เข้าทางราชภัฏ 'มรภ.สุราษฎร์’ ขานรับ ก.คลัง น.ศ.ร่วมลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลผู้มีรายได้น้อย

พุธ ๐๕ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๒๐
ม.ราชภัฏสุราษฎร์ฯ ขานรับนโยบายกระทรวงการคลัง ทุ่มงบ 971 ล้านบาท จ้างนักศึกษา 6 หมื่นคน ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลผู้มีรายได้น้อย รองอธิการบดีชี้ เข้าทางราชภัฏเพราะนักศึกษาราชภัฏต้องกลับไปพัฒนาท้องถิ่นอยู่แล้ว ด้านนักศึกษาเผยยินดีเข้าร่วมโครงการ หวังประสบการณ์และเรียนรู้ท้องถิ่นด้วยตาตัวเอง

ตามที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเตรียมทุ่มงบประมาณ971 ล้านบาท เพื่อว่าจ้างนักศึกษาจำนวน 60,000 คนทั่วประเทศ ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลผู้มีรายได้น้อย 14.1 ล้านราย เพื่อตรวจสอบว่ามีข้อมูลตรงกับที่ลงทะเบียนขอรับสิทธิประโยชน์จากรัฐไว้หรือไม่นั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผศ.ดร.จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (มรส.) เปิดเผยว่า มรส.เห็นด้วยกับนโยบายนี้และพร้อมส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากเห็นว่าผู้ที่จะได้ประโยชน์โดยตรงคือตัวนักศึกษาเองและชุมชนท้องถิ่น

รองอธิการบดีกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่นักศึกษาจะได้รับแน่ ๆ จากการเข้าร่วมโครงการนี้ คือจะได้สัมผัสวิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่จริง ๆ ของคนในชุมชนท้องถิ่น เห็นโลกกว้างขึ้น เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนครั้งสำคัญ ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ผ่านประสบการณ์ตรง

"นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเมื่อเรียนจบแล้วก็ต้องกลับไปหาท้องถิ่น ไปเป็นกำลังสำคัญในการนำและพัฒนาท้องถิ่น ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสอันดียิ่งสำหรับนักศึกษาที่จะได้ลงไปคลุกคลีกับชุมชนท้องถิ่นก่อน เป็นการส่งนักศึกษาไปคืนถิ่นอย่างกลาย ๆ ซึ่งผลสุดท้ายสิ่งที่รัฐได้รับอาจไม่ใช่แค่สถิติของผู้มีรายได้น้อย แต่อาจมีผลพวงจากการที่นักศึกษาได้เข้าใจสังคมและท้องถิ่นมากขึ้น แล้วเกิดไอเดียในการพัฒนาท้องถิ่นต่อไป" รองอธิการบดีกล่าว

นางสาวจีรวรรณ ดิษฐอาย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการท่องเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มรส. เปิดเผยว่า ตนเห็นด้วยกับโครงการนี้ หากมีโอกาสได้เข้าร่วมก็ยินดี เพราะนอกจากจะเป็นการหารายได้พิเศษระหว่างเรียนมาแบ่งเบาภาระของพ่อแม่แล้ว ยังจะได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ และได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมด้วย

"ดิฉันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นโดยตรงอยู่แล้ว ถ้าดิฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ก็น่าจะทำให้ดิฉันได้เรียนรู้และเข้าใจท้องถิ่นมากขึ้นจากการได้เห็นสภาพต่าง ๆ ด้วยตาตัวเอง ในแง่ของรัฐบาลเองก็จะได้ประโยชน์ตรงที่พวกเรานักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการทำงานของรัฐและมาเป็นกระบอกเสียงให้รัฐในอีกทางหนึ่ง เชื่อว่าจะเป็นโครงการที่ดีต่อทุกฝ่ายแน่นอน" นางสาวจีรวรรณกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ