SACICT นำคุณค่าหัตถศิลป์ไทยสู่ชีวิตประจำวัน

จันทร์ ๒๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๒๔
วาสนา สายมา ผู้ชนะเลิศการประกวดการออกแบบงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ ปี 2555 และเป็นครูสอนด้านงานหัตถกรรม คือ หนึ่งในผู้ที่ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้และพัฒนางานหัตถกรรมไทย ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT และมีโอกาสนำชิ้นงานที่สร้างสรรค์ด้วยฝีมือตนเองส่งเข้าประกวดในเวทีต่างๆ ที่ SACICT จัดขึ้นสำหรับนักสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมไทย จนผลงานของตนเองเป็นที่สะดุดตาและได้รับความสนใจจากผู้บริโภค นำมาสู่การผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ซึ่งโอกาสที่เธอได้รับมานี้ ไม่เพียงแต่จะสร้างรายได้ให้กับตัวเธอเท่านั้น แต่ยังสามารถต่อยอดไปช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชนให้มีรายได้เสริม ทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

"ทาง SACICT ให้ทุนด้านความคิดกับดิฉัน เพื่อนำไปพัฒนาชิ้นงานหัตถกรรมส่งเข้าประกวด ทำให้ดิฉันสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์จนประสบความสำเร็จ SACICT ให้ทุกอย่าง ทั้งในเรื่องความรู้ในการทำตลาด หรือสนับสนุนช่องทางด้านการขาย เช่น การให้มาเปิดบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในงานต่างๆ ทำให้พวกเรามีความคล่องตัว สะดวกสบาย ไม่ต้องกังวลเรื่องที่ว่าทำผลิตภัณฑ์ออกมาแล้ว จะนำไปขายที่ไหน"

นอกจากจะเป็นครูสอนด้านงานหัตถกรรมแล้ว ครูวาสนายังได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับงาน จักสานและลวดลาย และนำมาประยุกต์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้มีรูปแบบสอดคล้องกับการใช้งานในเชิงพาณิชย์ด้วย คือ มีทั้งความแปลกตา และร่วมสมัย ทำให้ผลงานได้รับความสนใจจากตลาดมากยิ่งขึ้น

"ดิฉันทำงานกับชุมชน สร้างให้ชุมชนมีรายได้ โชคดีที่ทาง SACICT มองเห็นและให้โอกาส จึงเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้ แนะนำให้พวกเรามุ่งเน้นไปที่การทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี เน้นการทำเพื่อนำไปขาย และสอนให้รู้จักการทำตลาด ทำให้รูปแบบงานจักสานของเราพัฒนาดีขึ้นมาก และได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้ามากขึ้น ซึ่งตัวดิฉันเองก็พยายามที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบที่แปลกตา น่าสนใจ เพื่อให้สามารถทำตลาดได้ดี ทุกวันนี้ผลิตภัณฑ์ของเราขายดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เมื่อก่อนชาวบ้านบางคนไม่เคยมีรายได้เลย แต่ตอนนี้พอเข้ามาทำงานด้วยกัน เวลาที่มีออเดอร์มา บางคนสามารถสร้างรายได้ถึงวันละ 500 บาทต่อวัน หรืออย่างน้อยๆ ก็มีรายได้ 250 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวบ้านไม่เคยได้รับมาก่อน แต่ในวันนี้พวกเขาทำได้ นั่นเป็นเพราะทาง SACICT มองเห็นคุณค่าและช่วยส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาให้พวกเรามีศักยภาพสูงขึ้นจนมีวันนี้ได้"

ครูวาสนายังกล่าวในตอนท้ายอีกว่า สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นชิ้นงานหลักในตอนนี้จะเป็นประเภทงานโคมไฟ โดยมีชิ้นงานที่โดดเด่นคือ "โคมไฟปะการัง" ที่ใช้เทคนิคงานจักสานไม้ไผ่ซึ่งเป็นงาน หัตกรรมคู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเธอได้นำเทคนิคงานจักสานนี้มาผสมผสานกระบวนการคิดเชิงออกแบบ พลิกแพลงเทคนิคเก่าแก่จากเครื่องใช้ในบ้านทั่วไปกลายเป็นโคมไฟปะการัง ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปฟอร์มที่สวยงามของธรรมชาติ และผลงานชิ้นนี้ได้เคยนำไปจัดแสดงที่ประเทศสก็อตแลนด์มาแล้ว นอกจากนั้นก็จะเป็นชิ้นงานประเภทของตกแต่งและเครื่องแขวน ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี

นี่คือส่วนหนึ่งของงานหัตถศิลป์จากช่างฝีมือคนไทย ที่ SACICT ได้มีส่วนช่วยดึงเอาความสามารถภายในตัวบุคคลออกมาให้คนทั่วไปได้เห็น ด้วยการส่งเสริม พัฒนา และต่อยอด จนสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงาน และสร้างรายได้กลับไปยังชุมชนอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ