ปภ. แนะข้อควรปฏิบัติในการใช้บันไดเลื่อนอย่างปลอดภัย...ลดเสี่ยงอุบัติเหตุ

เสาร์ ๒๒ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๐๘
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะการใช้บันไดเลื่อนอย่างถูกวิธี โดยขณะขึ้น – ลง บันไดเลื่อน ไม่ควรหยอกล้อกัน หรือเล่นโทรศัพท์ จับราวบันไดเลื่อนให้มั่น ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย โดยยกชายผ้าให้พ้นระดับพื้น ระมัดระวังรองเท้าส้นสูง หรือเชือกรองเท้าเข้าไปติดในซี่ร่องบันไดเลื่อน ทำให้ได้รับอันตรายได้

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อุบัติเหตุจากบันไดเลื่อน มักมีสาเหตุจากความประมาท และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้งาน รวมถึงสภาพบันไดเลื่อนที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยและขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการใช้บันเลื่อนอย่างถูกวิธี ดังนี้ การขึ้น – ลงบันไดเลื่อน มองจังหวะการเคลื่อนตัวของบันไดเลื่อนพร้อมก้าวเท้าขึ้นบันไดเลื่อนให้พอดีกับขั้นบันได ไม่วางบนเท้าบนเส้นสีเหลือง เพราะเป็นตำแหน่งของขั้นบันไดที่แยกออกจากกัน ทำให้เสียการทรงตัวและหกล้มได้ ตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องแต่งกาย พร้อมยกชายผ้าให้พ้นระดับพื้น รวมถึงผูกเชือกรองเท้าให้แน่น เพื่อป้องกันมิให้ชายผ้าเข้าไปติดในช่องหรือซี่ร่องบันไดเลื่อน ทำให้ได้รับอันตรายจัดเก็บไม้ค้ำยัน ไม้เท้า หรืออุปกรณ์ช่วยเดินอื่นๆ ให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม หากมีรถเข็น ควรใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนสำหรับรถเข็น เพราะล้อรถเข็นอาจลื่นไถลหรือสะดุดกับพื้นต่างระดับของบันไดเลื่อน ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ รวมถึงจัดล้อรถเข็นให้เข้าที่ เพื่อป้องกันรถเข็นเคลื่อนตัวไปชนผู้อื่น เตรียมพร้อมที่จะก้าวเท้าออกจากบันไดเลื่อน ไม่หยอกล้อกัน หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ควรก้าวเท้าก่อนถึงบันไดเลื่อนขั้นสุดท้าย รวมถึงเพิ่มความระมัดระวังขณะก้าวเท้า เพื่อป้องกันการสะดุดล้มหรือชนผู้ที่อยู่ด้านหลัง ขณะยืนบนบันไดเลื่อน จับราวบันไดเลื่อนให้มั่นจะช่วยป้องกันการเสียการทรงตัวและควรยืนชิดด้านขวา เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับผู้ที่เดินขึ้น – ลง บันไดเลื่อนไม่วางสิ่งของบนบันไดเลื่อน เพราะเศษวัสดุอาจเข้าไปเกี่ยวในซี่ร่องบันไดเลื่อน หากถือสิ่งของทั้งสองมือ ควรเปลี่ยนมารวมไว้ในมือเดียว เพื่อให้สามารถจับราวบันไดเลื่อนได้สะดวก หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงอันตราย เช่น ยืนพิงกับขอบด้านข้างของบันไดเลื่อน นั่งราวจับของบันไดเลื่อน นั่งบนบันไดเลื่อน ยื่นศีรษะ หรือลำตัวออกนอกราวจับของบันไดเลื่อน ยื่นเท้าชิดขอบข้างของบันไดเลื่อน เป็นต้น เพราะอาจได้รับอันตรายได้ ข้อควรระวังในการใช้บันไดเลื่อนไม่ใช้บันไดเลื่อนในการขนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก เพราะบันไดเลื่อนอาจรับน้ำหนักไม่ไหว ทำให้เกิดอันตรายได้ เพื่อความปลอดภัย ควรใช้ลิฟต์โดยสาร ไม่ขึ้นหรือลงทวนการเคลื่อนตัวของบันไดเลื่อน เช่น ขึ้นบันไดที่เลื่อนลง หรือลงบันไดที่เลื่อนขึ้น เป็นต้น เพราะอาจสะดุดล้ม กรณีบันไดเลื่อนไม่ทำงาน ควรงดใช้บันไดเลื่อนเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นที่มีพื้นแข็งเสมอกัน เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม เพิ่มความระมัดระวังในการสวมรองเท้าส้นสูงขณะขึ้น – ลงบันไดเลื่อน เมื่อใกล้ถึงปลายทางบันไดเลื่อน ให้รีบก้าวเท้าข้ามบันไดเลื่อนขั้นสุดท้าย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกบันไดเลื่อนหนีบ กรณีรองเท้าเข้าไปติดในซี่ร่องบันไดเลื่อน ให้รีบถอดรองเท้าออกทันที

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๘ SME D Bank ผนึกกำลัง Student Care ติดปีกรับเทรนด์การศึกษายุคใหม่ เผยความสำเร็จร่วมลงทุนทะลุ 1,500 ลบ. ต่อยอดพาเอสเอ็มอีสู่ตลาดหลักทรัพย์ 5
๑๖:๒๕ GDH จัดเสิร์ฟความเข้มข้นรับต้นปี!! เปิดตัวภาพยนตร์ แฟลตเกิร์ล ชั้นห่างระหว่าง เ รา
๑๖:๕๕ สตาร์บัคส์ ร่วมกับ LINE MAN ยกระดับ ประสบการณ์สตาร์บัคส์ ไปอีกขั้น ให้สมาชิก Starbucks(R) Rewards สามารถสะสมดาวได้แล้วผ่าน LINE
๑๖:๒๐ JMART - JMT มุ่งเป้าปี 2568 เติบโตต่อเนื่อง JMT กลับมาเติบโตตามเป้าหมาย พร้อมดันแผน New S-Curve CommerceTech และ
๑๖:๓๖ เปิดลิสต์ 7 อาหารช่วยชะลอวัย
๑๖:๔๗ ส. ขอนแก่น คว้ารางวัล BRONZE ประเภท Brand Experience Communication แคมเปญการตลาดแห่งปี แกล้มได้ทุกเรื่องเล่า จากเวที Marketing Award of Thailand
๑๖:๒๑ เนสท์เล่ ต่อยอดความสำเร็จ ภารกิจพิชิตสุขภาพดี สนับสนุนกทม. ในโครงการสร้างความรอบรู้สู่สุขภาพดีวิถีวัยทำงานข้าราชการและบุคลากรของกรุงเทพมหานคร
๑๖:๑๖ กรุงไทยคว้ารางวัลใหญ่ระดับภูมิภาค International Innovation Awards 2024 ตอกย้ำผู้นำนวัตกรรมการเงินยั่งยืน
๑๖:๔๖ ไทยพาณิชย์ตอกย้ำธนาคารยอดเยี่ยมเพื่อลูกค้าเอสเอ็มอี กวาด 7 รางวัล จากเวทีชั้นนำในปี 2024 พร้อมดูแลลูกค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืน
๑๖:๕๑ ปตท. คว้าอันดับ 1 มูลค่าแบรนด์สูงสุดในไทย 4 ปีซ้อน สะท้อนความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืน