สพฉ.ชื่นชมนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่” ประสบผลสำเร็จ และลดปัญหาความแออัดของผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉิน

ศุกร์ ๑๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๕๑
นายแพทย์สัญชัย ชาสมบัติ ผู้ช่วยเลขาธิการและโฆษกสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า การดำเนินงานตามนโยบาย "เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่"(Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) ที่ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติทุกสิทธิ เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดโดยไม่ต้องสำรองจ่ายในระยะ 72 ชั่วโมงแรก ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมาหลังประกาศนโยบายฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน จนถึง 31 กรกฎาคม2560 พบว่า ประสบความสำเร็จด้วยดี และยังสามารถแบ่งเบาปัญหาความแออัดของผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐได้

นายแพทย์สัญชัย กล่าวต่อไปว่า มีผู้ขอใช้บริการแล้ว จำนวน 10,554 ราย เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจำนวน 4,654 ราย คิดเป็น44% ของผู้ของใช้บริการทั้งหมด ที่โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 264 แห่ง ใน 62 จังหวัด กลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ พบว่า มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน3,001ราย สิทธิสวัสดิการข้าราชการฯ จำนวน 884ราย สิทธิประกันสังคม จำนวน 568 ราย ที่เหลือเป็นสิทธิอื่นๆ โดยกลุ่มอาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่ได้แก่ หายใจติดขัดลำบาก (19.75%), อัมพาต แขนขาอ่อนแรง (14.31%), เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน (13.79%)และ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว (11.22%) ตามลำดับ

นายแพทย์สัญชัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่จะเข้าเกณฑ์การใช้สิทธิ UCEP ได้ คือ มีการกู้ชีพหรือประคองชีพด้วยมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น ใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้ยาควบคุมความดันและการเต้นของหัวใจ หรือมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องมีการกู้ชีพหรือประคองชีพ โดยแบ่งเป็น 6 กลุ่มอาการเจ็บป่วยหลักที่จะนำมาสู่ภาวะฉุกเฉินวิกฤติ คือ 1) หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ2)หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง3) ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม4) เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง5) แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด และ6) มีอาการอื่นร่วมที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

ทั้งนี้ ความสำเร็จจากการดำเนินงานดังกล่าวต้องขอขอบคุณและขอชื่นชมโรงพยาบาลเอกชน ที่ให้ความร่วมมือต่อนโยบายดังกล่าวเป็นอย่างดี ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยตามสิทธิต่างๆ จะต้องเข้ารับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิ ที่ส่วนใหญ่เป็นโรงพยาบาลรัฐ นโยบายนี้ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอดจากภาวะฉุกเฉินวิกฤติ ช่วยให้เข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว และช่วยลดความแออัดในการรับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐต่างๆ ลงได้อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่สามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้ เช่น การสร้างความเข้าใจในคำนิยามต่างๆ ให้ตรงกัน และการกำหนดอัตราเรียกเก็บค่าบริการให้สอดคล้องกับต้นทุน เป็นต้น

นายแพทย์สัญชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า หากประชาชนมีการเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเรียกใช้บริการแพทย์ฉุกเฉิน ได้ที่สายด่วน1669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการประจำอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO