บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมีฯ จับมือโรงเรียนในชุมชนนครหลวง ร่วมสร้างโครงการ “สวนสวยกินได้” ปลูกฝังความรู้ด้านการเกษตรเบื้องต้น และการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกต้องให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น

ศุกร์ ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๑๕
บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) นำทีมโดย นายณัฐกร จิตราภัณฑ์ ผู้จัดการทั่วไป สายงานกิจการทั่วไป จับมือกับโรงเรียนวัดเสด็จ (คุณศรีประเสริฐอุปถัมภ์) และโรงเรียนวัดละมุด (ร.ส.พ.ราษฎร์บำรุง) โรงเรียนในชุมชนละแวกโรงงานนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมสร้างโครงการ "สวนสวยกินได้" ในรูปแบบแปลงผักสาธิตต้นแบบที่ไม่เพียงสามารถรับประทานได้เท่านั้น แต่ยังมีความสวยงามควบคู่กันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของโครงการก็เพื่อปลูกฝังความรู้ทางด้านการเกษตรเบื้องต้นในการปลูกพืชผัก และการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกวิธี รวมถึงสนับสนุนวัตถุดิบในการทำอาหารกลางวันให้แก่เด็กๆ ซึ่งบริษัทฯคาดหวังว่า เด็กรุ่นใหม่จะสามารถนำความรู้ความเข้าใจจากโครงการ "สวนสวยกินได้" กลับไปประยุกต์ใช้กับที่บ้านของตนเอง และมีความเข้าใจเกี่ยวกับปุ๋ยเคมีที่ถูกต้อง อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างวินัย การรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน และที่สำคัญเด็กๆในโรงเรียนจะได้รับประทานผักสวนครัวที่สดสะอาดและปลอดภัยซึ่งปลูกด้วยตัวเองอีกด้วย และในอนาคตบริษัทฯมีแผนในการพัฒนาขยายโครงการนี้อย่างต่อเนื่องในอีกหลายๆโรงเรียนทั่วภูมิภาค

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ