สพฉ.เปิดสถิติการให้บริการตามสิทธิ UCEP ตั้งแต่ให้บริการ 3 เดือนไร้ปัญหา มีผู้ใช้สิทธิกว่า 8 พันราย พบคนกรุงใช้สิทธิมากขึ้น ขณะที่ประชาชนเข้าใจการใช้สิทธิมากขึ้น พร้อมเน้นย้ำประชาชนจดจำ 6 อาการฉุกเฉินวิกฤต

พุธ ๐๒ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๒๘
สพฉ.เปิดสถิติการให้บริการตามสิทธิ UCEP ตั้งแต่ให้บริการ 3 เดือนไร้ปัญหา มีผู้ใช้สิทธิกว่า 8 พันราย พบคนกรุงใช้สิทธิมากขึ้น ขณะที่ประชาชนเข้าใจการใช้สิทธิมากขึ้น พร้อมเน้นย้ำประชาชนจดจำ 6 อาการฉุกเฉินวิกฤต

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้สรุปผลการปฏิบัติงานของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (ศคส.สพฉ.) หรือ UCEP Coordination Center ประจำเดือน มิถุนายน 2560 พบสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น 2,176 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 1,051 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 679 ราย จากสิทธิประกันสังคม 124 ราย จากสิทธิข้าราชการ 211 ราย และสิทธิกองทุนอื่น ๆ อีก 16 ราย โดยกลุ่มที่ใช้สิทธิมากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมาคือสิทธิประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

ขณะที่ยอดสะสมรวม 3 เดือน ตั้งแต่เริ่มให้บริการตามนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่" พบสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น 8,232 ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 3,507 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.60 ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 2,299 ราย จากสิทธิประกันสังคม 437 ราย จากสิทธิข้าราชการ 645 ราย และสิทธิกองทุนอื่น ๆ อีก 126 ราย และจังหวัดที่เข้ารับบริการมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมา คือ สมุทรปราการ ชลบุรี พิษณุโลก นนทบุรี และสมุทรสาคร

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ กล่าวเพิ่มเติมถึงการดำเนินงานตามสิทธิ UCEP ว่า ที่ผ่านมาประชาชนเริ่มเข้าใจการใช้สิทธิมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากสถิติตัวเลขผู้ป่วยที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในแต่ละเดือนลดลงเรื่อยๆ และ การประสานงานระหว่าง ฝ่ายต่างๆ มีปัญหาอุปสรรคลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ร้องเรียน จำนวน 24 ราย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความเห็นต่างกับผลการวินิจฉัยของแพทย์ และการขอใช้สิทธิ นอกจากนี้มีการขอคำปรึกษาทางการแพทย์กับแพทย์เวรของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต จำนวน 63 สาย และมีสายโทรสอบถามจากประชาชน 3,662 สาย

สำหรับ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน วิกฤต คือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด ซึ่งอาการทั้งหมดนี้อยากให้ประชาชนจำให้แม่น หากพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตาม 6 อาการ ให้รีบโทรสายด่วน 1669 เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลที่เหมาะสมทันที หรือหากสถานพยาบาลมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ โทร 02-8721669 หรือ[email protected] ตลอด24ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ