กลุ่มทรู ร่วมกับ สวทศ. เผยโฉมผู้ชนะโครงการ “นักวิทย์น้อยทรู” ปีที่ 22

พุธ ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๒๗
กลุ่มทรู ร่วมกับ สวทศ. เผยโฉมผู้ชนะโครงการ "นักวิทย์น้อยทรู" ปีที่ 22 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับประถมศึกษา ระดับชาติ ประจำปี 2560 รางวัลเหรียญทอง จากโครงงานอุปกรณ์ช่วยจับสำหรับคนพิการโรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย

รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ (แถวหลังที่ 4 จากขวา) คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานในพิธีประกาศผลและมอบรางวัลแก่ทีมชนะเลิศโครงการ "นักวิทย์น้อยทรู" ปีที่ 22 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษา ระดับชาติ ประจำปี 2560 ในหัวข้อ 'วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย 4.0' ซึ่งจัดขึ้นโดย กลุ่มทรู โดยมี ดร.กันทิมา กุญชร ณ อยุธยา (แถวยืนที่ 4 จากซ้าย) หัวหน้าคณะผู้บริหาร(ร่วม)ด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน เป็นผู้แทน ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย(สวทศ.) โดย รศ.ลัดดา ภู่เกียรติ (แถวยืนที่ 3 จากขวา) นายกสมาคมฯ ณ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งในปีนี้มีนักเรียนส่งผลงานเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 315 โครงงาน จาก 217 โรงเรียนใน 59 จังหวัดทั่วประเทศ และได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 14 ทีม ทั้งนี้จะต้องนำเสนอผลงานด้วยวาจาต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อตัดสินหาทีมชนะเลิศ ซึ่งโครงงานที่ชนะเลิศได้รับรางวัลเหรียญทอง พร้อมทุนสนับสนุนการทำโครงงาน ชุดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้จากทรูปลูกปัญญา และได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนในโครงการทรูปลูกปัญญา ได้แก่ โครงงานอุปกรณ์ช่วยจับสำหรับคนพิการ จากโรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย ผลงานของ เด็กหญิงขวัญจิรา หว้าสิริวงศ์ เด็กหญิงบัณฑิตา ศรชัยปัญญา และเด็กหญิงเวธกา บุดดี ชั้นประถมศึกษาปีที่6 ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนประชารัฐ

โครงงานอุปกรณ์ช่วยจับสำหรับคนพิการ เป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งน้อง ๆได้แรงบันดาลใจจากการที่เห็นเพื่อนนักเรียน ซึ่งเป็นผู้พิการที่ประสบปัญหาในการใช้มือหยิบจับสิ่งของในชีวิตประจำวัน เช่น การหยิบช้อนรับประทานอาหาร จึงร่วมกันศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลโดยนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ เพื่อช่วยคนพิการให้สามารถใช้ช้อนตักอาหารรับประทานอาหาร และสามารถแปรงฟันได้ด้วยตนเอง รวมถึงการช่วยให้คนพิการได้ออกแรงบีบนิ้วบนฟองน้ำในขณะที่จับ ซึ่งจะช่วยบริหารกล้ามเนื้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

สำหรับทีมที่ได้รับเหรียญเงินมีทั้งหมด 3 ทีมคือ โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ โครงงานฝาท่อมหัศจรรย์ ผลงานจาก โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ กรุงเทพมหานคร และโครงงานเครื่องล่อแมลงให้อาหารปลา ผลงานจาก โรงเรียนอนุบาลเวียงแก่น จ.เชียงราย โครงงานประเภททดลอง ได้แก่ โครงงานไข่เค็มสมุนไพรเร็วทันใจสู่อาเซียน ผลงาน โรงเรียนบ้านโนนสัง จ.นครราชสีมา

ทั้งนี้ โครงการ "นักวิทย์น้อยทรู" แบ่งโครงงานวิทยาศาสตร์เป็น 3 ประเภท ได้แก่ โครงงานประเภทสำรวจ โครงงานประเภททดลอง และโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยระดับประถมศึกษาได้รู้จักนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาความรู้ความสามารถในการทำสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ และรู้จักนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาช่วยในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งด้านความรู้ ความเป็นอยู่ สุขภาพอนามัย อาชีพ รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อชีวิต และปลูกฝังให้เด็กไทยรักวิทยาศาสตร์ ได้สนุกคิด สนุกกับการทดลอง สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ในการทำโครงงานฯ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ