สูงวัยไทยแลนด์ อยู่อย่างไรในสังคมทุนนิยม แสวงหาหลักประกันทางรอดหรือทางร่วง บทสรุปการปรับมุมมอง สร้างชุมชนสวัสดิการ คือทางออก

อังคาร ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๔๐
ณ เวทีเสวนา "สังคมสูงวัย ประชาสังคมไทย (CSO) ต้องช่วยกัน" ซึ่งจัดโดยสมาคมบ้านปันรัก ร่วมกับสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลมุมมองที่มีประโยชน์ ต้อนรับสังคมผู้สูงวัยในยุคประเทศไทย 4.0 โดยได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงาน ที่ทำภารกิจในการดูแลปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของสังคมผู้สูงวัย การเตรียมพร้อมและชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการพัฒนานโยบายและแผนงานซึ่งควรจะเชื่อมไปสู่สิ่งที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

? สุวิมล มีแสง หัวหน้างานพัฒนาองค์ความรู้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)ได้กล่าวถึงภาพรวมด้านประชากรศาสตร์ไว้ว่า "ปัจจุบันอัตราการเกิดและอัตราการตายของสังคมไทยอยู่ในสภาวะที่เกือบเท่ากัน คนมีบุตรกันน้อยลง เทคโนโลยีช่วยให้มีอายุที่ยาวนานขึ้น และภายในปี 2564 นี้ ประเทศไทยจะก้าวสู่ความเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว นั่นคือ ใน 100 คนมีคนสูงอายุ 20 คน คำถามคือวันนี้เรามีความพร้อมกันมากน้อยแค่ไหน หรือเราได้เตรียมออกแบบชีวิต กันไว้ดีอย่างไร คงเป็นคำถามที่ต้องการการขยายและบอกต่อ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ เนื่องจากเป็นเรื่องราวที่น่าวิตกหากคนในสังคมยังไม่ได้มีการเตรียมการใดไว้รองรับ

? จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้นำเสนอ มุมมองเรื่องความสุขของผู้สูงวัยว่าผู้สูงวัยจะมีความพึงพอใจกับอนาคตของตน ด้วยบริบทต่างๆดังนี้ คือ 1.การมีสุขภาพที่ดี 2.การมีรายได้ที่เพียงพอ 3.การมีเงินออม และสุดท้าย คือการที่สามารถอยู่ร่วมและดำเนินกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ดังนั้น คือการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสอดคล้องไปกับสังคมที่เปลี่ยนไป หากทำได้เชื่อเหลือเกินว่าคนสูงวัยจะมีความสุขไปตามการก้าวทันของกาลเวลาแน่นอน"

? ขณะที่ ผศ.ดร.วีรณัฐ โรจนประภา นักวิชาการด้านสังคมผู้สูงวัย ร่วมแบ่งปันข้อมูล ในฐานะที่ทำงานทั้งเชิงนโยบายและกิจกรรมในกลุ่มผู้สูงวัยมายาวนานกว่า 8 ปี ในฐานะนายกสมาคมบ้านปันรัก กล่าวว่า "ปัญหาสังคมสูงวัยนี้การแก้ไขสำคัญต้องมาจากชุมชนร่วมกันสร้างความอบอุ่น มั่นคงขึ้นในพื้นที่นั่นถึงจะเป็นการสร้างหลักประกันกันอันยั่งยืนให้กับผู้สูงอายุอย่างแท้จริงซึ่งสิ่งนี้จะมั่นคงยิ่งกว่าจะไปพึ่งเพียงเบี้ยยังชีพหรือแม้แต่ระบบประกันสังคมจากภาครัฐ ซึ่งในความเป็นจริงเรามีเครื่องมือชิ้นนี้อยู่แล้ว คือ องค์กรสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นการรวมกันของชุมชนทั้งในเชิงพื้นที่ และในเชิงประเด็นหน้าที่ของรัฐจึงควรจะสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือชิ้นนี้อย่างเป็นรูปธรรม สนับสนุนให้ชุมชนรวมตัวกันแก้ไขปัญหาของตนเองให้มาก โดยเริ่มจากการวางวิสัยทัศน์ที่ต้องมุ่งไปที่การเป็นขุมชนสวัสดิการนี้ เพื่อให้ทุกแผนงานและกิจกรรมออกมาสอดรับกัน"

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาเรื่องผู้สูงวัยนั้น ผศ.ดร.วีรณัฐ เสนอทางออกไว้ว่า "จุดแรกก็ต้องเริ่มกันตั้งแต่การปรับเปลี่ยนวิธีคิด เพราะหากเราเริ่มต้นด้วยวิธีคิดที่ไม่ถูก เราก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่าง อย่างเรื่องจำนวนเงินออมที่ต้องมีเมื่ออายุ 60 นั้น หากคิดแบบทุนนิยมแม้จะมี 4 ล้าน 6 ล้านจริงตามโปรแกรมที่คำนวณได้แต่สุดท้ายใจมันก็จะยังวิตกอยู่ ยังไม่รู้สึกปลอดภัย ยังกลัวอยู่ วิธีวางแผนเรื่องนี้จึงมิใช่เพียงการออมเงินแต่ต้องเป็นการสร้างความมั่นคงทางปัจจัย 4 ในการดำรงชีพ นอกจากนี้ยังต้องมาดูบริบทที่ผู้สูงอายุยุคนี้ต้องใช้ชีวิตอยู่ นั่นคือ เป็นบริบทของประเทศไทย 4.0 ที่เรื่องเทคโนโลยีมีบทบาทมากผู้สูงอายุจำเป็นต้องเรียนรู้และยอมรับ เพราะยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาไปไกลเท่าใด ก็ยิ่งเป็นการผลักให้ผู้สูงวัยหลุดออกไปจากสังคมไกลเท่านั้นซึ่งนี่เป็นกิจกรรมหลักของสมาคมบ้านปันรักมาตั้งแต่เกือบสิบปีก่อน คือ การลดช่องว่างที่เทคโนโลยีสร้างไว้ในชีวิตผู้สูงอายุ และอีกภารกิจหลักของสมาคมก็คือการปรับภาระเป็นพลัง กระตุ้นให้ผู้สูงอายุที่มาเรียนจากการเป็นผู้รับให้เปลี่ยนมาเป็นผู้ให้ ที่นี่จึงไม่ใช้ KPI หรือตัวชี้วัดในด้านปริมาณของคนเรียนแต่เป็นจำนวนนักเรียนที่กลายไปเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพออกมาแบ่งปันให้สังคมด้วยวิชาความรู้ที่แต่ละท่านมีอยู่ในตัวไม่ว่าจะเป็นกฎหมาย ภาษี การเงิน สุขภาพ หรือศิลปะ เพื่อจะได้รองรับสังคม Knowledge Base Society หรือสังคมแห่งฐานความรู้ อันเป็นคุณสมบัติจำเป็นของผู้สูงวัยที่ต้องมีองค์ความรู้ที่สามารถสร้างพลังในตนเองขึ้นมาใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าในยุค Aged Society ชุมชนจึงควรสร้างพื้นที่ของการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ แก่ผู้สูงวัย จัดให้มี Informal Education หรือเรียกว่าการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สูงวัยได้เรียนรู้และให้ความรู้ตามความสนใจ ตามความถนัด ตามความฝัน ซึ่งทั้งหมดนี้ คือสิ่งที่จะทำให้เราได้มีผู้สูงวัยที่เปี่ยมสุขและมีคุณภาพอย่างแท้จริง"

? ถึงเวลาที่ภาคชุมชนจะรวมพลังและร่วมมือกันจัดสรรดูแลกันและกันในชุมชนเพื่อให้เกิดหลักประกัน ตามวิถีของแต่ละชุมชน ซึ่งนั่นจะเป็นการสร้างชุมชนที่เข้มแข็งและสร้างความอบอุ่น ใกล้ชิดให้เกิดขึ้น อันเป็นการลดความเป็นทุนนิยม สู่วิถีแห่งความสุข เกื้อหนุนและแบ่งปัน ทั้งหมดนี้คือบทสรุปของงานเสวนา We are CSO ใคร ๆ ก็เป็นได้ Forum 01 "สังคมสูงวัย ประชาสังคมไทย (CSO) ต้องช่วยกัน" ครั้งนี้ซึ่งยังมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาจากตัวแทนภาคประชาสังคม ที่ทำงานหลากหลายประเด็น อาทิ เด็กและเยาวชน ชุมชน แรงงาน และนักวิชาการ มาร่วมเสนอมุมมอง เช่น เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป กรรมการผู้จัดการมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก กรรณิการ์ บันเทิงจิตร ผจก.สนง.สนับสนุนนโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย อรุณี ศรีโต ผู้ประสานงานแรงงานนอกระบบภาคประชาชน และรัศมี มณีนิล นักจัดรายการวิทยุเพื่อเด็กและครอบครัว เพื่อทำความเข้าใจในบทบาทภาคประชาสังคมกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ด้านต่างๆ โดยจะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในตามภูมิภาคต่างๆ ตลอดปี 2560 นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๕ โบว์ เมลดา เปิดตัว สวยปัง ขายแปลก พร้อมประมูลตัวคณิกาน้องใหม่!!
๑๗:๐๐ เขตพระนครประสานเจ้าของพื้นที่-ผู้เช่าเร่งหาข้อยุติรื้อย้ายแผงค้าตลาดส่งเสริมการเกษตร
๑๗:๐๐ กทม. กำชับ รฟม. เข้มมาตรการลดผลกระทบโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม-ล้อมย้ายต้นไม้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
๑๗:๑๗ คุ้ย-ทวีวัฒน์ รุกหนักตลาดหนังสยองขวัญ-เปิด 13 สตูดิโอ ยิ่งใหญ่ ไลน์อัพหนังบิ๊กโปรเจค-ดึงดาราเอลิสต์ร่วมงาน 7 เรื่อง 7
๑๗:๐๗ Zelection Interior บริการอินทีเรียดีไซน์หรู จากเอสบี ดีไซน์สแควร์ ยกระดับงานตกแต่งภายในไปอีกขั้น ด้วยนวัตกรรมจากคอลเลกชันใหม่
๑๗:๔๔ SAM ยกระดับบริการ สายด่วน 1443 ตอบครบจบในเบอร์เดียว
๑๗:๕๒ บางกอกแอร์เวย์สชวนหอเจี๊ยะฉลองรับตรุษจีน เสิร์ฟเมนูมงคล ขนมหัวผักกาดกุ้ง ณ บลูริบบอนคลับเลานจ์ สนามบินสมุย
๑๗:๑๘ พิซซ่า ฮัท เสิร์ฟความฟิน Melts Fever ลดฟินเวอร์ เริ่มต้นเพียง 119 บาท
๑๗:๑๐ อิ่มอร่อยพร้อมรับโชคต้อนรับปี มะเส็ง ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนกับแมริออท บอนวอย ในประเทศไทย
๑๖:๐๓ บิ๊กบอส LEO ลั่น!กอดหุ้นแน่น มั่นใจปัจจัยพื้นฐานแกร่ง-อนาคตสดใส ย้ำ! ลุยธุรกิจตามยุทธศาสตร์ LEO Go Green