ก.ล.ต. ชี้แจงกรณีถูกกล่าวหาใช้สองมาตรฐานในการถอนชื่อผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน

พุธ ๐๑ พฤศจิกายน ๒๐๐๖ ๑๑:๔๗
กรุงเทพฯ--1 พ.ย.--ก.ล.ต.
ตามที่ปรากฏการให้ข่าวของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีที่ ก.ล.ต. ถอดถอนรายชื่อผู้บริหาร 4 รายของ บมจ. ทีพีไอ โพลีน (TPIPL) แต่ ก.ล.ต. ไม่ใช้มาตรฐานเดียวกันนี้กับคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บมจ. อุตสาหกรรมปิโตรเคมิกัลไทย (TPI) ในกรณีจ่ายเงินย้อนหลังและการเบิกเงินของบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัด ที่ทำให้เกิดความเสียหายให้แก่บริษัท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น
ก.ล.ต. ขอชี้แจงว่า ระบบข้อมูลรายชื่อผู้บริหารเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ กจ. 5/2548
เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ลงวันที่ 17 มกราคม 2548 โดยประกาศดังกล่าวกำหนดให้บริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อ ก.ล.ต. ต้องแสดงชื่อผู้บริหารของบริษัทไว้ในระบบ นอกจากนั้น ยังเปิดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ที่ประสงค์จะขอแสดงชื่อผู้บริหาร สามารถส่งชื่อผู้บริหารเข้ามาในระบบได้ด้วย ทั้งนี้ ในเรื่องที่ผู้บริหารถูกกล่าวโทษหรือฟ้องร้องดำเนินคดีซึ่งมีผลต่อการแสดงชื่อในระบบดังกล่าว แยกเป็นสองลักษณะ ดังนี้
1. กรณีถูกกล่าวโทษหรือถูกดำเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย (ซึ่งได้แก่ ก.ล.ต. ธนาคารแห่งประเทศไทย กรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นต้น) ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต ก.ล.ต. จะนำชื่อผู้บริหารรายดังกล่าวออกจากระบบข้อมูลเมื่อมีการกล่าวโทษหรือดำเนินคดี
2. กรณีร้องทุกข์ กล่าวโทษ หรือถูกฟ้องร้องหรือดำเนินคดีโดยเอกชน ก.ล.ต.
จะพิจารณาว่า ผู้บริหารรายดังกล่าวมีลักษณะต้องห้ามเนื่องจากถูกดำเนินคดีอาญาโดยหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมาย เมื่อกระบวนการดำเนินมาถึงขั้นตอนที่มีการแจ้งข้อกล่าวหา หรือการชี้มูลความผิดโดยหน่วยงานทางการ เช่น ตำรวจ หรือ ป.ป.ช. และจากนั้น ก.ล.ต. จึงจะถอนชื่อผู้บริหารรายที่ถูกหน่วยงานทางการแจ้งข้อกล่าวหา หรือชี้มูลความผิดดังกล่าว
กรณีที่นายประชัยยกขึ้นในการให้ข่าวสองกรณีข้างต้นไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้ เนื่องจากกรณีผู้บริหารของ TPIPL 4 ราย เป็นการสั่งฟ้องโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษและอัยการ ซึ่งเข้าลักษณะตามข้อ 1 ส่วนกรณีคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูของ TPI ซึ่งถูกฟ้องร้องโดยเอกชนเข้าลักษณะตามข้อ 2 ซึ่งขณะนี้ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ป.ป.ช. ได้ชี้มูลความผิดแล้ว รายชื่อของผู้บริหารรายดังกล่าวจึงยังคงอยู่ในระบบรายชื่อข้อมูลผู้บริหาร
ก.ล.ต. จึงขอชี้แจงทำความเข้าใจและขอยืนยันถึงการดำเนินการที่ไม่เคยมีการเลือกปฏิบัติหรือใช้สองมาตรฐานตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๑ พาส่องเทรนด์การท่องเที่ยว 'Conscious travel' นักท่องเที่ยวไทยพักผ่อนในโรงแรมนานขึ้น พร้อมมองหาประสบการณ์สุดพิเศษ
๑๖:๒๘ อาการสั่น. สัญญาณเตือนโรคร้ายทางสมอง
๑๖:๓๙ เปิดมุมมองการประเมินคุณภาพภายนอกปี 2567 - 2571 ในรูปแบบ การประเมินเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
๑๖:๔๒ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมมือ ฟลิปส์ อินโนเวทีฟ พัฒนาแพลตฟอร์ม 'Flips IP' เปลี่ยนทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล
๑๖:๐๐ Jelly Bunny ส่งต่อความสดใสไปกับคอลเลกชั่น Lost in the Sunshine ต้อนรับฤดูกาลแฟชั่นสปริง - ซัมเมอร์ 2025
๑๖:๕๐ SAPPE โชว์ผลประกอบการปี 67 ทำ All Time High ยอดขายแตะ 6,775 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,252 ล้านบาท
๑๖:๓๑ SCN ออกหุ้นกู้ 2 ชุด กำหนดดอกเบี้ยคงที่ 7.00-7.25% เปิดขาย 26-27 ก.พ. นี้ ผ่านบล.ยูโอบี และบล.เคพีเอ็ม รับแผนเร่งเกมเดินหน้าขยายและต่อยอดธุรกิจปี
๑๖:๔๖ ลดยกเกาะรับซัมเมอร์ !! โฮมโปร-เมกาโฮม เสิร์ฟดีลคุ้ม 5 สาขาเกาะภูเก็ต ครบเรื่องบ้าน-งานช่าง แจกทั้งส่วนลด รับคืนสูงสุด 8,900 บาท เริ่ม 22 ก.พ. 68 นี้ 9
๑๖:๑๘ เมย์แบงก์ เกาะกระแส AI จัดสัมมนาการลงทุนพิเศษ AI on the Rise เจาะลึกตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับนักวิเคราะห์ดังระดับโลกจากวอลล์สตรีท
๑๖:๓๔ กทม. เข้มกวดขันแก้ปัญหาขอทานต่างด้าว เร่งรณรงค์ หยุดให้ = หยุดขอทาน