กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ต้อนรับเที่ยวเรือปฐมฤกษ์ Majestic Princess

จันทร์ ๐๓ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๕๓
ท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมแถลงข่าวการมาเยือนประเทศไทยของเรือ Majestic Princess พร้อมต้อนรับ การเดินทางสู่ประเทศไทย และกล่าวถึงนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวเรือสำราญ (Cruise Tourism) การส่งเสริมท่องเที่ยวเรือสำราญ เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว ที่มีศักยภาพเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและมีความสนใจเฉพาะด้านเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ สมาคมการเดินเรือสำราญใหญ่ที่สุดของโลก (Cruise Lines International Association : CLIA) ระบุว่า มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยเรือสำราญสูงขึ้นเรื่อยๆ จาก 17.8 ล้านคนในปี 2552 เป็น 23 ล้านคน ในปี 2558 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4.4% ต่อปี และในตลาดเอเชีย 2-3 ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราเฉลี่ย 29% ต่อปี และมีแนวโน้มที่จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทย อยู่ในเส้นทางการท่องเที่ยวโดยเรือสำราญ (Cruise) มีบริษัทสายเดินเรือ เข้ามาเดินเรืออยู่แล้วมากกว่า 10 สาย เช่น Princess Cruise, Royal Caribbean, Costa, Cunard, Star Cruise, P&O, Holland America Line Group เป็นต้น ซึ่งได้แวะพักตามจุดต่างๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริม

การท่องเที่ยวเรือสำราญ คือ ต้องการพัฒนายกระดับท่าเรือสำราญให้เป็น Port of call ที่มีคุณภาพมาตรฐานในระยะ 5 ปี ถัดจากนี้ และจะพัฒนาให้เป็น Home Port เช่นเดียวกับประเทศจีนและสิงคโปร์ ในอีกระยะ 10 ปีข้างหน้า

ในระยะที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดนักท่องเที่ยวเรือสำราญไว้อย่างต่อเนื่องที่สำคัญ ได้แก่

1. การปรับปรุงท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือกรุงเทพ และท่าเรือภูเก็ต การศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเทียบเรือรองรับเรือ Cruise ที่จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย รวมถึงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน เพื่อเชื่อมโยงท่าเรือกับแหล่งท่องเที่ยว (เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง)

2. การประชาสัมพันธ์ให้บริษัทสายเดินเรือ Cruise และนักท่องเที่ยวรับทราบถึงศักยภาพและความพร้อม

ของประเทศไทยในการรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเรือสำราญ

3. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองหลักและเมืองรองทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตพัฒนา

การท่องเที่ยวทั้ง 8 คลัสเตอร์ รวมทั้งการพัฒนาการยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการการท่องเที่ยว และมาตรการดูแลรักษา

ความปลอดภัยนักท่องเที่ยว

4. การปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าออกของเรือโดยสารและนักท่องเที่ยว รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

5. การพัฒนาบุคลากรการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเรือสำราญ ได้แก่ อาชีพลูกเรือ ผู้ให้บริการบนเรือ ผู้ประกอบการและชุมชน

การมาเยือนประเทศไทยของเรือ Majestic Princess ในวันนี้ เป็นเรือลำใหม่ที่ออกแบบสำหรับตลาดเอเชียโดยเฉพาะ และกำลังเดินทางเข้ามาประจำการในเอเชีย โดยเชิญกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คณะทำงานอำนวยความสะดวกการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ (Cruise) สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ จำนวนประมาณ 300 คน เยี่ยมชมเรือ Majestic Princess เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเรือสำราญ (Cruise) นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการบูรณาการการทำงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็น Maritime Hub ด้านการท่องเที่ยวเรือสำราญของอาเซียนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๒๑ ชิงช้าสวรรค์ 2025 เก็บคะแนนโค้งสุดท้าย ก่อนเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
๑๑:๑๙ Free Fire World Series Southeast Asia 2025 Spring เตรียมเปิดฉาก 25 เม.ย.นี้ 18 ทีมสุดแกร่งเตรียมปะทะศึกเดือด!
๑๑:๒๕ MOTHER ประชุมผู้ถือหุ้นปี 68 ลุยเปิด 3 สาขาเพิ่มปีนี้ ดันผลงานโตต่อเนื่อง
๑๑:๐๙ เคทีซีรวมพลังสมาชิกปันน้ำใจกว่า 28 ล้านบาท ร่วมสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับน้องๆ มูลนิธิเด็กโสสะฯ
๑๑:๒๖ ยูโอบี ประเทศไทย สนับสนุนการเติบโตของเอสเอ็มอีในธุรกิจอีคอมเมิร์ซกับโครงการ E-Commerce Accelerator
๑๑:๒๙ Via 34 ลักซ์ชัวรี่คอนโดมิเนียม Low Rise ใจกลางสุขุมวิท รับวิวเมือง
๑๑:๑๐ PeeKaBoo Junior จ๊ะเอ๋! เด็ด เด็ด พาน้องๆ หนาวสุดขั้วในโลกน้ำแข็ง- อร่อยกับเมนูเฮลท์ตี้ - สนุกสร้างสรรค์กับ DIY
๑๑:๐๑ แพ็กเกจ STAY DINE โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ
๑๑:๒๒ กาตาร์ แอร์เวย์ส เปิดตัวแพ็กเกจทริป FIFA World Cup 2026(TM) ในฐานะสายการบินระดับโลกที่เป็นพันธมิตรของ FIFA และ FIFA World Cup 2026(TM)
๑๑:๔๔ เซ็น เอกซ์ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568