เอกชนลุ้นการเปลี่ยนผ่านปฏิรูปภาษีสรรพสามิตไร้รอยต่อ สร้างความเท่าเทียมในสมรภูมิการค้า

อังคาร ๐๘ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๔๙
นางมัลลิกา ภูมิวาร ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีศุลกากรและการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ จากโบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี คอนซัลติ้ง จำกัด และที่ปรึกษาธุรกิจภาคเอกชน เผยจาก ข่าวมติ ครม. ที่ให้มีการปรับขึ้นภาษีบาปร้อยละ 2 เพื่อสนับสนุนกองทุนผู้สูงอายุ โดยจะมีผลบังคับใช้ประมาณต้นปี 2561 นั้น นางมัลลิกากล่าวว่าเป็นการเร็วเกินไปที่จะประเมินถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในภาพรวม เนื่องจากจะต้องดูกฎหมายภาษีสรรพสามิตใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ก.ย. นี้ เพื่อรอดูถึงโครงสร้างการจัดเก็บที่จะออกแบบมาเป็นฐานการจัดเก็บภาษีในสินค้าต่างๆ รวมถึงสินค้าบาปในกลุ่มเหล้าและบุหรี่ด้วย จากนั้นจึงจะสามารถเห็นได้ว่าภาษีที่จัดสรรพิเศษให้กองทุนใหม่นี้ส่งผลกระทบมากหรือน้อยในส่วนของการเพิ่มภาระภาษี ซึ่งอาจไม่เป็นไปตามกรอบหลักการรายได้คงเดิม (Revenue Neutrality) ตามที่กรมสรรพสามิตตั้งเจตนารมณ์ไว้ในการปฏิรูปภาษีสรรพสามิตใหม่ "ที่สำคัญที่ภาคเอกชนรอดู คือ rate หรืออัตราภาษีที่จะเก็บจริงในแต่ละสินค้าและรูปแบบของการรายงานที่ต้องแจ้งต่อกรมสรรพสามิต และกรมศุลกากรในกรณีการนำเข้าสินค้า ซึ่งหลัง 16 ก.ย. ทุกสินค้าที่เข้าข่ายการเสียภาษีสรรพสามิตจะใช้ราคาขายปลีกแนะนำเป็นฐาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะต่างชาติที่เข้ามาลงทุนได้มีการพูดคุยและสื่อสารกับภาครัฐไปก่อนหน้านี้ถึง เรื่องการยึดหลักการ "สร้างความเท่าเทียม" (level-playing field) ในสมรภูมิการค้าให้กับผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ โดยการกำหนดโครงสร้างและอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่อาจจะกลายเป็นประเด็นข้อขัดแย้งทางการค้าอีกครั้งหากสร้างความเหลื่อมล้ำในการกำหนดโครงสร้างและอัตราภาษีที่อาจเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการในประเทศ สิ่งนี้คือประเด็นที่ท้าทายว่าภาครัฐไทยจะออกแบบการจัดเก็บภาษีอย่างไรให้เกิดความเท่าเทียมและสร้างภาวะที่แข่งขันได้ให้กับผู้เล่นทางธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็ยังคงสร้างรายได้จากเม็ดเงินภาษีเข้ารัฐได้"

ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีและการลงทุนกล่าวเน้นย้ำว่าหลักการจัดเก็บภาษีที่จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมและดีที่สุดก็คือการใช้อัตราเดียวกับสินค้าประเภทเดียวกันเพื่อความเรียบง่ายในการจัดเก็บ (Unitary rate) เพราะจะไม่ก่อให้เกิดข้อกังขาในการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศจนอาจถูกมองได้ว่ามีลักษณะ protectionism อันเป็นหลักการที่นานาชาติสากลไม่สนับสนุน นอกจากนี้การเก็บภาษีสินค้านำเข้าในอัตราที่สูงกว่าเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อสินค้าในประเทศอาจขัดต่อกติกาขององค์การการค้าโลก (WTO) อีกด้วย

นางมัลลิกากล่าวทิ้งท้ายว่า "ภาคเอกชนยังห่วงเรื่องการเตรียมความพร้อมด้านกฎระเบียบในระดับการปฏิบัติงานจริงว่าได้มีการจัดการระบบต่างๆ รองรับและประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้พร้อมก่อน 16 ก.ย. ต่อการเปลี่ยนผ่านไปใช้ภาษีใหม่โดยไร้รอยต่อเพื่อตอบรับสังคมยุค 4.0 แล้วหรือไม่ โดยภาคธุรกิจได้ร้องขอให้รัฐคำนึงถึงช่วงระยะเวลา lead time ในการปฏิบัติงานในส่วนนี้และทำให้ระบบทั้งหมดเชื่อมต่อและเข้าถึงได้โดยง่าย เนื่องจากภาคเอกชนมีความกังวลมากในเรื่องความต่อเนื่องของธุรกิจ หากมีอันต้องสะดุด หรือชะงักงันลงด้วยเหตุผลทางเทคนิคและความปลอดภัย(security) ของระบบก็อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นและการวางแผนลงทุนของนักลงทุนด้วย"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version