฏิสัมพันธ์ด้วยเสียงพูดมีระดับการทำงานของสมองน้อยกว่าการใช้วิธีแตะ เพื่อทำในสิ่งเดียวกัน ซึ่งชี้ว่าการตอบสนองต่อเสียงเป็นภาระแก่การรับรู้สมองน้อยกว่า

การวิจัยดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่าการพูดกับแบรนด์ทำให้เกิดความเชื่อมโยงทางอารมณ์ความรู้สึกที่ลึกซึ้งกว่าปฏิสัมพันธ์จากการพิมพ์หรือการแตะ การพูดชื่อแบรนด์ช่วยทำให้ความเชื่อมโยงทางอารมณ์ซึ่งมีอยู่เดิมแล้วนั้นยิ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าการพิมพ์ ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งเน้นย้ำว่า แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องพิถีพิถันกับเสียงที่จะมาเป็นเสียงพูดของตนอย่างจริงจัง

แนวโน้มที่ 3: เสียงพูดจะปลดปล่อยผู้บริโภคให้เป็นอิสระจากหน้าจอ

ร้อยละ 53 ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกคิดว่า "เทคโนโลยีเสียงพูดจะช่วยให้ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากพวกเขาจะไม่ก้มหน้ามองหน้าจออยู่ตลอดเวลา" จึงเชื่อกันว่าเทคโนโลยีเสียงจะเป็นกุญแจสำคัญในการปลดปล่อยผู้ใช้งานอีกจำนวนมากให้เป็นอิสระจากหน้าจอดังที่พบเห็นได้ทั่วไปในทุกวันนี้

สิ่งนี้จะทำให้แบรนด์ได้พบกับโอกาสใหม่ๆ ที่น่าสนใจในการสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมกับความท้าท้ายที่จะเพิ่มทวีขึ้นเป็นสองเท่า

ประการแรก พวกเขาจะต้องมั่นใจให้ได้ว่าบริการหรือคอนเทนท์จะเข้าถึงได้ง่ายโดยการใช้เสียงพูดในรูปแบบที่เรียบง่ายและสร้างการมีส่วนร่วม ประการที่สอง พวกเขาจะต้องคิดหาวิธีการว่าจะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคผ่านคอนเทนท์ที่มีให้เข้าถึงได้ในโลกไอโอที (Internet of Things) ได้อย่างไร

แนวโน้มที่ 4: ผู้บริโภคจะปล่อยให้ "ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล" ดูแลจัดการสิ่งต่างๆ

ความก้าวหน้าเหล่านี้จะรวมไปถึงการที่ผู้ช่วยผ่านเสียงนั้นวิวัฒนาการขึ้นเป็นบริการเชิงรุกซึ่งให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ โดยผู้ตอบแบบสอบถามหลายรายบอกว่าพวกเขาจะยอมให้ผู้ช่วยผ่านเสียงตัดสินใจเลือกแทนพวกเขาได้ ซึ่งในทางปฏิบัติคือการยกฐานะให้พวกมันเป็น "ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล" (Digital Butlers) นั่นเอง

สำหรับแบรนด์ต่างๆ แล้ว ความท้าทายสำคัญจะอยู่ที่การสร้างหลักประกันว่าพวกเขาจะต้องเป็นแบรนด์ที่ "ผู้รับใช้ยุคดิจิทัล" (Digital Butlers) เลือกนำมาแนะนำก่อนหน้าคู่แข่ง

แนวโน้มที่ 5: ความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว

การรับรองความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว คือ ประเด็นที่ติดอันดับหนึ่งในประเทศต่างๆ 5 ประเทศ

(สหราชอาณาจักร เยอรมนี สเปน จีน และออสเตรเลีย) จากจำนวนทั้งหมด 9 ประเทศที่ทำการสำรวจ โดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้ใช้งานถูกถามว่าอะไรคือสิ่งที่จะชักจูงให้พวกเขาหันมาใช้เทคโนโลยีเสียงพูด ส่วนประเทศที่เหลือทุกประเทศจัดให้ประเด็นนี้อยู่ในลำดับที่สอง ในขณะเดียวกัน ครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกได้แสดงความกังวลถึงการที่บริษัทต่างๆ อาจสามารถฟังสิ่งที่พวกเขาสนทนากับผู้ช่วยผ่านเสียงของตน

ผู้ให้บริการจะต้องสร้างความเชื่อถือผ่านเรื่องราวความสำเร็จของบริการที่ผ่านมาเสียก่อน จึงจะทำให้เกิดความไว้วางใจได้มากขึ้น พวกเขาจะต้องบรรเทาความกังวลของผู้ใช้ในเรื่องความเป็นส่วนตัวและแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อข้อมูลส่วนตัวที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการให้ข้อเสนอแนะต่างๆ

ท่านสามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้โดย https://www.jwtintelligence.com/trend-reports/speak-easy-global-edition/ ซึ่งจะรวมถึงสิ่งที่แบรนด์ต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version