ประเด็นสำคัญจากเวทีเสวนา Capital Market Research Forum “เศรษฐกิจไทยได้อะไรจากการลงทุนในต่างประเทศของภาคเอกชน”

ศุกร์ ๑๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๓๗
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2560 จัดโดยสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เรียบเรียงโดย สถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคที่เงินลงทุนของบริษัทไทยไปต่างประเทศ (Thai direct investment) มีมูลค่ามากกว่าเงินลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย (Foreign direct investment) นำมาสู่คำถามว่า เศรษฐกิจไทยได้อะไรจากการออกไปลงทุนในต่างประเทศของบริษัทไทย มูลค่าเงินลงทุนในประเทศจะลดลงหรือไม่

ในมุมมองทางวิชาการ ผลงานวิจัยโดย รศ.ดร. ภวิดา ปานะนนท์ ชี้ให้เห็นว่า จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย "การลงทุนในต่างประเทศไม่ได้ส่งผลให้การลงทุนในประเทศลดลง และยังมีส่วนช่วยให้เกิดการลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้นในอีก 1 ปีหลังจากที่เกิดการลงทุนในต่างประเทศ" โดยกลไกที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศได้รับประโยชน์จากการลงทุนในต่างประเทศโดยตรงได้แก่ 1) การเปิดตลาดในต่างประเทศส่งผลให้การผลิตของ supply chain ในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย (vertical upgrading) 2) การลงทุนในต่างประเทศส่งผลให้เกิดกิจกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มกับหน่วยงานในประเทศ (horizontal upgrading) การลงทุนในต่างประเทศจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับฐานรากก็ต่อเมื่อภาครัฐและภาคเอกชนมีความเข้าใจตรงกันโดยรัฐควรสนับสนุนให้เกิดการส่งผ่านผลประโยชน์จากการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทขนาดใหญ่ให้มาถึงบริษัทขนาดกลางและเล็กในประเทศที่อยู่ใน supply chain เดียวกันให้สามารถพัฒนาไปพร้อมกับบริษัทขนาดใหญ่ กลไกนี้จะส่งผลดีมากกว่าการสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่าเพื่อการลงทุนในต่างประเทศแก่บริษัทขนาดกลางและเล็ก

แนวคิดนี้สอดคล้องกับความเห็นของภาคเอกชนโดยคุณสุรงค์ บูลกุล เห็นว่าประเทศไทยมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับบริษัทขนาดใหญ่จึงจำเป็นต้องขยายธุรกิจไปต่างประเทศซึ่งต้องเผชิญความเสี่ยงหลายประการ อาทิ ความเสี่ยงด้าน know how สำหรับการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ขาดกลยุทธ์การลงทุนในต่างประเทศ ความเสี่ยงด้าน know who สำหรับการหาพันธมิตรทางธุรกิจในต่างประเทศ ตลอดจนกฎ กติกา วิถีในการทำธุรกิจในแต่ละประเทศที่แตกต่างกันอย่างมาก ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องยากสำหรับบริษัทขนาดกลางและเล็ก ดังนั้นบริษัทขนาดกลางและเล็กจำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันสำหรับการไปลงทุนในต่างประเทศโดยจะต้องมีพันธมิตรเป็นบริษัทขนาดใหญ่เป็นผู้นำในการลงทุนในต่างประเทศ นอกจากนี้ควรกำหนดยุทธศาสตร์การลงทุนในต่างประเทศในระดับกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมและในระดับประเทศ หากอุตสาหกรรมใดที่มีศักยภาพในการลงทุนในต่างประเทศและจะทำให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ supply chain ที่อยู่ในประเทศ อุตสาหกรรมนั้นควรได้รับการสนับสนุนให้ลงทุนในต่างประเทศ

แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีขนาดเล็กเกินไปสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทจึงขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และอาจส่งผลให้การลงทุนในประเทศลดลง แต่หากทำให้ประเทศไทยมีความน่าสนใจในการลงทุน ภาคเอกชนจะเพิ่มการลงทุนในประเทศ แนวคิดดังกล่าวเป็นมุมมองของภาครัฐโดย ดร. ศรพล ตุลยะเสถียร ที่สนับสนุนให้ภาคเอกชนลงทุนทั้งในและต่างประเทศโดยรัฐมีบทบาทในการสนับสนุนการลงทุนในประเทศด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการลงทุน เช่นการพัฒนา Eastern Economic Corridor ที่จะเชื่อมไทยเข้ากับภูมิภาค ในส่วนการลงทุนในต่างประเทศไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย แต่บริษัทจำนวนมากที่ลงทุนในต่างประเทศยังลงทุนใน low value supply chain เช่น การผลิต การหาวัตถุดิบ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับการจับปลาเล็ก (catch small fishes) หากภาครัฐจะส่งเสริมควรส่งเสริมให้ลงทุนด้วยกลยุทธ์ catch big fishes โดยลงทุนใน high value supply chain เช่น การวิจัยและพัฒนา การสร้างแบรนด์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการยกระดับบริษัทผู้ลงทุนเอง และผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศโดยการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากประสบการณ์ในต่างประเทศ

ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เศรษฐกิจไทยน่าสนใจสำหรับการลงทุนควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในต่างประเทศในรูปแบบที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในประเทศผ่านความเชื่อมโยงภายใน supply chain หรือในกลุ่มอุตสาหกรรมจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศร่วมกันในทุกระดับ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ