ปภ.ติดตั้งสถานีด้านพิกัดและระดับความสูงเพื่อประเมินความเสียหายด้วยระบบดาวเทียมนำทาง ในพื้นที่เสี่ยงภัยภาคกลาง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานาสากล

อังคาร ๐๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๓๖
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลางจำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการจัดทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัยการจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล สอดรับกับนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สาธารณภัยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น สร้างความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการสาธารณภัยที่ครอบคลุมทุกมิติ โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีพิกัดและระดับความสูง เพื่อประเมินความเสียหายในพื้นที่เสี่ยงภัย ด้วยระบบดาวเทียมนำทาง GNSS (Global Navigation Satellite System) สำหรับเป็นหมุดหลักฐานอ้างอิงในการทำแผนที่เสี่ยงอุทกภัย การจัดทำรังวัดที่ได้มาตรฐาน การประเมินความเสียหายของพื้นที่ประสบอุทกภัย และมาตรฐานเวลาของประเทศไทย โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เป็นหน่วยสนับสนุนด้านเทคนิคและบุคลากรในการติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐานด้านเวลาและความถี่ สถานีอ้างอิงแบบถาวร เพื่อใช้เป็นโครงข่ายหมุดหลักฐานอ้างอิงสำหรับพิกัดและเวลามาตรฐานของประเทศไทย ด้วยระบบดาวเทียมนำทางในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคกลาง จำนวน 6 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี ปราจีนบุรี นครปฐม สมุทรปราการ และอ่างทอง พร้อมเชื่อมโยงกับสถานีฐานของกรมที่ดิน และกรมโยธาธิการและผังเมือง รวม 83 สถานี และภายในปี พ.ศ. 2561 จะเพิ่มจำนวนเป็น 222 สถานีทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลหลักค่าพิกัดทางราบและทางดิ่งที่มีความแม่นยำสูง เวลามาตรฐาน

ของประเทศไทย และข้อมูลสภาวะแวดล้อมในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง อาทิ อุณภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการสาธารณภัยของประเทศ การพัฒนาด้านคมนาคมและขนส่ง การจัดทำ Smart City รวมถึงบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดอนุสาวรีย์หมุดหลักฐานสำหรับอ้างอิงค่าพิกัดและเวลามาตรฐานประเทศไทย ด้วยสัญญาณจากระบบดาวเทียมนำทางสากล ในวันที่ 1 สิงหาคม 2560 ณ อาคารผดุงมาตร สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี กล่าวได้ว่า โครงการฯ ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการสาธารณภัยตามมาตรฐานสากล รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบาย "Thailand 4.0" ของรัฐบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม