สนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งระบุเงื่อนไขอย่างละเอียดและครอบคลุมว่าด้วยการห้ามพัฒนา ผลิต ครอบครอง สะสม ทดสอบ ใช้ หรือข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์ ถือเป็นผลพวงมาจากการเจรจาอย่างเข้มข้นของสมาชิกยูเอ็น ซึ่งประกอบด้วยรัฐบาลกว่า 120 ประเทศ รวมถึงตัวแทนจากภาคประชาสังคมอีกมากมาย
คิมิอากิ คาวาอิ ผู้อำนวยการฝ่ายสันติภาพและสิทธิมนุษยชนของสมาคมเอสจีไอ เป็นผู้หนึ่งที่ได้เข้าร่วมการเจรจาขั้นสุดท้ายที่นิวยอร์ก โดยเขาได้กล่าวว่า การคงอยู่ของอาวุธนิวเคลียร์เป็นภัยคุกคามต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์ พร้อมกับแสดงความเห็นว่า "การลงมติเห็นชอบสนธิสัญญาฉบับนี้ถือเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญมาก แม้ว่าประเทศที่ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์และประเทศที่ต้องพึ่งพาอาวุธนิวเคลียร์เกือบทั้งหมดจะไม่เข้าร่วมการประชุม แต่ยูเอ็นก็ได้ประกาศบรรทัดฐานทางศีลธรรมที่ชัดเจนมาก โดยได้รับแรงผลักดันจากความปรารถนาร่วมกันของผู้คนทั่วโลก อาวุธนิวเคลียร์เป็นสิ่งต้องห้ามไม่ว่าจะอยู่ในมือใครก็ตาม"
สมาคมเอสจีไอได้ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการในนามของฮิโรซึกุ เทราซากิ ผู้อำนวยการทั่วไปฝ่ายสันติภาพและประเด็นทั่วโลก เพื่อขานรับการลงมติเห็นชอบสนธิสัญญาดังกล่าว โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า "การดำรงอยู่ของอาวุธนิวเคลียร์ถือเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อสิทธิการมีชีวิตของแต่ละบุคคลรวมถึงมนุษยชาติโดยรวม ด้วยเหตุนี้ การกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้สิ้นซากไปจึงถือเป็นความปรารถนาร่วมกันของทุกคน" สามารถอ่านแถลงการณ์ได้ที่ http://www.sgi.org/resources/ngo-resources/peace-disarmament/ptnw-statement-july-2017.html
องค์กรภาคประชาสังคมอีกหลายแห่งที่ทำงานมานานหลายปีเพื่อสร้างโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ ก็ได้กล่าวยกย่องความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญที่รอมานานนี้เช่นกัน เช่น International Campaign to Abolish Nuclear Weapons (ICAN) ซึ่งร่วมมือกับสมาคมเอสจีไอมานานหลายปี ขณะเดียวกัน Faith Communities Concerned about Nuclear Weapons (องค์กรและบุคคลจากหลากหลายความศรัทธาและธรรมเนียม ได้แก่ SGI, PAX และ WCC) ก็ได้ออกแถลงการณ์สนับสนุนเช่นกัน สามารถอ่านแถลงการณ์ได้ที่ http://www.sgi.org/resources/ngo-resources/peace-disarmament/ptnw-joint-statement-july-2017.html
สมาคมเอสจีไอมุ่งมั่นที่จะสานต่อความพยายามในการให้ความรู้เรื่องการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งรวมถึงการจัดนิทรรศการสร้างความตระหนักรู้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบของอาวุธนิวเคลียร์ทั้งในด้านมนุษยธรรม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเผยแพร่ประสบการณ์จริงของเหยื่อจากเหตุการณ์ทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ (ฮิบากุฉะ)
ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 60 ปีที่ทางสมาคมเอสจีไอได้เริ่มทำกิจกรรมส่งเสริมการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ โดยโจเซ โทดะ ประธานคนที่สองของสมาคม ได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์เมื่อเดือนกันยายนปี 1957
คุณโทดะพรรณนาไว้ว่า อาวุธนิวเคลียร์คือสิ่งที่แสดงถึงมุมมืดที่สุดของจิตใจมนุษย์ ดังนั้น ทางสมาคมเอสจีไอจึงไม่เพียงให้ความรู้ในเรื่องของกลไกการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์เท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนความคิดของผู้คนด้วย เพราะพุทธศาสนาสอนให้คนเคารพในเกียรติของการมีชีวิต
เมื่อปี 2009 ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมเอสจีไอ ระบุไว้ว่า "หากเราต้องการข้ามผ่านยุคแห่งความน่ากลัวของอาวุธนิวเคลียร์ เราต้องต่อสู้กับ "ศัตรู" ที่แท้จริง ซึ่งไม่ใช่ตัวอาวุธนิวเคลียร์เอง หรือประเทศที่ครอบครองและพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ศัตรูที่แท้จริงที่เราต้องเผชิญหน้าคือ การคิดสร้างความชอบธรรมให้กับอาวุธนิวเคลียร์ ความคิดที่พร้อมกำจัดผู้อื่นเมื่อเห็นว่าเป็นภัยคุกคามหรือเป็นอุปสรรคในการบรรลุเป้าหมายของเรา"
โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ เอสจีไอ คือสมาคมพุทธศาสนาของชุมชนที่มีสมาชิก 12 ล้านคนทั่วโลก โดยกิจกรรมการส่งเสริมสันติภาพ วัฒธรรม และการศึกษา ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักมนุษยนิยมทางพระพุทธศาสนาที่ยึดถือมายาวนาน
ที่มา: โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล
ติดต่อ:
โจแอน แอนเดอร์สัน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล
โทร. +81-80-5957-4711
แฟกซ์: +81-3-5360-9885
อีเมล: anderson[at]soka.jp
AsiaNet 69248