ชุมชนชาวกะเหรี่ยงสะกอนั้นขาดทักษะในการอ่านและเขียน เนื่องจากแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญอย่างเช่นห้องสมุดชุมชนยังไม่เพียงพอ โครงการ Let's Read! จึงได้มอบโอกาสในการเรียนรู้ด้านภาษาให้กับคนในชุมชน โดยการพัฒนาการเข้าถึงหนังสือ สอนภาษาสำหรับเด็กผ่านห้องสมุดดิจิตอลที่เข้าถึงได้โดยสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ โดยห้องสมุดดิจิตอลนั้นเป็นการผสมผสานของแอพพลิเคชั่นที่ออกแบบมาเพื่อสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ ที่มีฟังค์ชั่นการแปลภาษาที่ช่วยให้สามารถค้นหาหนังสือได้ง่ายขึ้น และแอพพลิเคชั่น e-reader ที่ทำให้เด็กๆ และผู้ปกครองสามารถเลือกที่จะอ่านในภาษาที่ต้องการได้
คุณ Jaclyn Hall ประธานมูลนิธิมันนี่แกรม ได้กล่าวว่า "มูลนิธิได้ดำเนินตามนโยบายของบริษัทมันนี่แกรม โดยการลงทุนกับโครงการที่ช่วยพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งโครงการนี้ก็เป็นเหมือนทางออกของการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เราเชื่อว่าการที่เราได้ให้การสนับสนุนโครงการของมูลนิธิเอเชียนั้น จะส่งผลให้เราได้บรรลุเป้าหมายของการพยายามที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาที่ดีขึ้นให้กับภูมิภาคนั้นๆ และให้กับเด็กๆ ในชุมชนห่างไกลที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านการศึกษานี้"
โครงการ Let's Read! คือจุดเริ่มในการทำงานร่วมกันของมูลนิธิเอเชีย มูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์ สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่วันก่อตั้งโครงการเมื่อเดือนมกราคมของปีนี้ ห้องสมุดดิจิตอลมีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นภาษากะเหรี่ยงสะกอทั้งหมด 150 เล่ม ซึ่งเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และทางโรงเรียนสามารถเข้าอ่านหนังสือทั้งหมดโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านขึ้นให้แก่หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงสะกอในภาคเหนือ จำนวน 10 หมู่บ้าน เพื่อแนะนำหนังสือแก่โรงเรียนในชุมชน และเพื่อกระตุ้นให้ครอบครัวอ่านหนังสือด้วยกันกับลูกหลาน ภายในงานได้พูดถึงขอบเขตของโครงการ รวมทั้งมีการทดสอบการใช้งานของห้องสมุดดิจิตอลในสมาร์ทโฟน เดินทางไปยังหมู่บ้านขุนแปะ และหมู่บ้านขุนแตะ และร่วมพูดคุยกับเด็กๆ และผู้คนจากชุมชน
คุณ Raj Dhorkay, หัวหน้าภูมิภาคฝั่งทางฝั่งอินโดจีน มาเลเซีย และบรูไน ของบริษัทมันนี่แกรมกล่าวว่า "นับเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทดสอบเทคโนโลยีด้านการอ่านนี้ และได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการอ่านไปพร้อมๆ กับคนในชุมชน"