"การขยายตัวของการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่สินค้าและบริการของไทยเป็นที่ชื่นชอบและได้รับความเชื่อมั่นเรื่องมาตรฐานจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงการขยายฐานการลงทุนและใช้แรงงานในเพื่อนบ้าน ทำให้เศรษฐกิจในจังหวัดชายแดน เช่น มุกดาหาร ตากสระแก้ว และอีกหลายๆ จังหวัดมีการเติบโตและขยายตัวอย่างชัดเจน เห็นได้จากธุรกิจค้าปลีกมีการเปิดสาขาในเมืองชายแดนและธุรกิจบริการเช่น โรงพยาบาล โรงแรม มีการเข้ามาใช้บริการจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น. การเดินทางเข้าออกที่สะดวก ทำให้เกิดการท่องเที่ยวจับจ่ายซื้อสินค้า ซึ่งถือเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจร่วมกันระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในด้านการส่งออก - นำเข้าและการพัฒนาพื้นที่ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลไทยที่เน้นการเติบโตไปด้วยกัน หรือ Stronger together " นางอภิรดีกล่าว
นางอภิรดีกล่าวเพิ่มเติมว่า "ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดให้มีการเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและภูมิภาค ซึ่งถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์ โดยเฉพาะการพัฒนาและส่งเสริมการค้าชายแดน ที่ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งที่ต้องผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยปัจจุบันอาเซียนเป็นตลาดการค้าหลักที่สำคัญของไทย ซึ่งในปี 2559 ที่ผ่านมาไทยมีการค้ากับอาเซียนรวม 3.21 ล้านล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 22 ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับโลก ด้วยเหตุนี้ ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่ มาเลเซีย เมียนมา กัมพูชาสปป.ลาว และเวียดนาม มีบทบาทที่สำคัญต่อยุทธศาสตร์การเข้าสู่อาเซียนของไทย ทั้งในฐานะคู่ค้า และหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญนอกจากนี้ การที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณจุดศูนย์กลางของอาเซียนและมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ จึงทำให้ไทยมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางด้านการคมนาคมและขนส่งสินค้าในอาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสูงที่มีขนาดประชากรประมาณ 600 ล้านคน และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในเอเชียทั้งจีนและอินเดีย ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นภูมิภาคที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ ความเชื่อมโยงกันภายในภูมิภาคอาเซียนจึงก่อให้เกิดการค้าการลงทุนภายในภูมิภาคเพิ่ม มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน"