พันเอก ผศ.นพ.อารมย์ ขุนภาษี ได้กล่าวว่า ปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้ารับการรักษา แต่บางครั้งการส่งถ่ายผู้ป่วยเพื่อให้ทันท่วงทีนั้นต้องไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมากซึ่งอาจจะต้องส่งถ่ายจากตึกหนึ่ง ไปยังอีกตึกหนึ่งนั้นก็มีความจำเป็นอย่างมากในอนาคต โดยรถเข็นไฟฟ้าอัจฉริยะนี้ ได้ทำต้นแบบมาเพื่อทดลองใช้ในโรงพยาบาลที่อยู่ด้านนอกหรือที่กลางแจ้ง ซึ่งในอนาคตอาจต้องทำให้รถวิ่งในที่ร่มหรือผ่านทางเดินมีหลังคา (Cover Way) ทำให้สะดวกและสามารถลดเจ้าหน้าที่หรือผู้เกี่ยวข้องลงได้อีกด้วย เพราะรถเข็นไฟฟ้าอัจฉริยะนี้สามารถวิ่งได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีคนขับ
โดย ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า รถเข็นไฟฟ้าอัจฉริยะนี้จะใช้ระบบจีพีเอส (GPS) หรือระบบ Vehicle Car Trackingในการนำทาง โดยเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลตำแหน่งจากดาวเทียม และใช้ร่วมกับเข็มทิศ (Compass) โดยสามารถตรวจสอบความลาดเอียงของพื้นดิน และรู้ตำแหน่งละติจูด (Latitude) และลองติจูด (Longitude) ได้ โดยการประมวลผลจะใช้ไมโครคอนโทรเลอร์ (Microcontroller) เป็นตัวประมวลผลกลางทั้งระบบและส่งสัญญาณดิจิตอล (Digital) และอนาล็อก (analog) ออกไปยังชุดขับ (Driver) เพื่อควบคุมการทำงานของดีซีมอเตอร์ (DC Motor) การควบคุมการทำงานจะทำงานแบบระบบปิด (Closed Loop Control) โดยการควบคุมแบบ PID Control และส่งสัญญาณกลับด้วยเอ็นโครเดอร์ (Encoder) นั่นเอง
รถเข็นไฟฟ้าอัจฉริยะ(ต้นแบบ)Intelligent Wheelchair เป็นต้นแบบอุปกรณ์ในการช่วยส่งถ่ายผู้ป่วย ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.เดชฤทธิ์ มณีธรรม โทรศัพท์ 0868821475 หรือทาง Email:[email protected]