กระทรวงเกษตรฯ เตรียมแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากอุทกภัยด้านการเกษตร หวังป้องกัน ลดความเสี่ยงและความเสียหายของภาคเกษตร รวมทั้งฟื้นฟูให้กลับสู่ภาวะปกติและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

ศุกร์ ๐๗ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๒๔
นายปริญญา เพ็งสมบัติ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากปัญหาการเกิดภัยธรรมชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร พร้อมทั้งจัดทำแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากอุทกภัยด้านการเกษตร เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยงและความเสียหายของภาคเกษตร รวมทั้งฟื้นฟูให้เกษตรกรกลับสู่ภาวะปกติหรือพัฒนาให้ดีกว่าเดิม

นายพีรพันธ์ คอทอง รองโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากอุทกภัยด้านการเกษตร ปี 2559/60 แบ่งออกเป็น 4 แผนงาน 41 กิจกรรม วงเงิน 7,807.64 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) การป้องกันและเตรียมความพร้อมเพื่อลดผลกระทบ 3 ด้าน ได้แก่ การติดตามสภาพอากาศ/ปริมาณน้ำแผนบริหารจัดการน้ำรายจังหวัดกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำและบำรุงรักษาพื้นที่รับน้ำ ปฏิบัติการฝนหลวง การปรับรอบการผลิตในพื้นที่ลุ่มต่ำการจัดทำคันป้องกัน/Flood Way การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรการแนะนำการลดความเสี่ยงตรวจสอบฟาร์มสัตว์ดุร้ายแผนอพยพปศุสัตว์/บริหารพื้นที่อพยพ จัดทำบัญชีทรัพยากร เครื่องมือ อุปกรณ์ เสบียงสัตว์ เวชภัณฑ์ รวมทั้งการซักซ้อมแนวปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่การซักซ้อมระบบแจ้งเตือนสร้างความเข้าใจความเสี่ยง 2) การเผชิญเหตุ ได้แก่ การปรับแผนการบริหารน้ำ ติดตั้งเครื่องจักรเร่งระบายน้ำ เสริมคันกันน้ำ ทำนบชั่วคราว แจ้งเตือนพื้นที่ท้ายน้ำ การเสริมคันป้องกัน/สร้าง Flood Way เก็บผลผลิตเกษตร สัตว์น้ำ จำหน่ายอพยพปศุสัตว์/บริหารพื้นที่ส่งกำลังบำรุงเข้าพื้นที่ รวมทั้งระดมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและแนะนำเกษตรกรสื่อสารข้อมูลสถานการณ์น้ำและพื้นที่ปลอดภัย

3) การหยุดยั้งความเสียหาย การสำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังเกษตรเสริมกำลัง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ การตรวจ วินิจฉัย ป้องกันและกำจัดโรคพืช สัตว์ ประมง สนับสนุนเวชภัณฑ์เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากน้ำ บำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นในพื้นที่เกษตรกรรมโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ พด. 6 คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ประเมินความเสียหาย แจ้งสิทธิการช่วยเหลือตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 4) การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม ได้แก่ การซ่อม/สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานและ Flood Way จัดทำระบบป้องกันพื้นที่เกษตรที่สำคัญ การวิเคราะห์ความเสียหายและประเมินความต้องการ/ความจำเป็นในการฟื้นฟู และจัดทำแผนฟื้นฟูของจังหวัดฟื้นฟูของสภาพดิน ปรับปรุงบำรุงดินการสร้างรายได้ระยะสั้น และส่งเสริมการผลิตให้ดีกว่าเดิม การช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตการปรับรอบการผลิตการจัดทำแนวป้องกัน ทั้งนี้ การปฏิบัติตามแผน ได้เริ่มตั้งแต่ ห้วงเดือน พ.ค. โดยการปรับแผนบริหารจัดการน้ำ การส่งเครื่องจักร เครื่องสูบน้ำ เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ 112 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 26 เครื่อง ส่งผลให้พื้นที่น้ำท่วมขังสามารถกลับสู่ภาวะปกติได้ภายใน 4-7 วัน พื้นที่ได้รับผลกระทบที่จะสร้างความเสียหายต่อผลผลิตทางเกษตรลดลง 306,462 ไร่ ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ที่ประกาศเขตการให้ความ

ช่วยเหลือฯ อุทกภัย จำนวน 22 จังหวัด 99 อำเภอ 514 ตำบล 3,544 หมู่บ้าน 45 ชุมชน โดยกระทรวงได้สั่งการเร่งรัดให้สำรวจตรวจสอบความเสียหายสิ้นเชิง เพื่อให้เกษตรกรได้รับสิทธิตามระเบียบราชการภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน

นายพีรพันธ์ กล่าวต่อไปว่า การดำเนินการตามแผนดังกล่าว กระทรวงเกษตรฯ ได้ตั้งเป้าหมายว่า จะสามารถช่วยลดความเสียหายของภาคเกษตรลดลง 25% ของวงเงินการช่วยเหลือเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง คิดเป็นมูลค่าที่ละลดลงประมาณ 425 ล้านบาท นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) โดยบูรณาการข้อมูลของแต่ละหน่วยงานเพื่อวิเคราะห์ ประเมิน รวมทั้งถอดบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยจัดทำและบริหารข้อมูลเพื่อการแจ้งเตือน การป้องกัน และเตรียมพร้อมเพื่อลดผลกระทบต่อภาคเกษตรให้มากที่สุด โดยจะเร่งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกด้าน เพื่อให้กระบวนการให้ความช่วยเหลือเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทั่วถึง พร้อมทั้งพัฒนา ขยายเพิ่มช่องทางการแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารแก่เกษตรกรอย่างทั่วถึง และรวดเร็วเพื่อให้เกษตรกรสามารถเตรียมพร้อมรับมือและลดความเสี่ยงจากสถานการณ์ต่าง ๆเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เมื่อเกิดความเสียหาย และสามารถนำมาใช้สิทธิได้ทันที อย่างไรก็ตาม การป้องกันและเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยง การเผชิญเหตุ การพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ดังนั้น ก.เกษตรฯ จึงขอความร่วมมือเกษตรกร ในการประกอบอาชีพด้วยความระมัดระวัง สร้างภูมิคุ้มกัน ปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง โดยขอให้ 1) ติดตามสถานการณ์ และปฏิบัติตามข้อแนะนำของเจ้าหน้าที่ 2) ลดความเสี่ยงโดย ปรับรอบการผลิตให้เหมาะสม และป้องกันพื้นที่ลุ่มต่ำและทางน้ำหลาก 3) สอบทานทะเบียนเกษตรกรต่อเจ้าหน้าที่เกษตร ประมง ปศุสัตว์ ในพื้นที่ และ 4) หากประสบภัยต้องการความช่วยเหลือให้ติดต่อสำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน หรือ สายด่วน 1170

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ