ผลจากการศึกษาของธนาคารโลกในปี พ.ศ.2560 ในเรื่อง "การเปิดทางและสนับสนุนธุรกิจภาคเกษตร" หรือ EBA ซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของแต่ละประเทศที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจภาคการเกษตร ในแง่ของการพัฒนาเมล็ดพันธุ์ ไทยมีอันดับเป็นรองประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนอย่าง ฟิลิปปินส์ (ที่อยู่ในอันดับที่ 11) และมีอันดับใกล้เคียงกับพม่า (อันดับที่ 34) และเวียดนาม (อันดับที่ 42) ในขณะที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ถูกจัดอันดับเป็นอันดับหนึ่งของโลก และถือเป็นประเทศที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ของโลก ตามด้วยประเทศสเปน และเดนมาร์ก
"เราต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลเอื้ออำนวยต่อธุรกิจการเกษตรในประเทศไทยตามที่การศึกษา EBA ของธนาคารโลกได้กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาสายพันธุ์พืช การขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ และการควบคุมคุณภาพของเมล็ดพันธุ์" มร. แวน เดอร์ เฟลท์ซ หนึ่งในประธานของพันธกิจนี้กล่าว นอกจากนี้ นาย แวน เดอร์ เฟลท์ซ ยังได้กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ มีดังต่อไปนี้
การคุ้มครองสิทธิของนักพัฒนาสายพันธุ์ให้มั่นใจในความปลอดภัยของนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้น (การคุ้มครองพันธุ์พืช)การเข้าถึงเชื้อพันธุกรรมพืช (germplasm) และการแบ่งปันใช้ร่วมกันประสิทธิภาพในการใช้เวลาและค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียนสายพันธุ์ใหม่ ขั้นตอนการทดสอบสายพันธุ์ และกระบวนการประกาศ ที่มีระบบและประสิทธิภาพมากขึ้น การควบคุมและรับรองคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ดีขึ้น (การรับรองโดยบุคคลที่สาม หรือการรับรองตนเอง)การทำฉลากเมล็ดพันธุ์ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้าให้แก่เกษตรกร
ซึ่ง นาย แวน เดอร์ เฟลท์ซ ได้กล่าวไว้ในการหารือร่วมเรื่อง พันธกิจทางธุรกิจของประเทศไทย (Thailand Business Mission) ที่จัดโดยกลุ่มพันธมิตรนักธุรกิจยุโรป-อาเซียน Europe-ASEAN Business Alliance (EABA) เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างผู้นำระดับสูงในภาคเอกชนในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวโน้มการกำกับดูแล รวมถึงการริเริ่มนโยบายต่างๆ
"ในฐานะประธานร่วมของกลุ่มพันธมิตรนักธุรกิจยุโรป-อาเซียน (EABA) ผมรู้สึกมีตื่นเต้นและมีกำลังใจที่ได้เห็นความกระตือรือร้นในการเข้าร่วมงานดังกล่าวจากผู้แทนจากบริษัทต่าง ๆ ของยุโรปจากหลากหลายอุตสาหกรรม นี่คือพันธกิจทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเรา และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจร่วมมือกัน และการให้ความสนใจที่เพิ่มขึ้นของบริษัทยุโรปต่างๆ ในประเทศไทย รวมถึงความมุ่งมั่นของเราต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างบรรยากาศทางบวกของธุรกิจในประเทศไทย และเราจึงหวังว่าจะใช้โอกาสนี้เป็นก้าวแรกในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัทสัญชาติยุโรปต่างๆ ด้วย" นาย แวน เดอร์ เฟลท์ซ กล่าว
อีสท์ เวสท์ ซีด ในประเทศไทย
อีสท์ เวสท์ ซีด ในประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นในปี พ. ศ. 2526 ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่เพื่อวิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในชื่อ "ไซมอน กรูท รีเสิร์ช เซ็นเตอร์" และปี ในปี พ.ศ. 2549 ประเทศไทยได้เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ดูแลกลุ่มบริษัททั่วโลกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบัน อีสท์ เวสท์ ซีด มีพนักงานในสำนักงานใหญ่ และอีสท์ เวสท์ ซีด ประเทศไทย รวมกันกว่า 700 คน
"บริษัทของเรามุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรรายย่อยของไทยผ่านเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและความรู้ด้านการเพาะปลูกพืชผัก อีสท์ เวสท์ ซีด ทุ่มเท มุ่งมั่น ในการวิจัยและพัฒนา กระบวนการผลิต และการจำหน่ายของเมล็ดพันธุ์ผักลูกผสม (Hybid) บริษัทของเราเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ศรแดง" และได้รับการยอมรับและยกย่องจากเกษตรกรไทยให้เป็นแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ทำให้เราเป็นผู้นำตลาดที่แข็งแกร่ง โดยมีการเติบโตของธุรกิจในตัวเลขถึง 2 หลักต่อปี" มร. แวน เดอร์ เฟลท์ซ กล่าว
บริษัทได้มุ่งพัฒนาธุรกิจผ่านความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนาที่แข็งแกร่ง รวมถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับเกษตรกรท้องถิ่น ประมาณ 60% ของพริกที่จำหน่ายในตลาดสดของไทย คือเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ซุปเปอร์ฮอท และประมาณ 85% ของข้าวโพดข้าวเหนียวที่ขายในท้องตลาดคือเมล็ดพันธุ์จาก อีสท์ เวสท์ ซีด นอกจากนั้น ยังมีพืชสำคัญอื่นๆ ได้แก่ แตงกวา มะระ ดอกดาวเรือง มะเขือเทศฟักทอง และถั่วลันเตา อีกด้วย
อีสท์ เวสท์ ซีด ประเทศไทยมีส่วนแบ่งทางธุรกิจเป็น 17% ของธุรกิจอีสท์ เวสท์ ซีดทั่วโลก และเป็นตลาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก ทั้งนี้ยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของไทย อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรบุคคล เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการค้นคว้า ปรับปรุง และพัฒนาพันธุ์พืชของไทยต่อไป.