แพทย์เตือนฤดูฝนปราบยุงลายป้องกันไข้เลือดออก

จันทร์ ๒๔ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๒๒

กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิคุ้มกัน

โรงพยาบาลพระรามเก้า

ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ การเพาะพันธุ์ของยุงลายก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออกที่จะตามมาในที่สุด โดยเฉพาะหากเกิดกับช่วงวัยเด็กหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ก็มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด จึงทำให้โรงพยาบาลพระรามเก้า ชักชวนประชาชนร่วมรณรงค์ "วันไข้เลือดออกอาเซียน 2017" เพื่อร่วมใจปราบยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก ขณะเดียวกัน ล่าสุด พบว่าในแถบประเทศอาเซียนพบเชื้อไวรัสเดงกีได้ 4 สายพันธุ์ และประเทศไทยพบได้ทุกสายพันธุ์ ซึ่งมีมานานแล้ว และไม่มีสายพันธุ์ใหม่

พญ.ฉัฐฐิมา เสาวภาคย์ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า แนะนำให้ประชาชน และผู้ปกครองเน้นตั้งแต่ต้นเหตุ คือ การดำเนินการไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในฐานพื้นที่ 6 ร. คือ โรงเรือน โรงเรียน โรงแรม โรงงาน โรงธรรมและโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลเองนับว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ต้องทำให้เป็นโรงพยาบาลสะอาดปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย : Green and Clean Hospital เพื่อปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และปลอดลูกน้ำยุงลาย เพราะโรงพยาบาลเป็นสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และเป็นสถานที่สาธารณะที่ประชาชนมาใช้บริการเป็นจำนวนมากที่ผ่านมาเป็น "วันไข้เลือดออกอาเซียน" (ASEAN Dengue Day) โดยในปีนี้ ปี 2560 เป็นปีแรกที่กลุ่มอาเซียนกำหนดการรณรงค์ คือ United Fight Against Dengue หรือ ประชารัฐร่วมใจปราบยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศอาเซียน โดยหากดูจากข้อมูล พบว่า มีผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกว่าปีละ 200,000 ราย ซึ่งจากผลสำรวจครึ่งปีแรกมีรายงานผู้ป่วยใน 7 ประเทศอาเซียน ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม รวม 69,213 ราย และเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกไปแล้ว 57 ราย ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ในปี 2560 พบว่าช่วงครึ่งปีแรก (ตั้งแต่เดือน ม.ค.–พ.ค. 2560 ) มีผู้ป่วยแล้ว 11,062 ราย เสียชีวิต 21 ราย จากข้อมูลพบว่าในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด เป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก (ผู้ใหญ่ 12 ราย เด็ก 9 ราย) แสดงว่าโรคไข้เลือดออกไม่ได้เป็นในเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่ก็เป็นได้และอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ภาวะอ้วน ที่เสียชีวิตในปีนี้ 5 ราย โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยคาดว่าตลอดปี 2560 ไทยจะพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกประมาณ 75,000 ถึง 80,000 ราย ทั้งนี้ ในแถบประเทศอาเซียนสามารถพบเชื้อไวรัสเดงกีได้ 4 สายพันธุ์ ในประเทศไทยพบได้ทุกสายพันธุ์ ซึ่งมีมานานแล้ว และปัจจุบันไม่มีสายพันธุ์ใหม่ และในปี 2560 นี้ สายพันธุ์ที่พบมากในไทยคือสายพันธุ์ที่ 2 ส่วนอาการป่วยขึ้นอยู่กับว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ซึ่งหากพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกอาการมักไม่รุนแรง อาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งที่สองด้วยสายพันธุ์ที่ต่างไป ซึ่งจะทำให้มีภาวะเลือดออกและช็อกได้

นอกจากนี้ เน้นย้ำให้ประชาชนทุกคน ป้องกันไข้เลือดออกด้วยตัวเองโดยการปฏิบัติ 5 ป. และ 1 ข. ได้แก่ ป.ปิด คือ ปิดภาชนะน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ ป.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกัน ทุกๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง ป. ปล่อย ปล่อยปลาหางนกยูงให้กินลูกน้ำในภาชนะ ป.ปรับ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ให้ปลอดโปร่ง โล่งสะอาดลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย ป.ปฏิบัติ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย และ 1 ข. ขัดไข่ยุงลาย รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ไวรัสเดงกี 4 สายพันธุ์ ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถป้องกันและห่างไกลจากภัยเงียบไข้เลือดออกได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ