โดยให้บริการบาบัดรักษาแบบองค์รวมที่ได้ มาตรฐาน มุ่งเน้นผู้รับบริการที่มีปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน เรื้อรังและรุนแรง เน้น ความเป็นเลิศด้านบาบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิต จากแอลกอฮอล์ของประเทศ ซึ่งโรคติดสุรา เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ยังเป็นปัญหาในระบบสุขภาพ ส่งผลกระทบต่ออวัยวะและ ระบบต่างๆ ในร่างกาย ทาให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ความดันโลหิตสูง ภาวะเลือดออกในสมอง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบปัญหาด้าน อารมณ์ซึมเศร้า วิตกกังวลสูง บุคลิกภาพผิดปกติ และการฆ่าตัวตาย
อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า จากการสารวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี 2556 พบ คนไทย มีปัญหาจากการใช้สุรา ถึงร้อยละ 18 หรือประมาณ 9.3 ล้านคน และล่าสุด ปี 2558 มีผู้ป่วยโรคติดสุราที่เข้ารับบริการใน สถานพยาบาลต่างๆ เท่ากับ ร้อยละ 6.9 ของจานวนผู้ป่วยโรคจิตเวชทั้งหมด 168,153 คน หรือประมาณหมื่นกว่าคน ซึ่งมีจานวน ค่อนข้างมาก ขณะที่ภาคเหนือของไทย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2557-2559) มีผู้ป่วยโรคติดสุรา ไม่น้อยกว่า 3 พันรายต่อปี ที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (3,468 ราย, 3,929 ราย และ 3,942 ราย ตามลาดับ) ขณะที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ไม่น้อยกว่า 1 พันรายต่อปี (1,409 ราย, 1,465 ราย และ 1,372 ราย ตามลาดับ)
ล่าสุด ได้เปิดตึกกรุณา ชั้น 2 และ ชั้น 3 รวม 60 เตียง รองรับการบาบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ ที่มีจานวนเพิ่มมากขึ้น ผู้ป่วยติดสุราจะมีอาการอย่างน้อย 3 อาการ ตามเกณฑ์ดังนี้1) ดื่มมากกว่าที่ตั้งใจไว้ 2) ไม่สามารถหยุดหรือเลิกการ ดื่มสุราบ่อยครั้ง 3) มีอาการทนต่อสุรามากขึ้น เช่น ต้องดื่มมากกว่าเดิมอย่างมากจึงจะรู้สึกเช่นเดิม 4) มีอาการถอนเหล้า เช่น มือสั่น เหงื่อแตก คลื่นไส้ นอนไม่หลับ เวลาที่ลดการดื่มลง 5) ยังคงใช้สุราแม้รู้ว่าจะทาให้เกิดปัญหาทางกาย หรือทางจิตใจ 6) เวลา ในแต่ละวันหมดไปกับการดื่ม การซื้อ การคิดถึงการดื่มสุรา การเมา หรือการฟื้นจากฤทธิ์สุรา และ 7) ใช้เวลาลดลงกับการกิจกรรม ที่สาคัญเพราะมัวแต่ใช้เวลาไปกับการดื่มเหล้าถึงแม้ว่าบางคนที่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์เป็นปริมาณมาก อธิบดีกรม สุขภาพจิต กล่าว ด้าน นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผอ.รพ.สวนปรุง กล่าวเสริมว่า ในปีงบประมาณ 2557-2559 มีผู้มารับบริการโรงพยาบาล สวนปรุงเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นจานวนผู้ป่วยนอก 55,889 ราย , 56,713 ราย และ 60,790 ราย ตามลาดับ กลุ่มโรคที่พบมาก 5 อันดับ ได้แก่ 1. โรคจิตเภท 2. โรคซึมเศร้า 3. กลุ่มอาการวิตกกังวล 4. ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดซ้า และ 5.ความผิดปกติทางจิต -มีต่อหน้า2- -2- จากสุรา ขณะที่มีจานวนผู้ป่วยใน 5,353 ราย , 5,523 ราย และ 5,262 ราย ตามลาดับ
กลุ่มโรคที่พบ 5 อันดับ ได้แก่ 1. โรคจิตเภท 2. ความผิดปกติทางจิตจากสุรา 3. ความผิดปกติทางจิตจากสารเสพติด 4. ความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดซ้า 5. อาการวิตกกังวลที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย ด้านการบาบัดรักษาผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์จะประกอบด้วย การคัดกรองและบาบัดระยะสั้น การ บาบัดอาการถอนพิษ การฟื้นฟูสภาพ และการติดตามหลังการรักษา ซึ่งจากการติดตามหลังการรักษา ในปี 2559 พบว่า ผู้ป่วยมีพฤติกรรมหยุดดื่มได้ถึงร้อยละ 32.26 จากจานวนผู้ป่วยในทั้งหมด และเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศด้านการบาบัดรักษา ผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ของประเทศ โรงพยาบาลสวนปรุงได้อบรมพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ทั้งแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ จนถึงพนักงานช่วยเหลือคนไข้ ในการดูแลรักษาฟื้นฟูผู้มีปัญหาสุขภาพจิตจากแอลกอฮอล์ รวมทั้ง งานวิจัยที่กาลังดาเนินการและพัฒนาทางวิชาการ เช่น เรื่องความชุกของความผิดปกติจากพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ใน ประชากรจังหวัดเชียงใหม่ ประสบการณ์การเลิกดื่มสุราสาเร็จของผู้เคยติดสุราที่มารักษาที่โรงพยาบาลสวนปรุง ลักษณะ ความพร่องทางการรู้คิดของผู้ที่มีความผิดปกติจากการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ดื่มสุราอย่างหนัก ผู้ติดสุรา ครอบครัวหรือญาติที่ต้องการขอรับคาปรึกษาก่อนการเข้ารับการรักษา สอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้ที่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง ผอ.รพ.สวนปรุง กล่าว