SACICT เสริมสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ สืบทอดงานเครื่องประดับลูกปัดมโนราห์ จากทายาทช่างศิลปหัตถกรรม

อังคาร ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๑๑
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT เร่งเดินหน้าส่งเสริมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ดันคนรุ่นใหม่สืบสานงานช่างศิลปหัตถกรรม จากการร้อยลูกปัดชุดมโนราห์ต่อยอดเป็นเครื่องประดับและของตกแต่งบ้านสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงาม

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า SACICT พร้อมเป็นผู้ชี้ทางและสร้างโอกาสให้กับงานศิลปหัตถกรรมไทย โดยดำเนินงานภายใต้แนวคิด Today Life's Craft หรือ "หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน" เพราะ SACICT เชื่อว่าคุณค่า และความงดงามของหัตถศิลป์ไทย สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตได้เสมอ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มคุณค่างานหัตถศิลป์ให้ร่วมสมัยกับชีวิตและความต้องการปัจจุบัน โดยดำเนินการพลักดันให้ SACICT เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้และส่งเสริมการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมไทย รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมไทยให้เกิดความร่วมสมัยเพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ โดยจะเห็นได้จากงาน "SACICTเพลิน Craft" ณ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี จากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ครอบครัว พนักงานบริษัท นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ที่มาร่วมประดิษฐ์งานศิลปหัตถกรรม และเลือกซื้อชิ้นงานกลับไปเป็นของขวัญและของที่ระลึก อาทิเช่น งานจักสานใบลาน งานร้อยลูกปัดมโนราห์ งานเซรามิก เครื่องประดับเงิน-หิน และเครื่องปั้นดินเผา

นายเนติพงศ์ ไล่สาม ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2560 เจ้าของผลงานร้อยลูกปัดมโนราห์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ เล่าว่า จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และได้ผันตัวเองจากการทำงานในบริษัทสถาปนิกในกรุงเทพมหานครกว่าสองปี เดินทางกลับสู่บ้านเกิดที่จังหวัดสงขลา ค้นหาอาชีพใหม่ที่จะเริ่มทำจากตัวเอง จนได้พบงานศิลปหัตถกรรมที่ทรงคุณค่าจากบ้านของตัวเองที่มีคุณป้าเป็นผู้ร้อยเรียงเครื่องประดับสำหรับตกแต่งชุดมโนราห์มากว่าสี่สิบปี เนติพงศ์ใช้เวลาไม่นานทำการศึกษาและหัดร้อยลูกปัด ผนวกกับความรู้ด้านสถาปัตยกรรม ทำให้เกิดความคิดเป็นระบบ กล่าวคือ เมื่อพบว่า งานลูกปัดมโนราห์เป็นงานที่ต่อยอดไปในผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง จึงลงมือสำรวจวัตถุดิบและเรียนรู้ในการร้อยลูกปัดตามแบบโบราณ ขณะเดียวกันมีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ใหม่ๆ เช่น การร่างแบบ

การทำกราฟฟิคภาพ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ อาทิเช่น ต่างหูขนาดต่างๆ กระเป๋าถัก ที่รองแก้ว รองขวด ตลอดจนกรงนกเขาหลายขนาด จากนั้นใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ด้วยการใช้ Facebook ในชื่อ เนติพงศ์ ไล่สาม https://www.facebook.com/pombankhao เป็นช่องทางในการนำเสนองานสู่คนรุ่นใหม่

เนติพงศ์ฯ กล่าวต่อว่า "หากคนเราใช้ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมมา แบบที่คุณป้าของผมทำงานร้อยลูกปัดเครื่องประดับมโนราห์มาตลอดชีวิต ผมแค่นำเอาองค์ความรู้ด้านช่างหัตถศิลป์มาต่อยอด ดัดแปลงให้เข้ากับความรู้ความต้องการที่ผมมี และการศึกษาตลาดของคนรุ่นใหม่ ที่มีความชอบความต้องการที่ไม่เหมือนแบบที่คุณป้าร้อยลูกปัดสมัยก่อน เพราะผมเห็นคุณป้าร้อยลูกปัดเป็นพวงกุญแจเล็กๆ ผมคิดต่อยอดทำเป็นต่างหู จากนั้นก็พัฒนาจนมีผลิตภัณฑ์หลายอย่าง ความภาคภูมิใจของผมคือ สามารถสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมของคนสงขลาในการทำลูกปัดมโนราห์ด้วยมือทุกชิ้น ถือเป็นงานหัตถศิลป์ที่สวยงามทรงคุณค่า ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างงานสร้างอาชีพที่มั่นคงให้กับผมและครอบครัว ผมสามารถทำในสิ่งที่ผมรักและอยู่ร่วมกับชุมชนบ้านเกิดของผมได้อย่างยั่งยืน ต้องขอบคุณ SACICT ที่ริเริ่มโครงการดังกล่าว ทำให้ผมมีโอกาสดีๆ เข้ามาในชีวิต

นางอัมพวันฯ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า หากใครพลาดชมงาน "SACICT เพลิน Craft" ที่ศูนย์การค้า ดิ เอ็มควอเทียร์ ก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะ SACICT จะมีการจัดงานในครั้งต่อไปในจังหวัดอยุธยาฯ ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อ.บางไทร ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน 2560 ที่วัดมหาธาตุ ระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2560 วันพระศรีสรรเพชญ์ ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2560 และวัดไชยวัฒนาราม ระหว่างวันที่ 16-17กันยายน 2560 หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านทางสายด่วน 1289

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ