กระทรวงเกษตรฯ จับมือ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมลงนาม MOU โครงการแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri - Map) บูรณาการข้อมูลเพื่อการเกษตรของประเทศอย่างครบวงจร

พุธ ๐๒ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๒๓:๔๓
วันนี้ (18 ก.ค.60) เวลา 13.00 น. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมด้วยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ โครงการแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) โดยมี นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมลงนาม ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ด้วยความสำคัญของภาคเกษตรกรรมที่มีต่อภาคเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งรายได้หลักของคนส่วนใหญ่ซึ่งมีอาชีพทำการเกษตร ทั้งพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศยังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นฐานในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรมในประเทศที่สำคัญ ประกอบกับเกษตรกรรายย่อยมักประสบกับปัญหารายได้ต่ำ เนื่องจากความผันผวนทางการตลาด และการขาดการวางแผนจัดการการผลิตที่ดี และไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการเพาะปลูกในแปลงของตนเอง ในขณะที่ภาครัฐก็ขาดข้อมูลภาคสนามที่ถูกต้องสมบูรณ์ ทำให้การวางแผนในระดับมหภาคไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดิน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมมือกันจัดทำระบบบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ภายใต้ชื่อโครงการ แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri - Map) โดยนำเอาข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน ไปใส่ในระบบโมบายด์ หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร รวมทั้งนักวิชาการต่าง ๆ ที่ต้องการนำเอาข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการผลิตด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง ตลอดทั้งการปลูกพืชในพื้นที่ที่เหมาะสมโดยไม่บุกรุกในพื้นที่ป่า และมีส่วนสำคัญในการช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ให้สอดคล้องกับตลาด ซึ่งเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ) ในการสนับสนุนการใช้ประโยชน์แผนที่ Agri - Map ให้เกิดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

"การลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างทั้งสองกระทรวง จะทำให้โครงการแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบ โดยจะเป็นความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาแผนที่การเกษตร (Agri-Map) ในระบบออนไลน์และโมบายด์ เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้ข้อมูลในการวางแผน และจัดทำนโยบายด้านการเกษตร และให้บริการข้อมูลแผนที่การเกษตรแก่เกษตรกร เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ และผู้สนใจทั่วไป" นายธีรภัทร กล่าว

ด้าน รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค-สวทช. มีเทคโนโลยีที่พร้อมจะไปสนับสนุนโครงการ Agri - Map โดยมีการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านการบูรณาการข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ที่ชื่อว่าWhat2Grow ซึ่งเป็นระบบบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม จากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิ ข้อมูลแผนที่ ข้อมูลการผลิต ผลผลิต สภาพพื้นดิน ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูก ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านราคา แหล่งรับซื้อ และเครื่องมือสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อสร้างโมเดลแนะนำพืชทดแทนให้เกษตรกร สามารถวิเคราะห์และพัฒนาเป็นแบบจำลองในการโซนนิ่งภาคการเกษตรที่เหมาะสม สามารถบริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติและบริหารผลผลิตได้ดีขึ้นอันเป็นผลให้เกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น

ทั้งนี้ เกษตรกรและประชาชนทั่วไปสามารถใช้งาน Agri-Map Mobile ได้ที่ http://agri-map-online.moac.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ