เปิดงบแผนบูรณาการเกษตร ปี'61 เผย ยอดวงเงินรวมกว่า 9,456 ล้านบาท หวังสร้างเกษตรกรแข็งแกร่งขึ้น

จันทร์ ๒๑ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๔๐
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย วงเงินงบประมาณแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ปี 2561 รวม 9,456 ล้านบาท พร้อมแจงวงเงินทั้ง 3 เป้าหมาย เตรียมเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตร พัฒนาเศรษฐกิจภาคเกษตรให้เติบโตอย่างเต็มประสิทธิภาพ

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ 29 แผนบรูณาการของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ โดยปีงบประมาณ 2561 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานแผนงานบูรณาการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร และมีหน่วยงานร่วมดำเนินการ 7 กระทรวง 28 หน่วยงาน 2 รัฐวิสาหกิจ ภายใต้หลักการบริหารจัดการสินค้าเกษตร (Product Base) และให้เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา (Farmer Center) ซึ่งเน้นใน 3 เป้าหมาย ภายใต้งบประมาณ 9,456.6522 ล้านบาท ดังนี้

เป้าหมายที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทาน เน้นสินค้า ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อ้อย สับปะรด ไม้ผล (ลำไย ทุเรียน เงาะ มังคุด) ยางพารา ปศุสัตว์ (โคนม โคเนื้อ) ประมง(กุ้ง ปลานิล) วงเงิน 4,826.3962 ล้านบาท ประกอบด้วย

1) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพมาตรฐานตามความต้องการของตลาด (ต้นทาง) วงเงิน 4,165.7690 ล้านบาท เพื่อดำเนินการด้านข้อมูลสารสนเทศและการบริหารจัดการ ส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ/ประสิทธิภาพ พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

2) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการแปรรูปสินค้าเกษตร (กลางทาง) วงเงิน 205.8676 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนากระบวนการและแปรรูปสินค้า พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ

3) การพัฒนาศักยภาพกระบวนการตลาดสินค้าเกษตร (ปลายทาง) วงเงิน 454.7596 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนาตลาดเกษตรกร ขยายช่องทางการตลาดสินค้าเกษตร สร้างความสามารถในการแข่งขันตลาดสินค้าเกษตร

เป้าหมายที่ 2 ลดต้นทุนการผลิต และยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่สู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วงเงิน 3,192.9653 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการ อาทิ ระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3,980 แปลง ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri – Map 418,500 ไร่ ปรับปรุงข้อมูลในแผนที่ Agri – Map โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 ศูนย์ ยกระดับเกษตรกรเป็น Smart Farmer 73,715 ราย จัดตั้งสถาบันเกษตรกรในรูปแบบประชารัฐ 100 แห่ง จัดตังและพัฒนาธนาคารสินค้าเกษตร 173 แห่ง

เป้าหมายที่ 3 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรให้เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน วงเงิน 1,437.2907 ล้านบาท ประกอบด้วย การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ /ยโสธรโมเดล /พื้นที่ทั่วไป 368,503 ไร่ เกษตรทฤษฎีใหม่ 210,000 ไร่ เกษตรผสมผสาน 33,500 ไร่ (4) วนเกษตร 65,000 ไร่

ทั้งนี้ แผนบูรณาการการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคเกษตร จะช่วยยกระดับการผลิตและการบริหารจัดการสินค้าเกษตร เพิ่มรายได้ทางการเกษตรของครัวเรือนเกษตร และนำไปสู่การพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ